กลยุทธ์ 7 Go Green เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมงของ ซีพี ออลล์

กลยุทธ์ 7 Go Green เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมงของ ซีพี ออลล์

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิต ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ ไปจนถึงการเจริญเติบโตด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นสาเหตุให้ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกินกว่า 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส และลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดภายในปี 2030

เช่นเดียวกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ประกอบธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อ ทั้งสินค้าบริโภคและอุปโภคมากกว่า 13,000 สาขา ภายใต้เครื่องหมายการค้า ‘7-Eleven’ ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ 7 Go Green เพื่อสิ่งแวดล้อมตลอด 24 ชั่วโมงในส่วนของธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกส์

ประกอบด้วย หลัก Green Store เน้นเรื่องการออกแบบและบริหารจัดการร้านด้วยการหันมาประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อมาคือหลัก Green Logistics เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบศูนย์กระจายสินค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ในระดับสากล คือมาตรฐานอาคารเขียว หรือ Leadership in Energy & Environmental Design: LEED รวมถึงการขนส่งสินค้า โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน และหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือ Green Living ผ่านการปลูกจิตสำนึก และสร้างความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น รณรงค์การแยกขยะให้กับเด็กและเยาวชน

จนถึงหลักที่ขาดไม่ได้เลยอย่าง Green Packaging หรือการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยสินค้าและผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า มาตรฐานความปลอดภัย ในการผลิต ขนส่ง จนถึงผู้บริโภค จึงทำให้เกิดบรรจุภัณฑ์จำนวนมากในระบบ การสร้างมาตรการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างจริงจังจึงเกิดขึ้น ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งประกอบด้วย 3 ข้อสำคัญ

ข้อแรก การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตต่าง ๆ เช่น การลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์​ โดยการ ปรับเปลี่ยนเป็นพลาสติกให้บางลงแต่ยังคงคุณสมบัติในการใช้งาน การใช้ฝายกดื่มแทนการใช้หลอด รวมถึงผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ซีพี ออลล์ทั้งหมดที่ดำเนินการได้จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ใช้งาน อีกทั้งช่วยในการคัดแยกขยะเบื้องต้นด้วย สำหรับน้ำดื่ม ได้ยกเลิก การใช้พลาสติก หุ้มห่อฝาขวด หรือแคปซิลทุกแบรนด์น้ำดื่มที่ขายในร้าน จนถึงการใช้วัสดุที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการที่ยั่งยืน หรือการเปลี่ยนฝาพลาสติกหนามาเป็นการใช้แผ่นฟิล์มบาง การพัฒนาและเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และลดขยะลงสู่หลุมฝังกลบ โดยต้องรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด

ข้อที่สองคือการลดและทดแทนการใช้พลาสติกจากถุง หลอด และโฟมให้ได้ ซึ่งซีพี ออลล์ก็ได้ดำเนินการงดใช้โฟมบรรจุอาหารมากว่า 9 ปีแล้วเช่นกัน

และข้อสุดท้าย Green Living คือการลดขยะหลังการบริโภค ผ่านความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนในพนักงานในองค์กร ลูกค้าและชุมชน ชุมชน จนถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก ด้านจัดการขยะ โดยเราจะสังเกตเห็นได้ว่าทุกร้านของเซเว่นมีถังขยะ 2 แบบ คือแบบทั่วไปและขยะรีไซเคิล เพื่อให้ผู้บริโภคช่วยกันแยกขยะลงถังตามประเภท ขณะเดียวก็มีตู้คืนขวดสะสมแต้มซึ่งได้พาร์ทเนอร์อย่างซันโทรี่ เปบซี่โค มาร่วมด้วย และนำขวดที่ได้มาทำเป็นเส้นใย และทอเป็นเสื้อพนักงานกว่าหนึ่งแสนตัว

ภายใต้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ยังมีกระบวนการที่เรียกว่า 3R+1R ซึ่งมองการเดินทางของบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่ Reduce หรือการใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ต่อมาคือ Reuse การนำวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ยังใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ จนถึง Recycle คือการนำวัสดุผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป แล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ จนถึง Renewable หรือการเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบที่มีการจัดการที่ยั่งยืน ไม่ใช้แล้วหมดไป เช่น เยื่อไม้ที่มาจากป่าปลูกทดแทนเป็นต้น

โดยภายในปี 2568 ซีพี ออลล์ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า บรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากสินค้าที่อยู๋ในการควบคุมของบริษัท ( Private Brand ) ทั้งหมด( 100%) จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) รีไซเคิล (Recyclable) หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ได้ ซึ่งการนำพลาสติกชีวภาพที่ทำมาจากธรรมชาติและย่อยสลายได้มาใช้นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อยืดอายุของอาหารได้ยาวนานขึ้น มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนและความเย็น รวมทั้งยังต้องลดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ได้ด้วย

นอกจากการปรับเปลี่ยนการบริหารและการผลิตขององค์กรสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์แล้ว ยังมีการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ตั้งแต่ แบรนด์พันธมิตรอื่น ๆ ทางซีพี ออลล์ ก็มีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยน Packaging เพิ่มเติม ไปพร้อมกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลาสติกและขยะ รวมถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีหรือวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีแหล่งที่มาที่ยั่งยืน เรื่อยไปจนถึงชุมชน และสังคม ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เห็นประโยชน์ของพลาสติก จนสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นได้ กลายเป็นที่มาของกองทุนรีไซเคิลที่สนับสนุนการจัดเก็บขยะพลาสติก

จากการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาตลอด 2 ปี กลยุทธ์การผลิตบรรจุภัณฑ์สีเขียวนั้นช่วยลดการใช้พลาสติกได้มากถึง 33,100 ตัน หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 94,200 ตันคาร์บอน โดยผลลัพธ์ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะซีพี ออลล์เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่เกิดขึ้นจากการร่วมมือของพันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า และภาคส่วนต่างๆ ในการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างจริงจังและตั้งใจ นับเป็นก้าวสำคัญของเมืองไทยในการร่วมกับลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

Recommend