กุญแจสำคัญในการมี ‘ความสุขทางจิตใจ’ ที่ดีขึ้น อาจเป็น “ สวนสาธารณะใกล้บ้าน” คุณ
สวนสาธารณะใกล้บ้าน สวนสีเขียวในเมือง นอกจากเป็นสถานที่ออกกำลังกาย ยังช่วยให้มนุษย์เชื่อมโยงกับธรรมชาติได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสวนสาธารณะและความเป็นอยู่ด้านจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก เผยให้เห็นว่าพื้นที่เหล่านี้ นอกจากจะมีไว้เดินเล่นหรือชมดอกไม้สวย ๆ แล้ว ยังทำให้ผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนผูกพันกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืน
.
“สวนสาธารณะเป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจจากดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน และคุณสามารถกลับไปซื้อดอกไม้เหล่านี้ในท้องถิ่นได้” เดบรา พรินซิง (Debra Prinzing) หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ ‘ดอกไม้ที่เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ’ (the slow flower movement) และผู้สร้างเว็บไซต์ ‘Slowflowers.com’ ที่เชื่อมโยงผู้บริโภคกับนักจัดดอกไม้ รวมถึงนักออกแบบที่ใช้ดอกไม้ในท้องถิ่น กล่าว
.
สวนสาธารณะเป็นหนึ่งในสถานที่ดีที่สุดในการสัมผันกับเทรนด์ ‘ดอกไม้ช้า ๆ’
การเคลื่อนไหวของดอกไม้ที่ช้าลงคืออะไร?
ผู้ที่ชื่นชอบดอกไม้บางคนอาจไม่ทราบว่ากว่าร้อยละ 90 ของดอกไม้ที่นำเข้ามาในประเทศนั้นจะถูกเก็บมาตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วจุ่มลงในสารเคมีเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่ายไปยังร้านค้าดอกไม้ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
.
การเคลื่อนไหวของดอกไม้อย่างช้า ๆ จึงเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้บริโภคและพื้นที่ท้องถิ่นของดอกไม้ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความน่าชื่นชมในความงามและความหลากหลายของดอกไม้ที่ปลูกในท้องถิ่นเอง
.
“มันเป็นเรื่องของความยั่งยืนและการทำให้แน่ใจว่าดอกไม้ที่เราซื้อนั้นดีต่อมนุษย์และต่อโลก” พรินซิง กล่าว “สวนพฤกษศาสตร์หลายแห่งกำลังเพิ่มพืชพื้นเมืองมากขึ้น และอุตสาหกรรมดอกไม้ก็ใช้ไม้ยืนต้นพื้นเมืองจากท้องถิ่นมากขึ้น”
.
ในช่วงต้นของโครงการ พรินซิง ได้สร้างช่อดอกไม้รายสัปดาห์ที่มาจากท้องถิ่นหรือจากสวนในซีแอตเทิลของเธอ พร้อมด้วยความคิดริเริ่มในการทำงานต่าง ๆ เช่น โครงการเกษตรกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและนักจัดดอกไม้ สวนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่จัดแสดงระบบนิเวศในท้องถิ่น สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มาเยือน และปลูกฝังความเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในชีวิตประจำวัน
จะสัมผัสได้ที่ไหน?
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สวนสาธารณะได้เริ่มเสนอโปรแกรมแบบโต้ตอบ และเพิ่มโอกาสเพื่อช่วยให้ผู้คนที่เข้ามาได้รับรู้ข้อมูลพืชพื้นเมืองได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวเองก็สามารถสัมผัสประสบการณ์เหล่านี้ได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกเช่น สวนญี่ปุ่น พอร์ตแลนด์ ในรัฐโอเรกอน ซึ่งจะแนะนำให้ผู้ที่เข้าร่วมได้รู้จักับการฝึก ‘อาบป่า’ แบบญี่ปุ่นโบราณหรือ ‘ชินริน-โยกุ’
.
เซซิลี ฮันท์ (Cecily Hunt) ผู้ช่วยในการทำสมาธิกล่าวว่า การฝึกนี้เกี่ยวข้องกับการทำตัวให้ช้าลง พร้อมกับดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส “เป็นการอนุญาตให้ตัวเองได้ยิน มองเห็น รู้สึก และได้กลิ่นของสวนอันอุดมสมบูรณ์อย่างมีสติ” เธอกล่าว
.
สวนญี่ปุ่นนั้นใช้เฉดสีและโทนสีเขียวอย่างตั้งใจ ซึ่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อคนกับธรรมชาติ ผู้ที่เยี่ยมชมจะได้รับการสนับสนุนให้สร้างประสบการณ์ฝึกสติของตนเอง ผ่านม้านั่งที่จัดวางอย่างมีกลยุทธ์
.
จากนั้นก็เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมฟังเสียงของธรรมชาติ และรู้สึกถึงการเชื่อมต่อกับโลกด้วยพื้นที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของพวกเขา ฮันท์ เน้นย้ำว่าความเงียบและเวลาชั่วขณะปัจจุบันนั้นมีความสำคัญ โดยกระตุ้นให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมงดเว้นจากสิ่งรบกวนสมาธิเช่น การสนทนาและการถ่ายภาพ เพื่อดื่มดำไปกับบรรยากาศอันเงียบสงบอย่างเต็มที่
ในทำนองเดียวกัน สวนพฤกษศาสตร์แอตแลนตาเองก็นำเสนอแนวทางการรับประทานอาหารอย่างมีสติผ่านสวนที่กินได้ ไมเคิล เดล วาลล์ (Michael Del Valle) ผู้จัดการฝ่ายพืชสวนกลางแจ้งกล่าวว่า สวนแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นการสาธิตที่มีชีวิต ซึ่งแขกจะได้ชมการเจริญเติบโตของผักและผลไม้ เรียนรู้วิธีนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้ในการปรุงอาหาร พร้อมกับเรียนรู้วิธีการปลูกผักสวนครัวของตัวเองที่บ้าน
.
โดยตลอดฤดูร้อน จะมีการสาธิตการทำอาหาร เข้าคลาส และรับประทานอาหารค่ำที่สร้างสรรค์โดยเชฟในห้องครัวกลางแจ้ง “ผู้คนประหลาดใจกับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าพืชที่ปลูกที่นี่เช่น ข้าว สามารถกินได้และก็สามารถปลูกในสวนของตนเองได้เช่นกัน” เดอ วาลล์ บอก
.
ในเมืองเวล รัฐโคโลราโดเองก็มีโครงการ ‘Colorado Alpine EcoFlora’ ของ เบตตี้ ฟอร์ด อัลไพน์ การ์เดน (Betty Ford Alpine Gardens) ซึ่งดึงดูดผู้เยี่ยมชมให้เข้ามาในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของชุมชน โดยเชิญชวนผู้คนบันทึกภาพพืชบนเทือกเขาแอลป์ที่เปราะบาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผ่านการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน และอัปโหลดไปยังแอปพลิเคชั่น iNaturalist
ป่าไวทิงแห่งสวน Dow ในมิดแลนด์ รัฐมิชิแกน มีทางเดินเหนือยอดไม้ที่ยาวที่สุดในสหรัฐฯ ซึ่งยาว 427 เมตร ให้นักท่องเที่ยวได้ชมทิวทัศน์ยอดไม้อันน่าทึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดความซาบซึ้งกับสภาพแวดล้อมด้านล่างที่เพิ่งค้นพบ
.
เช่นเดียวกับทางเดินใน ‘กิ่วแม่ปาน’ ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ของประเทศไทย ที่ให้ผู้เข้าชมได้เดินผ่านเส้นทางธรรมชาติอันงดงาม พร้อมกับเรียนรู้ข้อมูลจากผู้นำทางที่เป็นคนท้องถิ่นถึงพืชพรรณต่าง ๆ นานาในช่วงฤดูหนาว
.
สวนกุหลาบไทเลอร์เท็กซัสก็เชิญชวนผู้มาเยี่ยมชมแวะดมกลิ่นพุ่มกุหลาบกว่า 38,000 ต้นที่ปลูกบนพื้นที่ของสวน 600 แปลง ในเมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย อีกทั้งยังป่าผีเสื้อในร่มของ Phipps Conservatory ที่เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสสัตว์ผสมเกสรที่สำคัญเหล่านี้อย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยชั้นเรียนเสมือนจริงเกี่ยวกับพืชพื้นเมือง สุขภาพของดิน และการดูแลต้นไม้
.
สวนใต้น้ำของ Butchart Gardens บนเกาะแวนคูเวอร์ในบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เองก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มอบประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอันน่าดื่มด่ำเช่นกัน สวนแห่งนี้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเหมืองร้าง ปัจจุบันมีแปลงดอกไม้ 151 แปลงที่หลากสีสันให้ได้รับชม
.
และท้ายที่สุดสำหรับกรุงเทพมหานคร ชาวเมืองสามารถไปยังสวนหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นสวนลุมพินี สวนจตุจักร หรือสวนเบญจกิติที่มีสีเขียวมากเพียงพอให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมได้รู้สึกพักผ่อน และใช้เวลาเชื่อมโยงกับธรรมชาติในวิถีชีวิตเมืองที่วุ่นวาย
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
.
https://www.nationalgeographic.com/travel/article/slow-flower-movement-public-gardens-mindfulness