เมืองไทยในอดีต : ศรัทธาและศาสนา

เมืองไทยในอดีต : ศรัทธาและศาสนา

เมืองไทยในอดีต : ศรัทธาและศาสนา

กรุงเทพฯกอปรด้วยวิถีศาสนาอันหลากหลาย ยามเช้าตรู่มีเสียงอะซานแว่วมาจากสุเหร่า ควันธูปลอยคลุ้งอยู่กลางศาลเจ้าของชาวจีน ท่วงทำนองสวดพระมหาคัมภีร์คุรุครันธ์ซาฮิบหลอมรวมดวงจิตของชาวซิกข์ พระสงฆ์ผู้เคร่งครัดในวิถีแห่งพุทธองค์พายเรือออกบิณฑบาตในละแวกวัด บทเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้ากังวานก้องในโบสถ์คริตส์ ศาสนิกชนคารวะเทวรูปพระแม่อุมาเทวีด้วยดวงจิตนอบน้อม ความหลากหลายทางศาสนาเป็นผลมาจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่ผสมผสานกันอยู่ในนครฟ้าอมรแห่งนี้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่และได้รับการค้ำชูจากสถาบันการปกครองมากที่สุด พระมหากษัตริย์ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะและเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกแห่งพุทธศาสนามาโดยตลอด

ความผสมผสานระหว่างคติพุทธ พราหมณ์ และจิตวิญญาณ (ผี) เป็นมรดกจากการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ปกครองและอารยธรรมและอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ อาทิ ขอม ละโว้ ตามพรลิงค์ สุพรรณภูมิ สุโขทัย และอยุธยา ขณะเดียวกัน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนดินแดนที่มีการค้าเป็นพลังขับเคลื่อนยังตอกย้ำให้วิถีทางจิตวิญญาณผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันและหยั่งรากลงในวิถีชีวิตตั้งแต่ไพร่ฟ้าข้าราชการแผ่นดินไปจนถึงพระราชพิธีในรั้ววัง พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ และพระราชพิธีตรียัมปวาย

เมืองไทยในอดีต
แม้จะอยู่ในสังคมพุทธ ทว่าพราหมณ์ยังคงมีบทบาทในฐานะผู้ประกอบพระราชพิธีศักดิ์สิทธิ์มากมาย สะท้อนให้เห็นอิทธิพลทางศาสนาที่หลงเหลือมาจากยุคขอมโบราณ

การล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาเป็นความตกต่ำร้ายแรงของพุทธศาสนา สงครามครั้งนี้มิได้มุ่งเพียงแค่การยอมศิโรราบของชนชั้นปกครอง หากพุ่งประเด็นไปที่การทำลายล้างอาณาจักรไม่ให้กลับมาฟื้นตัวได้อีก และวิธีที่ง่ายที่สุดคือการทำลายล้างอาณาจักรไม่ให้กลับมาฟื้นตัวได้อีก และวิธีที่ง่ายที่สุดคือการทำลายให้ราพณาสูรทั้งวัดวาอารามและสัญลักษณ์ทางศาสนา ศาสนวัตถุจำนวนมากสูญหาย คณะสงฆ์หวาดกลัวจนแตกฉานซ่านกระเซ็นไปตามป่าเขา พระไตรปิฎกถูกเผาทำลาย วัดวาอารามมอดไหม้ในกองเพลิง

 


ชมภาพเมืองไทยในอดีตเพิ่มเติม

เมืองไทยในอดีต : ไพร่ฟ้าสามัญชน


 

ลุสู่สมัยรัตนโกสินทร์ การฟื้นฟูศาสนาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างหลังจากพระบาทสมเด็กจพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงใหม่ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในเขตพระราชฐานเฉกเช่นวัดพระศรีสรรเพชญ์ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เพื่อบำรุงขวัญกำลังใจไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ทั้งยังโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปโบราณที่ได้รับความเสียหายจากหัวเมืองต่างๆ มาปฏิสังขรณ์เป็นจำนวนถึง 1248 องค์ ก่อนจะทรงถวายวัด มีรับสั่งให้สร้างวัดสุทัศนเทพวรารามเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อโตหรือพระศรีศากยมุนีจากสุโขทัย และบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งเป็นวัดเก่าสมัยอยุธยา พร้อมทั้งโปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎกและคัดลอกเพื่อเผยแพร่ไปยังวัดต่างๆ ขณะเดียวกัน การสร้างศาลหลักเมืองเป็นศูนย์กลางยังสะท้อนโลกทัศน์แบบไตรภูมิ แนวคิดที่เปรียบเสมือนสารานุกรมอธิบายปรากฏการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างและยังครอบงำโลกทัศน์ของผู้คนเรื่อยมา กระทั่งถูกท้าทายจากแนวคิดเชิง “เหตุผลนิยม” ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังดปรดให้ก่อสร้างเทวสถานซึ่งเป็นศาสนสถานสำคัญที่สุดของศาสนาพราหมณ์และฮินดูด้วย

 

Recommend