มรดกบาปแห่งสงคราม

มรดกบาปแห่งสงคราม

พอไปถึงปากซอง อดีตเมืองด่านหน้าของฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อเรื่องการปลูกกาแฟ  ผมเดินเรื่อยเปื่อยเข้าไปในบาร์ร้างแห่งหนึ่ง ภาพเขียนบนฝาผนังแสดงภาพเหล่าเจ้าของไร่ ขณะกำลังผ่อนคลายอยู่ท่ามกลางแม่หญิงลาว ตอนนั้นมืดแล้ว และสัญญาณของชีวิตเพียงอย่างเดียวมาจากบ้านหลังเล็กที่อยู่ติดกับโบสถ์ฝรั่งเศสหลังเก่า  ภายในบ้านหลังนั้น ผมพบบาทหลวงฝรั่งเศสผู้มีขาข้างเดียวกำลังดื่มวิสกี้อยู่ ท่านกำลังอ่านหนังสือที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเรื่องหน่วยรบพิเศษกรีนเบเรต์ (The Green Berets) ซึ่งเป็นเรื่องแต่งบอกเล่าวีรกรรมของทหารอเมริกันกลางป่าดง ”ตกลง
สงครามเวียดนามเป็นแบบนี้ใช่ไหมคุณ” ท่านเอ่ยถาม ระเบิดในลาว

ผมอยากกลับไปเยือนปากซองอีกครั้งมาหลายสิบปีแล้ว ผมรู้ว่าบาทหลวงท่านนั้นคงไม่อยู่ที่นั่นแล้ว แต่ผมไม่ได้คาดคิดว่าเมืองปากซองดั้งเดิมก็อันตรธานไปแล้วเช่นกันหลังเดินเตร็ดเตร่เข้าไปที่นั่นเมื่อปี 1968  ฝูงเครื่องบิน บี-52 ได้ทิ้งระเบิดปูพรมทั่วเมืองปากซองถึงสองครั้ง ตอนนี้มีซากมุมตึกดำ เป็นตอตะโกกองเดียวเท่านั้นที่ยังหลงเหลืออยู่

ระหว่างยุทธการทิ้งระเบิดครั้งนั้น ชาวเขาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของลาวประสบเคราะห์กรรมใหญ่หลวง ลูกระเบิดไม่แยกแยะว่าใครเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ ใครเป็นฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ พอๆ กับที่ไม่แยกแยะว่าใครเป็นทหาร ใครเป็นเด็ก

ระหว่างที่การทิ้งระเบิดหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ บรรดาแม่หญิงลาวใช้ความชำนาญในการเย็บปักถักร้อยและการต่อผ้าเป็นสื่อบอกเล่ามหันตภัยจากฟากฟ้า ผลงานศิลปะขนาดเท่ากำแพงของพวกเธอซึ่งมีทั้งภาพเด็กๆเลือดอาบ พืชผลท่ามกลางกองไฟ และสิงสาราสัตว์ตื่นตระหนก อาจเป็นงานศิลปะที่เทียบชั้นได้กับภาพจิตรกรรมฝาผนังต่อต้านสงครามที่ชื่อ “เกร์นีกา” ของปาโบล ปีกัสโซ เลยทีเดียว เคีย ทีชา ซึ่งบอกผมว่า เธออายุ 58 ปี อาศัยอยู่ที่บ้านนาอูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านผู้อพยพชาวม้งใกล้หลวงพระบางมานานกว่า 17 ปีแล้ว เธอคลี่ผลงานชิ้นเอกยุคหลังสงครามชิ้นหนึ่งของเธอให้ผมดู งานชิ้นนั้นถ่ายทอดความงามของสรวงสวรรค์บนดินที่ซึ่งสายนํ้างามระยับยังคงรวยริน ต้นไม้ใบหญ้าเขียวขจี  และสรรพสัตว์แปลกตาล้วนเริงร่าอยู่ใต้ดวงอาทิตย์อันการุณย์หลากเฉดสี เศษผ้าฝ้ายลายจุดเมื่ออยู่ในมือเธอจะกลายเป็นยีราฟ ผ้าขี้ริ้วสีนํ้าเงินกลายเป็นลำห้วยไหลริน

พอผมขอดูงานชิ้นอื่นๆ เธอก็บอกว่าไม่ได้ทำงานชิ้นใหญ่ขนาดนี้อีกแล้ว ”นักท่องเที่ยวไม่อยากได้งานชิ้นใหญ่ๆแบบนี้อีกแล้วค่ะ” พวกเขาอยากได้งานเย็บปักถักร้อยราคาไม่แพงที่ใส่กระเป๋าหิ้วกลับบ้านได้ เดี๋ยวนี้ฉันเลยทำแต่ของชิ้นเล็กๆที่ขายถูกหน่อย” เธอไม่ได้ตัดสินว่าความเปลี่ยนแปลงล่าสุดนี้ดีเลวอย่างไร เพียงแต่กำลังดิ้นรนให้อยู่รอดในยุคปลอดสงคราม เช่นที่เคยเอาชีวิตรอดผ่านสงครามมาได้ด้วยการยอมรับว่า อะไรจำเป็นต้องทำ ก็ทำสิ่งนั้น

ระเบิดในลาว
มีพื้นที่ในทุ่งไหหินเพียงไม่กี่จุดที่ได้รับการเก็บกู้วัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดออกไปจนหมดแล้ว และปลอดภัยสำาหรับนักท่องเที่ยว นักโบราณคดีบางคนสันนิษฐานว่า ไหยักษ์อายุ 2,000 ปีเหล่านี้ ใช้บรรจุร่างผู้ตายในพิธีฝังศพ

สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยแปรเปลี่ยนในลาว คือความร้อนอบอ้าวระหว่างการเดินทาง การเสาะหาเครื่องดื่มเย็นๆ พาผมไปถึงร้านสะดวกซื้อของเข็มจัน คำ ซาว บนถนนเส้นเหนือ-ใต้ที่ตัดเข้าสู่หลวงพระบาง ตู้แช่เครื่องดื่มประตูกระจกเชิญชวนให้ผมเข้าไป  แต่กลับกลายเป็นถังขยะสีเขียวเข้มของเธอที่ทำให้เราเริ่มสนทนากัน ด้วยขาตั้ง (ป้องกันสัตว์รบกวน) รูปทรงสวยงาม ตัวถังอ้วนใหญ่ และฝาปิดมิดชิด ถังขยะของเข็มจันดูสวยสง่าและใช้สอยได้ดี “ถังขยะพวกนี้ทำจากยางรถบรรทุกเก่าๆค่ะ” เธออธิบาย

เช่นเดียวกับช้อนและกำไลของเพด นาเพีย ถังขยะนี้คือตัวอย่างหนึ่งของความช่างคิดของชาวลาวในการแปรของทิ้งขว้างให้กลายเป็นของใช้สอยได้ชีวิตของเธอเองก็สร้างขึ้นจากซากปรัก เข็มจันมีพื้นเพมาจากย่านที่ถูกทำลายย่อยยับย่านหนึ่งในแขวงคำม่วนของลาวตอนกลาง ที่ซึ่งหลายพื้นที่ยังดาษดื่นไปด้วยวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิด หรือยูเอกซ์โอ (Unexploded Ordnance : UXO) จนผู้คนที่นั่นไม่สามารถทำไร่ไถนาได้

เมื่อที่ดินของครอบครัวไม่สามารถใช้ประโยชน์ เธอกับสามีจึงอพยพมาอยู่ในย่านกว้างขวางริมถนนสายนี้ 12 ปีต่อมา ชีวิตของทั้งคู่กลายเป็นตัวอย่างเรื่องราวความสำเร็จของชาวลาวร้านค้าของพวกเขาตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของบ้านหลังใหม่ สามีเธอมีรายได้จากการเป็นคนงานก่อสร้างของโครงการชลประทานในเมืองวังเวียงซึ่งอยู่ห่างออกไปทางเหนือ 105 กิโลเมตร ลูกๆ ทั้งสามของพวกเขาเข้าเรียนโรงเรียนรัฐสองคนหลังเรียนที่โรงเรียนในท้องถิ่น ส่วนคนโตเรียนอยู่ที่เวียงจันทน์เข็มจันกับครอบครัวเคยอยู่ท่ามกลางดงระเบิด มาตอนนี้พวกเขาอยู่ท่ามกลางกองเงิน แต่พวกเขาก็พบว่าเงินตราก็นำภัยมาถึงตัวได้เช่นกัน

เมื่อผมตั้งข้อสังเกตว่า ลูกชายเธอน่าจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่าในเมืองหลวง เธอตอบว่า “ไม่ใช่ค่ะ นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เราส่งเขาไป ฉันให้เขาไปอยู่เวียงจันทน์เพื่อให้อยู่ห่างๆจากพวกพ่อค้ายาต่างหากค่ะ” สงครามยาเสพติดเปิดฉากขึ้นเมื่อปี 1989 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้ให้ทุนในการกวาดล้างฝิ่น พอถึงปี 2006 ลาวก็ประกาศว่าเป็นประเทศปลอดฝิ่น แต่เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว ความนิยมในเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) และยาเสพติดอื่นๆ ก็ตามมา ลาวเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ที่ส่งผ่านยาเสพติดจำพวกยาบ้า เฮโรอีน และฝิ่น ซึ่งกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง และพื้นที่ในชนบทก็ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ

(อ่านต่อหน้า 3)

Recommend