นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ‘ชีสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก’ อยู่บนตัวมัมมี่อายุหลายพันปีจากประเทศจีน

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ‘ชีสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก’ อยู่บนตัวมัมมี่อายุหลายพันปีจากประเทศจีน

 “ก่อนชีสสีขาวที่พันรอบคอร่างผู้ไร้ชีวิตนี้เป็นปริศนามากว่า 20 ปี

และผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอครั้งใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นชีสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก”

เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่สภาพแวดล้อมของทะเลทรายทากลามากัน (Taklamakan Desert) ได้รักษาร่างกายของผู้ที่ถูกฝังอยู่ในแอ่งทาริมของจีน (China’s Tarim Basin) ไว้อย่างน่าประทับใจ แต่ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือก้อนสีเหลือขนาดเท่าก้อนกรวดทั่วไปซึ่งกระจายอยู่รอบคอบของร่างมัมมี่ที่บางส่วนถูกฝังอยู่ในสุสานเซียวเหอ (Xiaohe) 

ตามการวิเคราะห์ใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Cell ได้ชี้ให้เห็นว่าก้อนกรวดเหล่านี้ไม่ใช่ของธรรมชาติ แต่มันคือหนึ่งในชีสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการผลิตของโคนมโบราณที่กระจายผลิตภัณฑ์นี้ไปทั่วภูมิภาค

ในการศึกษาครั้งก่อน นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างขนาดเล็กของชีสอายุ 3,500 ปีนี้ไปวิเคราะห์โปรตีน มันเผยให้เห็นการมีอยู่ของ ‘แลคโตบาซิลลัส เคฟิราโนฟาเซียนส์’ (Lactobacillus kefiranofaciens เรียกสั้น ๆ ว่า L. kefiranofaciens) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตชีสหมักชนิดหนึ่งที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘คีเฟอร์’ (kefir) 

“มันน่าทึ่งมาก” เสี่ยวเหมย ฟู (Qiaomei Fu) นักพันธุศาสตร์โบราณจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ในปักกิ่ง กล่าว “แต่การสกัดจีโนมจากตัวอย่างโบราณเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย” ฟู เคยทำงานเกี่ยวกับดีเอ็นเอมนุษยโบราณมามากมาย และต้องการศึกษาดีเอ็นเอของจุลินทรีย์เหล่านี้ 

อย่างไรก็ตามดีเอ็นเอเล็กน้อยที่เหลืออยู่ในชีสโบราณนี้กำลังค่อย ๆ สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตามเวลาที่ผ่านไป และผสมเข้ากับข้อมูลทางพันธุกรรมอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ในปี 2014 ฟู จึงพัฒนาโมเลกุลพิเศษที่สามารถจับดีเอ็นเอโบราณซึ่งเป้นของจุลินทรีย์จากชีสได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หลังจากการทำงานอย่างขะมักเขม้นหลายปี ตอนนี้ทีมงานได้รวบรวมจีโนมสำหรับสิ่งมีชีวิตโบราณซึ่งสมบูรณ์แล้วกว่า 92 เปอร์เซ็น

ดีเอ็นเอเหล่านี้จะช่วยให้ทีมวิจัยสามารถสำรวขประวัติศาสตร์การผลิตชีสได้ ชีสนั้นเป็นของเหลวข้นที่สร้างขึ้นด้วยการเติมคีเฟอร์ที่มีอยู่แล้วในนม คล้ายกับใช้ก้อนโยเกิร์ตเก่าทำโยเกิร์ตใหม่ เมื่อชีสแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มันก็พาวัฒนธรรมหรือคีเฟอร์ที่ใช้การผลิตตามไปด้วย 

เพื่อสืบย้อนเส้นทางกลับไปให้ละเอียดยิ่งขึ้น นักวิจัยได้เปรียบเทียบดีเอ็นเอของ L. kefiranofaciens ที่พบในชีสมัมมี่กับดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ปรากฏว่ามีสายพันธุ์ที่แยกออกจากอยู่ 2 สายพันธุ์ 

ชนิดแรกมาจากยุโรปและหมู่เกาะแปซิฟิก ขณะที่สายพันธุ์คีเฟอร์จากสุสานเซียวเหอมีความเกี่ยวข้องกับชนิดที่มาจากธิเบตและบางสายพันธุ์จากเอเชียตะวันออก 

สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร? ก่อนหน้านี้นักวิจัยเสนอว่าคีเฟอร์ได้เริ่มต้นแพร่กระจายจากคอเคซัสตอนเหนือในรัสเซียสมัยใหม่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของยุโรปและไกลออกไป แต่จุลินทรีย์ของชีสในสุสานนั้นมีวิวัฒนาการค่อนข้างเร็ว มันให้เบาะแสถึงเส้นทางอื่นจากบริเวณที่ใกล้เซียวเหอมากกว่า 

ซึ่งอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียง ประเทศจีน จากนั้นไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเช่นทิเบต นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผู้คนจากซินเจียงอาจอพยพไปยังทิเบต ทว่าก็ยังต้องการหลักฐานทางโบราณคดีเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสมมติฐานดังกล่าว 

นอกจากนี้มันยังแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างผู้คนสมัยโบราณอีกด้วย โดยตัวอย่างจากทั้งสองตัวอย่างมีดีเอ็นเอจากวัว ในขณะที่อีกตัวอย่างหนึ่งมีเฉพาะวัสดุทางพันธุกรรมที่มาจากแพะเท่านั้น โดยดีเอ็นเองของแพะมีความคล้ายคลึงกับตัวอย่างอื่น ๆ ในเอเชียกลางโบราณ ซึ่งบ่งชี้ว่านี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของแพะที่ถูกเลี้ยงซึ่งกระจายกันอย่างกว้างขวาง

ฟู กล่าวว่าก่อนหน้านี้เธอและเพื่อนร่วมงานพบสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการผสมผสานระหว่างแพะในซินเจียงกับประชากรอื่น ๆ ในยุคสำริด 

นอกจากผู้คนที่อพยพออกไปแล้ว คีเฟอร์ก็อาจแพร่กระจายไปในพื้นที่บางส่วนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการหมักทำให้แล็กโทสในผลิตภัณฑ์นมลดลง ทำให้ประชากรในยุคสำริดที่แพ้แล็กโทสสามารถบริโภคได้ง่ายึ้ขน ซึ่งรวมถึงประชากรในยุคสำริดอย่างเซียวเหอด้วย 

แบคทีเรีย L. kefiranofaciens ไม่ใช่จุลินทรีย์ชนิดเดียวที่พบในชีสมัมมี่ทาริม หลังจากนี้ทีมงานคาดว่าจะพบเบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตจากแบคทีเรียและยีสต์อื่น ๆ ในส่วนผสมดังกล่าว

เมื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่นคราบพลัคที่แข็งตัวและอุจจาระที่กลายเป็นฟอสซิล มันก็อาจเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรในยุคสำริดได้มากขึ้น 

สืบค้นและเรียบเรียง

วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

https://www.sciencedirect.com

https://www.nationalgeographic.com

 


อ่านเพิ่มเติม : เผยปริศนามัมมี่ฉายา “หญิงที่กรีดร้อง” เสียชีวิตด้วยความเจ็บปวดสุดขีด

Recommend