ความเป็นมาของพาสปอร์ต: การควบคุมโลกของประเทศตะวันตก

ความเป็นมาของพาสปอร์ต: การควบคุมโลกของประเทศตะวันตก

ความเป็นมาของ พาสปอร์ต: การควบคุมโลกของประเทศตะวันตก

ในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบเป็นช่วงที่มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯ ไม่ขาดสาย และส่วนใหญ่ต้องเดินทางผ่านเอลลิสไอแลนด์เพื่อตรวจสุขภาพ ตอบคำถาม จึงจะได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าสู่ประเทศได้ ในยุคที่ยังไม่มีการใช้เอกสารระบุตัวตนอย่างเป็นมาตรฐานทั่วโลก กระบวนการนี้จึงทำได้ค่อนข้างง่าย แต่ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีจุดตรวจคนเข้าเมือง และทุกคนที่เดินทางเข้าออกผ่านประเทศใดๆ ก็ต้องผ่านจุดตรวจเหล่านี้

หนังสือเดินทางของยุคปัจจุบันมีการฝังไมโครชิปและภาพโฮโลแกรม ใช้ภาพถ่ายชีวภาพ (biometric photo) และบาร์โค้ด ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีจะล้ำยุคไปมาก โดยเฉพาะเมื่อเรามองว่าความเป็นมาว่าประวัติศาสตร์ของหนังสือเดินทางนั้นช่างยาวนาน มาร์ติน ลอยด์ เขียนไว้ในหนังสือ“The Passport: The History of Man’s Most Travelled Document” The Passport: The History of Man’s Most Travelled Document  ว่า เมื่อหลายร้อยปีก่อนมีการออกใบ sauf conduit หรือ “Safe Conduct Pass” (ใบเอกสารผ่านทาง) ให้กับศัตรูของชาติที่ “เดินทางเข้าออกอาณาจักรเพื่อการเจรจา” ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุคำตกลงระหว่างสุภาพบุรุษสองท่านว่า ผู้ปกครองสองคนยอมรับในอำนาจของกันและกัน และการก้าวข้ามเขตแดนจะไม่นำมาซึ่งสงคราม

พาสปอร์ต
ห้องทะเบียนของเอลลิสไอแลนด์เป็นจุดรับผู้อพยพแห่งแรกของสหรัฐฯในช่วงปี 1900 ถึง 1924 โดยผู้มาใหม่จะต้องตอบคำถามของผู้ตรวจราชการที่นั่งอยู่ใต้ธงชาติ ปี 1912
ภาพถ่าย NEW YORK PUBLIC LIBRARY, National Geographic Creative

การบังคับใช้กฎเกณฑ์ใดๆ ก็ตามย่อมทำได้โดยง่ายเมื่อไม่มีการทำข้อตกลง แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในปี 1920 เมื่อมีการสร้างมาตรฐานหนังสือเดินทางขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยสันนิบาตชาติ (หนึ่งปีให้หลัง สหรัฐอเมริกาจึงผ่าน นโยบายจำกัดผู้อพยพเข้าเมือง ปี 1921 (Emergency Quota Act of 1921)  Emergency Quota Act of 1921 และตามด้วยรัฐบัญญัติผู้อพยพ ปี 1924 (Immgration Act of 1924) ซึ่งจำกัดจำนวนผู้อพยพเข้าเมือง นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะผู้อพยพจากหลากหลายประเทศจัดว่าเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อ “ความเป็นใหญ่ของชาวอเมริกัน” ดังนั้น การระบุประเทศต้นทางของผู้อพยพจึงทำได้โดยการออกหนังสือเดินทางใหม่เอี่ยมให้นั่นเอง

พาสปอร์ต
ครอบครัวผู้อพยพถือกระเป๋าระหว่างเดินผ่านเอลลิสไอแลนด์ ราวปี 1905
ภาพถ่าย Glasshouse Images/Alamy Stock Photo

หนังสือเดินทางซึ่งถือกำเนิดขึ้นเพราะระบบที่มีประเทศตะวันตกเป็นศูนย์กลางเพื่อควบคุมโลกหลังสงครามโลก จึงเอื้อประโยชน์ต่อผู้มั่งมีที่ต้องการเดินทาง แต่ถือเป็นภาระของผู้ยากไร้ “หนังสือเดินทางเป็นเหมือนเกราะกำบัง ถ้าคุณเป็นประชากรของประเทศร่ำรวยค่ะ” เอทอสซา อะแร็กเซีย เอบราเฮเมียน ผู้เขียน The Cosmopolites: The Coming of the Global Citizen เขียนไว้ นักเขียนสาวชาวแคนาดา ผู้มีเชื้อสายอิหร่านและปัจจุบันเป็นประชากรของสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งคำถามว่าด้วยสัญชาติและความเป็นพลเมือง “ฉันไม่มีความผูกพันใดๆ เป็นพิเศษกับหนังสือเดินทางของตัวเองหรอกค่ะ เพราะมองแค่ว่าเป็นเรื่องของการบังเอิญไปเกิดในที่ใดที่หนึ่ง และฉันจะไม่ระบุตัวตนว่าเป็นชนชาติใดชาติหนึ่งถ้าไม่จำเป็น” เธอบอก

เหล่าผู้วิพากษ์การแก้ไขปัญหาผู้อพยพปี 1920 แย้งว่า ระบบดังกล่าวไม่ใช่การสร้างสังคมแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริงสำหรับนักเดินทางท่องโลก แต่เป็นเรื่องของการบังคับควบคุม แม้แต่ภายในเขตแดนของประเทศสหรัฐฯ เอง ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ Atlas Obscura รายงานว่า หญิงชาวอเมริกันที่สมรสแล้วมีเพียงชื่อท้ายชื่อของสามีในหนังสือเดินทาง เช่น “นายจอห์น โด และภริยา” (หญิงโสดสามารถมีหนังสือเดินทางของตนเองได้ อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ) และจะไม่มีสิทธิ์เดินทางข้ามชายแดนได้ด้วยตนเอง แต่ชายที่สมรสแล้วสามารถเดินทางไปไหนมาไหนตามลำพังได้

พาสปอร์ต
ลูกของผู้อพยพที่ถูกกักตัว หรือของพ่อแม่ผู้อพยพที่อยู่ก่อนแล้ว โบกธงชาติสหรัฐฯบนสวนดาดฟ้าบนเอลลิสไอแลนด์ ราวปี 1900
ภาพถ่าย Jacob A. Riis, Museum of the City of New York/Getty Images

มีบางประเทศที่มองว่า หนังสือเดินทางคือวิธีควบคุมโลกของประเทศตะวันตกและออกมาคัดค้าน มาร์ก ซอลเทอร์ เขียนไว้ในหนังสือ  Rights of Passage: The Passport in Internation RelationsRights of Passage: The Passport in International Relations แม้ว่าหลายประเทศต้องการยกเลิกการใช้หนังสือเดินทาง แต่ก็ไม่มีประเทศใดทำเช่นนั้นได้ในปัจจุบัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือเดินทางกลายเป็นของจำเป็นที่ทุกคนต้องการ ไม่ต่างจากอสังหาริมทรัพย์และงานศิลปะ บางประเทศมีการค้าหนังสือเดินทางในตลาดมืด และบางประเทศก็เปิดพรมแดนให้กับคนที่ยอมจ่ายเงินก้อนโต “ตอนที่ค้นคว้าเพื่อเขียนหนังสือ พอฉันรู้ว่ามีตลาดค้าหนังสือเดินทางถูกกฎหมาย ฉันเลยรู้ว่า ความคิดของตัวเองที่มองว่าความเป็นพลเมืองเป็นสิ่งที่ซื้อขายได้ เป็นความคิดที่ถูกต้องค่ะ” เอบราเฮเมียน บอก ตัวอย่างเช่น ประเทศมอลตากับไซปรัสเปิดขายความเป็นพลเมือง โดยมอลตาตั้งไว้ที่สนนราคา 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ส่วนไซปรัสจะมอบสัญชาติให้คนที่มาลงทุนตามข้อกำหนดของรัฐบาล

พาสปอร์ต
ลูกๆของผู้อพยพตรวจสุขภาพกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองเมื่อมาถึงเอลลิสไอแลนด์ในช่วงที่ไข้รากสาดใหญ่ระบาด ปี 1911
ภาพถ่าย Bettmann/Getty Images

ถึงกระนั้น ก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าเป็นคนไร้สัญชาติ (stateless) โดยคนเหล่านี้มีอยู่ถึง 10 ล้านคนทั่วโลก และคำขอออกหนังสือเดินทางของพวกเขามักถูกปฏิเสธ จึงทำให้ขาดเสรีในการเดินทาง และนั่นเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า “สัญชาติ” หรือความเป็นพลเมือง เป็นสิ่งที่คลุมเคลือ

เราจะมีอภิสิทธิ์มากน้อยแค่ไหน หรือจะกังวลมากน้อยแค่ไหนขณะเดินทาง ขึ้นอยู่กับประเทศต้นทางของเรา หนังสือเดินทางของเราอาจเป็นเครื่องคุ้มกะลาหัวหรือเป็นภาระที่ต้องแบกรับก็ได้ เพราะตัวหนังสือเดินทางจะคงอยู่ต่อไป แต่การปรับเปลี่ยนเอกสารชิ้นนี้ให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกขณะยังเป็นเรื่องท้าทาย และเราไม่รู้ว่าในอนาคต หนังสือเดินทางจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

เรื่อง จูเลีย ไพน์ส

 

อ่านเพิ่มเติม

คนไทยในอดีตหากมีคู่ต่างชาติ มีโทษถึงประหารชีวิต

Recommend