เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Huawei

เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Huawei

เมื่อไล่เรียงดูดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลกปี พ.ศ. 2564 (Global Climate Risk Index 2021) จะเห็นได้ว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 9 จาก 170 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจพลังงาน คมนาคมขนส่ง และกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งก่อให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับต้น ๆ ของไทย

เพื่อให้สอดรับกับแผนแม่บทความเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งชาติ ที่ประเทศไทยได้นำเสนอและตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงลดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ร้อยละ 6 ต่อปี โดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด หนึ่งในอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีมีเป้าหมายเช่นเดียวกัน

หัวเว่ย คือผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะชั้นนำระดับโลกกว่า 170 ประเทศ ให้บริการผู้ใช้งานกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก โดยมีพันธกิจในการสร้างการเชื่อมต่อและเข้าถึงแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลได้อย่างทั่วถึง

เพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมและองค์กรเดินหน้าสู่โลกอัจฉริยะ ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน จึงนำไปสู่กลยุทธ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัล ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศที่ดีต่อสุขภาพ ไปจนถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในข้อกำหนด SDGs ขององค์การสหประชาชาติ

ภารกิจแรกคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก

ต่อมาคือการเข้ามามีบทบาทของพลังงานเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นเทคโนโลยีหลักในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เริ่มตั้งแต่การผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ 5G, Cloud และ AI รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (วัตต์ ความร้อน และแสงสว่าง) จนได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ

เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มจากการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์มานานนับศตวรรษสู่เทคโนโลยีรุ่นที่ 4 ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยเฉลี่ย (Levelized Cost of Electricity) ลดลง ด้วยคุณสมบัติที่ใช้งานง่าย บำรุงรักษาเองได้ สะดวกต่อการติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย และใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์คือเทคโนโลยีเก็บพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (ESS) เกิดจาการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมผสานกับเทคโนโลยีการควบคุมระบบดิจิทัลเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดระบบเก็บพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ช่วยสำรองการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมและนำมาใช้ในช่วงที่เกิดการขัดข้อง

ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร รวมถึงศูนย์รับส่งข้อมูลขนาดย่อมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้สถานีฐาน 5G ซึ่งคาดว่าจะมีการใช้พลังงานจากกลุ่มเทคโนโลยีไอซีทีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2583 อีกด้วย

หัวเว่ยได้มีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ที่นิยม เช่น ระบบชาร์จไว ที่ได้มีการนำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ Wuling Mini EV ในประเทศจีน เป็นรุ่นประหยัดและกระจายจุดชาร์จอย่างทั่วถึง มีระยะการขับขี่ได้ไกลถึง 1,000 กิโลเมตร หากมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในไทย จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

สำหรับกลุ่มธุรกิจโซลูชันศูนย์ข้อมูลสำเร็จรูป (Prefabricated Modular Data Center), โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะ (Smart PV) และโซลูชันพลังงานในด้านการอำนวยความสะดวก (Site Power Facility) กำลังมีผลงานในระดับแนวหน้าและมีการขยายตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งหัวเว่ยเป็นบริษัทแรกในโลกที่สร้างเทคโนโลยีใหม่ อย่าง X-in-1 ePowertrain ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงส่งมอบหน่วยพลังงานประสิทธิภาพสูงไปมากถึง 3 ล้านชุดทั่วโลก

โดยปีที่ผ่านมา พบว่า หัวเว่ยปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงประมาณ 33.2% และช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงทำให้ลดปริมาณคาร์บอนได้ประมาณ 160 ล้านตัน ซึ่งทำให้ หัวเว่ย ได้รับรางวัล Most Sustainable Network Solution จากเวที The 5G World 2021 Summit จาก Informa บริษัทวิจัยสื่อและโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก ที่มอบให้กับองค์กรผู้ดำเนินธุรกิจเพื่อลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืน

นอกเหนือจากนี้ หัวเว่ย ยังก่อตั้งกลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัล ซึ่งมีความความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Leader) โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับระบบไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

Recommend