พวกเขาจะอยู่รอดอย่างไร เมื่อประเทศจีนกำลังพึ่งพาทรัพยากรที่กำลังลดลง

พวกเขาจะอยู่รอดอย่างไร เมื่อประเทศจีนกำลังพึ่งพาทรัพยากรที่กำลังลดลง

เครนที่อยู่เหนือสถานที่ก่อสร้าง ใกล้กำแพงเมืองโบราณต้าถงเป็นทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวทางตอนเหนือของมณฑลชานซี ในช่วงปีที่ผ่านมา ต้าถงพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อให้เมืองมีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการทำเหมืองถ่านหินหรือ ทรัพยากรจีน เพียงอย่างเดียว


เชื้อไฟในการเติบโตของเมืองเหล่านี้คือการทำเมือง การค้าไม้ และอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแหล่ง ทรัพยากรจีน ทว่าเชื้อไฟเหล่านี้กำลังหมดไป

มลรัฐเวสต์เวอร์จิเนียเป็นอย่างไรในสหรัฐอเมริกา มณฑลชานซีของประเทศจีนก็เป็นเช่นนั้น ถ่านหินมากมายที่เสริมพลังให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติต่างๆ ในทวีปเอเชียนั้นถูกขุดขึ้นมาจากหลายเมืองในมณฑลชานซี

แต่การพึ่งพาทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เพียงความเดียวเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ดังนั้น มณฑลนี้จึงสำรวจตัวเลือกทางธุรกิจใหม่ๆ อย่างกระตือรือร้น เช่น ธุรกิจจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการท่องเที่ยว เมื่อปี 2012 กลุ่มธุรกิจเหมืองแร่แห่งต้าถง (Datong Coal Mine Group) ได้เปลี่ยนบ่อเหมืองที่ถูกสูบแร่ไปจนหมดแล้วให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และเชิญผู้คนมาสวมหมวกคนงานเหมืองและรองเท้าบูทเพื่อสำรวจภูมิทัศน์ในเหมืองอันน่าสะพรึงกลัว

มณฑลชานซีที่เคยเริ่มต้นทำเหมืองถ่านหินอย่างตั้งใจ กลับต้องปิดเหมือง 88 แห่งจาก 1,078 แห่ง ตั้งแต่ปี 2016 คนงานเหมืองนับพันคนสูญเสียงานในกระบวนการปิดเหมืองนี้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านที่น่าเจ็บปวดนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่อาจจะแย่มากกว่าเดิมในอนาคต

เมื่อเมืองต้องพึ่งพาแหล่งแร่ท้องถิ่น ป่าไม้ และทรัพยากรที่เริ่มหมดไป ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจมีได้ตั้งแต่ “การมีเศรษฐกิจที่ซบเซาและการอพยพของผู้คนครั้งใหญ่ ไปจนถึงการไม่มีเสถียรภาพในสังคม” เป็ง เจียง หัวหน้าสำนักประจำศูนย์พัฒนาเมืองในประเทศจีนซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองที่อยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาชาติและการปฏิรูปของจีน “สิ่งที่สำคัญที่สุดในเมืองเหล่านี้คือการทำอุตสาหกรรมให้มีความหลากหลาย” เจียงกล่าวเสริม

คำพูดของได้เขาสะท้อนไปยังแผนงานจากสภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ออกมาในปี 2013 อันเป็นแผนงานที่มีระยะเวลา 7 ปี เพื่อที่จะช่วย 262 เมืองที่ถูกระบุว่าต้องพึ่งพาทรัพยากรซึ่งได้กลายมาอยู่ในภาวะวิกฤตที่จะเกิดความขาดแคลนและมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะล่มสลาย โดยภายในเอกสารได้แบ่งเมืองเหล่านั้น ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กำลังเติบโต เติบโตเต็มที่ ถดถอย และเกิดใหม่

เมืองฟูซิน (Fuxin) ในมณฑลเหลียวหนิง เป็นตัวอย่างเมืองที่ถดถอย โดยในปี 2001 สภารัฐกิจของจีนได้ประกาศให้ฟูซินเป็นเมืองที่ “ทรัพยากรหมดสิ้น” เนื่องจากการหมดไปของแร่ในเหมืองถ่านหินท้องถิ่น สภารัฐกิจฯ จึงได้แนะนำผู้นำเมืองให้นำแผนปฏิรูปเศรษฐกิจมาใช้ อย่างไรก็ตาม ราวสองทศวรรษต่อมา เมืองนี้ก็ยังคงดิ้นรนเพื่อหาแหล่งเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผลิตภัณฑ์มวลรวมท้องถิ่นลดลงเกือบทุกปีตั้งแต่ปี 2013 ไปจนถึงปี 2017 สวนทางกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศจีนที่ยังรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้อย่างน้อยร้อยละหก

สำหรับเมืองพึ่งพาทรัพยากรเมืองอื่นๆ ที่พยายามในเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ กำลังเริ่มแสดงผลลัพธ์ไปในทางบวก อย่างเช่นในมณฑลเจียงซี เมืองจิงเตอเจิน (Jingdezhen) ที่มีชื่อเสียงด้านดินเหนียวที่มีคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องลายครามมานับร้อยปี เคยรับใช้ทั้งราชสำนักจีน ตลาดอเมริกา และตลาดยุโรปมาแล้ว แต่ภายหลังจากหนึ่งร้อยปีที่ใช้ดินเหนียวเหล่านี้อย่างบ้าคลั่ง ในเมืองก็เหลือดินเหนียวเพียงหนึ่งล้านตันเท่านั้น ซึ่งร้อยละสองอยู่ในเขตอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะมีการขาดแคลนดินเหนียว เมืองจิงเตอเจินก็ได้ลงทุนกับประวัติศาสตร์ของเมืองเพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์และอุตสาหกรรมการศึกษา ห้องจัดแสดงและฝึกฝนการทำเครื่องลายครามได้แพร่กระจายออกไปและดึงดูดช่างฝีมือผู้มีพรสวรรค์หลายคน

ในปี 2017 หลี่ จุนหุย ช่างภาพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งได้เริ่มต้นบันทึกทั้งความเจ็บปวดและความสำเร็จที่พบเจอทั้งในฟูจิน, จิงเตอเจิน และอีกหกเมืองที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรในแบบเดียวกัน แต่ละเมืองต้องพบเจอความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือชาวเมืองที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับชะตากรรมของเมืองที่มีขึ้นมีลง เขากล่าวและเสริมว่า “พวกเขาเหมือนกับเรือที่ต้องฝ่ากระแสคลื่น”

ทรัพยากรจีน, เครื่องลายครามจัน
กองแจกันเครื่องลายครามถูกทิ้งที่พื้นในโรงงานร้างที่เมืองจิงเตอเจิน ศูนย์กลางประวัติศาสตร์ด้านการผลิตเครื่องลายครามจีน ดินเหนียวคุณภาพดีของเมืองนี้ใกล้จะหมดลง ทำให้เมืองต้องสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย
ทรัพยากรจีน, หอทำความเย็น, โรงไฟฟ้าจีน
มีหอทำความเย็นแค่เพียงหนึ่งในสามที่ยังคงทำงานอยู่ในโรงไฟฟ้าเซียฮวาเหวียน (Xiahuayuan power plant) ในเมืองเจียงเจียโขว (Zhangjiakou) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีถ่านหินอยู่มากมาย
ทรัพยากรจีน, แผงพลังงานแสงอาทิตย์
เมื่อปี 2013 เมืองเจียงเจียโขวชนะการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เมืองได้สร้างแผงพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนในการแข่งขัน
ทรัพยากรจีน, เหลียวหนิง
อาคารที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ด้านข้างแม่น้ำที่กลายเป็นน้ำแข็งในเมืองฟูจินในมณฑลเหลียวหนิง ราคาอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่นได้หยุดนิ่งเนื่องจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง อะพาร์ตเมนต์หลายแห่งที่สร้างเมื่อราวสิบปีที่แล้วยังคงว่างเปล่า
ทรัพยากรจีน, ออดอส, มองโกเลียใน
เมืองออดอสในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังคงมีแหล่งถ่านหินท้องถิ่นอยู่มากมาย แต่ราคาถ่านหินที่ตกต่ำได้ทำให้เมืองอยู่ในภาวะถดถอย โครงการก่อสร้างหลายโครงการได้หยุดไป รวมไปถึงทางด่วนที่สร้างไม่เสร็จอีกด้วย
ทรัพยากรจีน, มณฑลกานซู
ถนนสายหนึ่งพาดผ่านประตูทางเข้าเมืองในบริเวณชานเมืองยูเหมิน (Yumen) มณฑลกานซู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เมืองยูเหมินเป็นเมืองปิโตรเลียมแห่งแรกของประเทศจีน เหล่าคนงานเริ่มขุดเจาะน้ำมันในปี 1939 แต่ตอนนี้บ่อน้ำมันได้เหือดแห้งไปแล้ว ลมที่พัดผ่านในที่แห่งนี้ทำให้เกิดการก่อสร้างฟาร์มกังหันลมในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ทรัพยากรจีน
แสงไฟยังคงส่องสว่างจากโบสถ์คาทอลิกในหมู่บ้านของเขตเซียฮวาเหวียน ซึ่งเหมืองถ่านหินทำให้แผ่นดินทรุดตัว ชาวบ้านจึงต้องอพยพออกจากหมู่บ้าน

อ่านเพิ่มเติม สำรวจหมู่บ้านชาวประมงร้างในจีน

Recommend