โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด โดย กฟผ.

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด โดย กฟผ.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กำลังดำเนินโครงการก่อสร้าง โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด เขื่อนสิรินธรใหญ่ที่สุดในโลก ล่าสุดคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 80 พร้อมเร่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ครบ 7 ชุดตามแผน คาดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้กลางปี 2564 เพื่อเสริมความมั่นคงพลังงานสะอาดของประเทศไทย และเตรียมผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี

พลังงานหมุนเวียนนับเป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะการนำพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้า เนื่องจากเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ แต่พลังงานเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่มีความผันผวนตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อมีแสงแดด และต้องมีความเข้มแสงที่เหมาะสมเท่านั้น จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงส่งผลให้ยังไม่สามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น ๆ มาเป็นแหล่งพลงงานหลักสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เมื่อเทียบกับพลังงานจากฟอสซิล และทำให้เกิดนวัตกรรม โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด, เขื่อนสิรินธร, อุบลราชธานี, กฟผ, พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทางเลือก, พลังงานไฟฟ้า, การผลิตไฟฟ้า, โซลาร์เซลล์

ในวันนี้ ประเทศไทยได้นำโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนผิวน้ำ ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีในการลดการใช้พื้นที่บนบกแล้ว ยังนำระบบไฮบริดมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าการติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือ Hydro-floating Solar Hybrid เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่นำพลังงานหมุนเวียนสองประเภทจาก “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือเรียกว่าระบบไฮบริด เพื่อลดข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

“เมื่อดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ ระบบไฮบริดมีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวและเสริมว่า “โดยโครงการ ฯ มีแผนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2563 ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018)”

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด, เขื่อนสิรินธร, อุบลราชธานี, กฟผ, พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทางเลือก, พลังงานไฟฟ้า, การผลิตไฟฟ้า, โซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด, เขื่อนสิรินธร, อุบลราชธานี, กฟผ, พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทางเลือก, พลังงานไฟฟ้า, การผลิตไฟฟ้า, โซลาร์เซลล์

โครงการ ฯ มีขอบเขตพื้นที่ประมาณ 760 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์เป็นชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ

นอกจากนี้ ได้ติดตั้งทุ่นลอยน้ำชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับท่อส่งน้ำประปา จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ โครงการแห่งนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นพื้นที่ป่าประมาณ 37,600 ไร่

“กฟผ. ยังร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาโครงการนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของจังหวัด โดยก่อสร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) ความยาว 415 เมตร เพื่อให้ประชาชนได้เดินชมความสวยงามของทิวทัศน์ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าจะช่วยเสริมให้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดกลับมาคึกคัก ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย” ฉัตรชัยกล่าว

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด, เขื่อนสิรินธร, อุบลราชธานี, กฟผ, พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทางเลือก, พลังงานไฟฟ้า, การผลิตไฟฟ้า, โซลาร์เซลล์

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งศึกษาดูงานด้านพลังงานหมุนเวียนแบบผสมผสาน จากโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำ – พลังงานน้ำแห่งใหม่ และใหญ่ที่สุดในโลก ให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศได้อีกด้วย

เขื่อนสิรินธร, อุบลราชธานี, กฟผ, พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทางเลือก, พลังงานไฟฟ้า, การผลิตไฟฟ้า, โซลาร์เซลล์

นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรยังนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 2 ช่วง ทั้งระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และระหว่างการผลิตไฟฟ้า โดยชุมชนสามารถนำเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น ด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชน การเกษตร การศึกษา ด้านสุขภาพ รวมถึงพัฒนาด้านอาชีพของชุมชน ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด

ในส่วนความกังวลเรื่องความขัดแย้งกับชุมชน โครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดย กฟผ. ได้ลงพื้นที่แนะนำโครงการให้กับหน่วยงานราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และประเด็นข้อห่วงกังวล ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ และร่วมให้ข้อเสนอแนะแล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

ในอนาคต กฟผ. เตรียมแผนพัฒนาดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำระบบไฮบริดบริเวณเขื่อนอื่น ๆ ของ กฟผ. อีกหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดด้านพลังงาน พร้อมสร้างเสถียรภาพให้กับพลังงานหมุนเวียน และยังให้คนไทยได้ใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน

ภาพถ่ายและภาพประกอบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


ขอขอบคุณ

ฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หล่อเลี้ยงผู้คนได้อย่างไร

Recommend