โลกจะเป็นเช่นไรในอีก 50 ปีข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์วาดภาพอนาคตที่ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยสภาพอากาศโดยหวังว่ามันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราที่เป็นมนุษย์ทุกคนเปลี่ยนวิถีทางของเราก่อนที่มันจะสายเกินไป
ในแอปพลิเคชั่น ‘ติ๊กต็อก’ (Tiktok) มีฟิลเตอร์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือฟิลเตอร์ ‘อายุ’ ที่ทำให้ผู้ใช้ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงบนใบหน้าว่าจะเป็นอย่างไรในอีก 50 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีผิวที่หย่อนคล้อย ริ้วรอยลึก และจุดด่างดำจากแสงแดด ที่ถูกใช้ไปกว่า 11 ล้านครั้งภายในไม่กี่เดือน และหลายคนก็ดูกระบวนการแก่ชราภาพนี้ซ้ำ ๆ
หากภาพนี้ทำให้เรามองเห็นอนาคตได้ว่าจะเป็นอย่างไร พร้อมกับกระตุ้นให้เราทาครีมกันแดดมากขึ้น ดังนั้น การฉายภาพเดียวกันที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศก็อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ตระหนักถึงอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้
เพื่อดูว่าภาวะโลกร้อนทำให้โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ต้องจำลองผลกระทบจากภัยพิบัติ การปรับเปลี่ยนรูปแบบเกษตรกรรม และสร้างภูมิภาคที่ไม่เหมือนเดิมจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ (เช่นถูกน้ำถ่วมจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น) ภาพเหล่านี้จะมีพลังมากกว่าสถิติและตัวเลข เนื่องจากมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบมองมากกว่าอ่าน
หากฟิลเตอร์จากติ๊กต็อกที่เป็นกระแสเปลี่ยนมาฉายภาพที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วมสูงและอุณภูมิที่รุนแรงในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงบ้านและละแวกใกล้เคียงที่เรารัก สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดทอนความเสียหายหรือแม้แต่อาจหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้หรือไม่?
โลกในอีก 50 ข้างหน้า
เมื่อผู้ใช้ติ๊กต็อกได้มีโอกาสเห็นหน้าตาของพวกเขาในรูปแบบที่แก่เกินวัยนั้นเป็นจริง โลกของเราก็จะดูแตกต่างไปมากหากไม่มีการดำเนินการใด ๆ ที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งรายงานของปี 2023 จากสหประชาชาติระบุว่าโลกกำลังมุ่งไปสู่สิ่งนั้น
การประเมินจากนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เกือบ 200 ประเทศเตือนว่าโลกมีแนวโน้มที่จะข้ามผ่านจุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับได้อีกภายใน 10 ปีข้างหน้า เว้นแต่ประเทศต่าง ๆ จะเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทันที
ในผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2020 จากวารสาร PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) ระบุว่าประชากร 1 ใน 3 ของโลกอาจจะต้องอาศัยอยู่ในเขตสภาพอากาศที่คล้ายกับทะเลทรายซาฮาราภายในเวลา 50 ปี ซึ่งเป็นขอบเขตที่อยู่เกิน ‘เขตความสะดวกสบาย’ และจาก ‘อุณหภูมิเฉลี่ยของมนุษยชาติ’
ทาง เนชั่นเนลจีโอกราฟฟิก ได้สร้างฟีเจอร์อินเทอร์แอคทีฟของตัวเองในปี 2020 ซึ่งทำให้เห็นภาพว่าโลกจะเป็นอย่างไรในอีก 50 ปีข้างหน้า เมื่อถึงช่วงปี 2070 บอสตัน (เมืองชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา) จะมีหน้าตาคล้ายเหมือนบาร์ดเวลล์ รัฐเคนตักกี (เมืองอยู่ด้านในเกือบถึงตรงกลางของสหรัฐฯ) โดยฤดูร้อนจะร้อนขึ้นเฉลี่ย 8 องศาฟาเรนไฮต์ (ทดลองเล่นได้ที่นี่ : https://www.nationalgeographic.com/magazine/graphics/see-how-your-citys-climate-might-change-by-2070-feature)
และลอนดอนจะรู้สึกเหมือนเมืองโซวิซิล ของอิตาลีมากขึ้น โดยมีอูณหภูมิในฤดูร้อนสูงขึ้น 6 องศาฟาเรนไฮต์ ในขณะที่บางเมืองเช่น ฮานอย ของเวียดนามจะมีอากาศร้อนกว่าภูมิภาคใด ๆ ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
จินตนาการถึงอนาคตของเรา
เช่นเดียวกับฟิลเตอร์การเดินทางข้ามเวลาของติ๊กต็อกที่แสดงรอยย่นบนใบหน้า ภาพที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกก็น่าวิตกเช่นเดียวกัน กลุ่มวิจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่แสวงหาผลกำไร ‘Picturing Our Future’ ของ ‘Climate Central’ ได้ระบุความเป็นไปได้อยู่ 2 รูปแบบ
หนึ่งคือ ‘โลกจะเป็นอย่างไรหากเรายังคงทำเช่นเดิมแบบเดียวกับในปัจจุบัน และทำให้โลกอบอุ่นขึ้น 3 องศาเซลเซียส’ และสอง ‘จะเป็นอย่างไรหากเราลดคาร์บอน มลพิษ และจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็ว’ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้ในข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศปารีส
การวิจัยเหล่านี้ที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ช่วยให้เห็นภาพเหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและพลังงานที่เราใช้ในทศวรรษนี้ จะส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคต ทาง Climate Central ได้ใช้การผสมผสานระหว่างรูปภาพเสมือนจริง วิดีโอ รูปจากกูเกิ้ลเอิร์ธ และ ‘GIF’ แบบเคลื่อนไหวในการสร้างเครื่องมือนี้ (ทดลองเล่นได้ที่ลิ้งก์นี้ : https://picturing.climatecentral.org/)
สถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์และสำคัญเกือบ 200 แห่งทั่วโลก ตั้งแต่ตึกเบิร์จคาลิฟาในดูไบ ไปจนถึงห้างสรรพสินค้าแห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองชายฝั่งทะเลจะจมอยู่ใต้น้ำเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในระยะยาว
“มนุษย์มีการมองเห็น สมองของเราประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ถูกใช้ไปกับการมองเห็น แต่รายงานทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามด้านสภาพอากาศได้รายงานตัวเลขที่ยากต่อการตีความ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 1 ฟุตหรือ 5 ฟุตหมายความว่าอย่างไรจริง ๆ?” เบนจามิน สตรอสส์ (Benjamin Strauss) ซีอีโอและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ Climate Central กล่าว
ดังนั้นเป้าหมายของภาพเหล่านี้คือการแสดงให้เห็นว่าเราสามารถมีอิทธิพลต่ออนาคตได้ สตรอสส์กล่าวว่า “เรานำเสนอการเปรียบเทียบอนาคตที่เป็นไปได้แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับทางที่เราเลือก การกระทำของรัฐบาล องค์กร และการลดมลพิษคาร์บอนในอุตสาหกรรม ให้ได้มากและให้ได้รวดเร็วที่สุด สามารถลดความเสี่ยงและปกป้องชุมชนชายฝั่งทั่วโลกได้”
นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศอย่าง เคทเธอรีน เฮย์โฮย์ (Katharine Heyhoe) ยังเชื่อในพลังของการมองเห็นว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร โดยพิจารณาจากทางเลือกที่เราทำในปัจจุบัน “การวาดภาพผลกระทบที่เกิดจากการเลือกของเรานั้น สามารถเปลี่ยนแปลงความน่าจะเป็นของสถานการณ์ในอนาคตของเรา” เธอกล่าว
เฮย์โฮย์ เสริมว่าการพยายามช่วยให้ผู้คนจินตนาการว่าดาวเคราะห์ที่ร้อนขึ้นจะส่งผลต่อพวกเขาในแต่ละบุคคลอย่างไรช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น “ลองนึกถึงฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดที่คุณจำได้ ค่าไฟของคุณปริมาณเท่าไหร่? มันรู้สึกยังไง?” เฮย์โฮย์ซึ่งเป็นชาวเท็กซัสได้เห็นแล้วว่ามีจำนวนวันที่อุณหภูมิเกิน 100 องศาฟาเรนไฮต์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
“ภายในปี 2070 หากคุณอาศัยอยู่ในนิวแฮมป์เชียร์ คุณจะรู้สึกเหมือนอาศัยอยู่ในทางตอนเหนือของเวอร์จิเนียมากขึ้นในแง่ของฤดูร้อน แม้ว่าเราจะพยายามอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ก็ตาม” เฮย์โฮย์บอก สภาพอากาศและบรรยากาศของรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ทางละติจูดใต้ ‘จะขึ้น’ ไปทางเหนือมากขึ้นเมื่อดาวเคราะห์โลกอุ่นขึ้น
“ถ้าเราไม่ทำทุกอย่างที่ทำได้ ฤดูร้อนในนิวแฮมป์เชียร์ก็จะรู้สึกเหมือนอยู่ในแคโรไลนา” เธอเสริม
เราจะเลือกอนาคตอะไร?
“ถ้าไม่ทำอะไรเลย เราต้องเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าการทำอะไรสักอย่างจะเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นคุณจะมีคนที่กลัวแต่ไม่ทำอะไรเลยจำนวนหนึ่ง” เฮย์โฮย์เน้นย้ำ
ในหนังสือชื่อ ‘The Future We Choose’ โดยคริสตินา ฟิเกอเรส (Christiana Figueres) และ ทอม ริเวตต์-คาร์แนค (Tom Rivett-Carnac) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการเจรจาข้อตกลงปารีสครั้งประวัติศาสตร์ ได้ช่วยมีอิทธิพลต่อวิสัยทัศน์ของเฮย์โฮย์ว่าโลกจะรอดพ้นจากภาวะโลกร้อนได้อย่างไร
ภาพหลักของข้อตกลงปารีสได้เสนอรูปลักษณ์ด้านสภาพอากาศของโลกในปี 2050 ที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ แม้ว่าจะมีสถานการณ์ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หนังสือเล่มนี้ยังเสนอสถานการณ์ในกรณีที่ดีที่สุดด้วย นั่นคือ ‘สิ่งต่าง ๆ จะเป็นอย่างไรถ้าเราก้าวไปสู่โลกที่อุณหภูมิจะอุ่นขึ้นไม่เกิน 1.5°C ภายในปี 2100 ซึ่งเป็นโลกที่เราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งทุกทศวรรษนับตั้งแต่ปี 2020 นี้’
มันวาดภาพที่ชัดเจนว่าโลกของเราน่าอยู่แค่ไหนในอนาคตหากเราจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในวงกว้าง เฮย์โฮย์กล่าวเสริมว่า “ท้องฟ้าจะเป็นสีฟ้าแค่ไหน อากาศของเราจะดีได้แค่ไหน น้ำของเราจะสะอาดแค่ไหน เดินได้แค่ไหน และเมืองของเราก็จะเป็นสีเขียว”
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/environment/article/climate-change-predictions-2070