“การจัดการลุ่มน้ำเสริมพลังให้เมือง ตั้งรับ ปรับตัว”

“การจัดการลุ่มน้ำเสริมพลังให้เมือง ตั้งรับ ปรับตัว”

“การจัดการลุ่มน้ำ เสริมพลังให้เมือง ตั้งรับ ปรับตัว”

อดีตเมืองทุ่งสง เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 250 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2550 เมืองทุ่งสงจึงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดูแลโครงข่ายน้ำเป็นเรื่องสำคัญในการจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และระบบนิเวศของเมืองอย่างจริงจัง โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ร่วมกันบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงลุ่มน้ำและสาขาแม่น้ำตรัง รวมกว่า 30 หน่วยงานในพื้นที่

นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงการตั้งรับ ปรับตัวในการจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง และระบบนิเวศเมือง มุ่งสู่โมเดลการบริหารจัดการแบบบูรณาการ ซึ่งเป็น 1 ประเด็นการเสวนา “เอลนีโญ่ ร้อน แห้ง แล้งหนัก” ในงาน 30 ปี TEI ก้าวไปกับภาคี สู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ว่า เมืองทุ่งสงมีบทเรียนจากอุทกภัยและภัยพิบัติจากน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหายมหาศาล

ครั้งแล้วครั้งเล่ามาเกือบ 20 ปี จึงได้มุ่งทำงานเชิงรุกเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และระบบนิเวศของเมือง เพื่อลดผลกระทบจนเกิดผลสำเร็จในการป้องกันภัยให้เมือง และมีปัจจัยความความสำเร็จในการจัดการน้ำให้เมือง กล่าวคือ เมืองต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด (Paradigm Shif) จากเชิงรับสู่เชิงรุกทั้งระบบในทุกมิติ รวมถึงต้องปรับโครงสร้างเมือง (Urban Innovation for Flood Protection) ให้รองรับกับสภาพนิเวศของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการทำอุโมงค์ร่วมคลองและร่วมถนน ต้องขอถอดโฉนดคืนคลองทำทางเบี่ยงน้ำ พร้อมปรับใช้เครื่องมือแผนผังภูมินิเวศเข้ามาช่วยบริหารจัดการ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ และที่สำคัญต้องสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าสนับสนุนการอนุรักษ์คลองทั้ง 4 สายของเมือง ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการเฝ้าระวังและเตือนภัย การรายงานแบบเรียลไทม์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

และปัจจุบันนี้ เมืองทุ่งสงยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าเพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งการจัดการผังดิน ผังน้ำ ผังชุมชน สู่แผนพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป พร้อมกันนี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าเอลนีโญ่ถือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีผลต่อความเป็นอยู่และเป็นไปของเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยและของโลก ดังนั้น การเสริมสร้างความตระหนัก การตั้งรับ และการปรับตัวให้ประชาชนได้รู้เท่าทันวิกฤติความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดภัยแล้งในอนาคตและเสริมสร้างความตระหนัก การตั้งรับและปรับตัวให้เท่าทันวิกฤติความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

TEI ร่วมสานพลังสังคม จัดการฐานทรัพยากร สู่ความยั่งยืน 30 ปี TEI ก้าวไปกับภาคี สู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ผู้เขียนและผู้เรียบเรียง: วิลาวรรณ น้อยภา ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

Recommend