New River Gorge จากเหมืองถ่านหินทิ้งร้างสู่อุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ของสหรัฐฯ

New River Gorge จากเหมืองถ่านหินทิ้งร้างสู่อุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ของสหรัฐฯ

ชุบชีวิตเหมืองถ่านหินทิ้งร้างเป็น New River Gorge อุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์แห่งใหม่ของสหรัฐอเมริกา

บางครั้งการจะทำให้สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยมีคนรู้จักให้พลิกตาลปัตรกลับกลายมาเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ ก็เพียงแค่เปลี่ยนชื่อมันซะ นั่นคือกรณีเดียวกับอุทยานแห่งชาติที่เกิดขึ้นล่าสุดของสหรัฐอเมริกา อุทยานแห่งชาติ New River George ในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ที่อดีตเคยเสื่อมโทรมจากเหมืองถ่านหินที่ถูกทิ้งร้าง

การตั้งชื่อ New River ไม่ได้หมายความว่าแม่น้ำที่เกิดขึ้นใหม่แต่อย่างใด แต่กลับกันแม่น้ำสายหลักนี้ที่มีชื่อว่า Pangaea มีอายุอยู่มากกว่า 300 ล้านปีแล้วต่างหาก การกัดเซาะจากแม่น้ำที่เกิดขึ้นโดยผ่านระยะเวลาหลายล้านปีนั้นกลายเป็นงานแกะสลักอันล้ำค่า ทำให้เกิดช่องเขาลึกที่รายล้อมไปด้วยถ่านหินบิทูมินัสและหน้าผาที่สูงชันของหินทรายควอทซ์

เวลาผ่านล่วงมาเนิ่นนานจนในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 เป็นช่วงยุคที่เหมืองถ่านหินมากมายหลายบริษัทเกิดขึ้น ซึ่งส่วนมากจะถูกสร้างบริเวณที่มีหุบเขาพร้อมกับแม่น้ำไหลผ่านเหตุเพราะบริเวณโดยรอบๆนั้ นจะมีถ่านหินเยอะ จุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นอุทยานแห่งชาตินั้นเริ่มต้นจากการเป็นเหมืองถ่านหินมาก่อน

ภาพโดย ASHLEY KNEDLER

ปัจจัยหลักที่สำคัญก็คือถ่านหินบิทูมินัสตามหุบเขา ซึ่งเป็นถ่านหินที่สีดำอ่อนสามารถติดไฟพร้อมกับควันที่น้อย จึงเป็นชั้นที่โรงงานเหมืองต้องการมากที่สุด และเนื่องจากบริเวณโดยรอบนั้นประกอบด้วยหุบเขามากมาย ทำให้มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น หลังจากนั้นเหมืองขุดหลายสิบแห่งผุดขึ้นมา

ตั้งแต่ช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1800-1900 ได้มีการขุดเจาะถ่านหินหลายล้านตันจากผนังของช่องเขา แต่เบื้องหลังของการขุดเจาะก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างโหดร้าย ทางบริษัทได้ตอบแทนค่าขุดเจาะคิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต่อตัน เฉลี่ยนักขุดเจาะระดับมืออาชีพนั้นได้ค่าแรงเฉลี่ยแค่วันละ 2 ดอลล่าห์เพียงเท่านั้น

เหมืองและเมืองถ่านหินทั้งหมดในช่องเขา New River George ได้ถูกทิ้งร้างในช่วงทศวรรษ 1960 ถ่านหินมากมายถูกปลกคลุมไปด้วยพืชและพันธ์ไม้นานาชนิดทำให้ภายนอกดูน่ากลัว จนมีผู้คนมาเรียกว่าเมืองผี จนกระทั่งมีผู้แสวงหาการผจญภัยมากมายได้มีแรงดึงดูดใจอะไรบางอย่างให้มาสำรวจสถานที่แห่งนี้

หุบเขาที่รายล้อมไปด้วยกำแพงหินบวกกับแม่น้ำที่ไหลอย่าง ทั้งนักปีนเขาและนักล่องแก่งได้ยกย่องสถานที่แห่งนี้ให้เป็นอัญมณีที่ถูกซ่อนไว้เลยทีเดียว แต่ในช่วงนั้นการเดินทางข้ามช่องเขาระหว่างตะวันออกไปยังตะวันตกถือว่าค่อนข้างลำบากและหวาดเสียวพอสมควร

ภาพถ่าย JAY YOUNG, ADVENTURES ON THE GORGE

จนถึงปี 1977 เมื่อสะพาน New River George ได้ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เวลาเดินทางข้ามช่องเขาจากมากกว่า 1 ชั่วโมง เหลือน้อยเพียงแค่ไม่ถึง 10 นาที เหล็กที่แข็งแรงโค้งยาวกว่า 923 เมตร สูงกว่า 267 เมตรเหนือสะพานแห่งนี้ ทำให้เป็นหนึ่งในสะพานพาหนะที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย

วันเวลาค่อยๆ ไปผ่านจน New River George เป็นที่รู้จักและนิยมขึ้นอย่างเรื่อยๆ บุคคลระดับสูงของเวอร์จิเนียได้มีการเสนอว่าให้จัดตั้งพื้นที่ 72,186 เอเคอร์ของ New River Gorge National River ให้เป็นอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์

ต่อมาประธานาธิบดี Jimmy Carter ลงนามในกฎหมายจัดตั้งแม่น้ำแห่งชาติ New River Gorge เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 “เพื่อจุดประสงค์ในการอนุรักษ์วัตถุทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นและรอบ ๆ หุบเขาแม่น้ำนิวและอนุรักษ์ไว้เป็นที่ไหลอย่างอิสระ เพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต”

ในปี 2019 มีการเปิดตัวตั๋วเงินในรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อกำหนดหน่วยใหม่เป็นอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์ New River Gorge นั่นเอง ก่อนจะเปิดเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีการฟื้นฟูธรรมชาติ จากการขุดเหมืองที่หลงเหลือร่องรอยที่ยากจะฟื้นคืน

Margaret Palmer นักนิเวศวิทยาด้านการฟื้นฟูจาก University of Maryland กล่าว “การปลูกซ้ำเป็นความหวังที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของลำธาร” จากการปลูกทดแทนบริเวณที่ขาดหายป่าได้มีการฟื้นตัวเพียงไม่กี่ปีจากบริเวณที่แห้งแล้งกลายเป็นต้นไม้สีเขียวขึ้นเต็มอาณาเขตอย่างรวดเร็ว

อุทยานแห่งชาติ New River George หลังจากได้เปิดเป็นอุทยานอย่างเป็นทางการแล้ว ก็มีการออกกฏหมายคุ้มครองสัตว์และพืชพันธ์ ในขณะเดียวกันกิจกรรมแบบผจญภัยก็เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ปีนเขา ปั่นจักรยานลงเขา และล่องแก่ง

ล่องแก่งถือเป็นเสน่ห์ที่ยิ่งใหญ่ของอุทยานเพราะเป็นศูนย์กลางการล่องแก่งที่สำคัญ โดยรัฐเวสต์เวอร์จิเนียนั้นถูกเรียกว่า “The Mountain State” เพราะว่าภูเขามันมันมากมายก็จะมีน้ำเชี่ยวเป็นพิเศษความท้าทายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักผจญภัยต้องการมาเผชิญด้วยตนเอง

แต่ถึงแม้ล่องแก่งจะถือว่าเป็นเสน่ห์ที่ยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่ไม่เป็นรองลงมาเลยก็คือ ปีนเขาก็ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอุทยานเช่นเดียวกัน ประกอบไปด้วยเส้นทางแบบดั้งเดิมและเส้นทางแบบสปอร์ตประมาณ 1,400 เส้นทางจะลัดเลาะไปตามหุบเขาที่เรียกว่า Endless Wall (กำแพงที่ไม่มีวันสิ้นสุด)

หน้าผาเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินทราย Nuttall ซึ่งเป็นควอทซ์ 98 เปอร์เซ็น จึงสามารถเชื่อถือในเรื่องความแข็งแรงได้อย่างยิ่ง มีการปีนขึ้นไปในระดับความสูงตั้งแต่ 30 ถึง 120 ฟุต ซึ่งส่วนใหญ่ที่ได้ไปปีนเขา พื้นฐานก็จะเป็นนักปีนเขาที่เชี่ยวชาญในระดับนึง อีกทั้งยังมีเทศกาลปีนหน้าผาประจำปี 3 วัน 3 คืนในหุบเขาอีกด้วย

ภาพถ่าย JAY YOUNG, ADVENTURES ON THE GORGE

เส้นทางเดินป่าและปั่นจักรยานเกิดขึ้นใหม่ทุกๆ ปี มีจุดแวะพักยอดนิยมอย่างร้าน Fayetteville Water Stone Outdoors เป็นร้านขายอุปกรณ์เสือภูเขาและนำแนะเส้นทาง นักปั่นส่วนใหญ่ได้ให้ข้อมูลว่าควรเริ่มต้นการผจญภัยที่ Arrowhead Trails ในพื้นที่ Craig’s Branch ของอุทยานจะเป็นเส้นทางเกือบ 13 ไมล์หรือกว่า 20 กิโลสำหรับการปั่นจักรยานแบบระทึกใจ ได้ระดับการจัดระดับให้อยู่ระดับกลางถึงยากเลยทีเดียว

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ทางอุทยานยังมีการจัด Bridge Day ซึ่งเป็นงานประจำปีจะจัดในช่วงเดือนตุลาคม นักกระโดดร่มชูชีพจะทำการโดดลงจากสะพานและร่อนไปตามแม่น้ำเป็นระยะทางกว่า 876 ฟุตผู้คนจะหลั่งไหลกันมาเข้าร่วมกิจกรรมเรียกได้ว่าแทบจะเต็มสะพานเลยก็ว่าได้ โดยในปี 2019 ผู้คนมากกว่า 1.3 ล้านคนได้เข้ามาเปิดประสบการณ์และพลิกโฉมการท่องเที่ยวที่ครั้งหนึ่งเศรษฐกิจเคยตกต่ำ

ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา ประวัติศาสตร์และช่องเขาแม่น้ำทุกอย่างหลอมรวมให้สถานที่แห่งนี้เปรียบดั่งอัญมณีล้ำค่าที่พึ่งจะพบเจอ เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ของคนท้องถิ่นผู้สืบเชื้อสายมาอย่างยาวนาน บางครอบครัวยังประกอบอาชีพเกี่ยวกับถ่านหินตามบรรพบุรุษและพวกเขายังคงกล่าวไว้อีกว่า “แม้ว่าผู้มาเยี่ยมเยียนอาจจะไม่ได้สังเกตเห็น แต่ประวัติศาสตร์จะคงอยู่ตลอดไป ไม่มีใครสามารถมาขุดหรือสร้างทับมันไปได้อย่างแน่นอน”

ภาพถ่าย JAY YOUNG, ADVENTURES ON THE GORGE

ภาพปก :  ALAMY

สืบค้นและเรียบเรียง : จิรภัทร จิตชื่น

(โครงการสหกิจศึกษากองบรรณาธิการเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย)


ข้อมูลอ้างอิง


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : Heidelberg ทำไมเมืองในเยอรมนีแห่งนี้ จึงไม่ต้อนรับรถยนต์อีกต่อไป

Recommend