ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : พรมแดนสุดท้าย ในสายน้ำโขง

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : พรมแดนสุดท้าย ในสายน้ำโขง

ผลงานเข้ารอบ การประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9

โดย พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์

แนวคิดสารคดี

แม่น้ำโขงมหานทีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไหลคดเคี้ยวจากประเทศจีนทอดยาวผ่าน 6 ประเทศ ดึงดูดเอาความความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์สู่สองฝากผั่งของลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเสมือนพรมแดนสุดท้ายที่หล่อเลี้ยงชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ จาม ที่อพยบมาอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขง พวกเขาได้การดำรงไว้ซึ่งวิถีและวัฒนธรรมตามที่ได้สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่เมื่อแผนพัฒนาเมืองและการใช้ทรัพยากรทั้งในน้ำและด้านภูมิทัศน์ของเมืองที่ดำเนินการอยู่ ปัญหาความขัดแย้งของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและความเจริญได้คุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างต่อเนี่อง

ริมฝั่งแม่น้ำโขงมีเรือที่มีลักษณะคล้ายกันจอดเรียงกันเป็นแถว ระหว่างเรือมีเสาไม้ปักเป็นช่องพอที่จะยึดเรือไม่ให้ไหลไปกับกระแสน้ำเป็นอาณาเขตของเจ้าของเรือในแต่ละลำ ฝั่งตรงข้ามเป็นเมืองขนาดใหญ่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำโขงแห่งนี้
เรือ คือบ้านของชนชาติจาม พวกเขาอาศัยอยู่ในเรือและมีความผูกพันกับสายน้ำอย่างใกล้ชิด สมาชิกใหม่ของครอบครัวเปรียบดังความหวัง ซึ่งเป็นความท้าทายในการยืนหยัดของกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางกระแสนำ้โขงและกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาติจาม มีความคุ้นเคยกับการอาศัยอยู่ในเรือ การปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายได้เป็นวิถีของกลุ่มชาติพันธ์นี้
เศษวัสดุที่พอจะหาได้จากเมือใหญ่สามารถนำมาดัดแปลงกันแดดกันฝน และปกป้องคนในครอบครัวให้ปลอดภัยยามคำ่คืน แต่จะเอาออกในเวลาเช้าเพื่อใช้พื้นที่บนเรือประกอบกิจกรรมการดำรงชีวิตประจำนวันได้สะดวกขึ้น
ด้วยมรดกทางภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้ต้องการประยุกต์ใช้สิ่งของรอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรือที่เป็นบ้านจึงต้องดัดแปลงและออกไปหาปลาเพื่อดำรงชีพ แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งอาหารและรายได้แหล่งใหญ่ที่นำมาหล่อเลี้ยงชีวิตในทุกๆวัน
ความเป็นเมืองใหญ่มีขีดจำกัดทางชนชาติ การบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขย่อมไม่เข้าถึง การเจ็บป่วยจึงเป็นการดูแลตัวเองในเบื้องต้น
การเรียนรู้และการเข้าถึงด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการหาความรู้คือการดูรูปเพียงอย่างเดียวแต่อย่างน้องพวกเค้าก็สามารถที่จะรับรู้สือของโลกภายนอกได้จากรูปภาพจากสิ่งพิมพ์ต่างๆที่หาได้
ตัวเชื่อมของการเดินทางขึ้นสู่ความศิวิไล คือ บันไดทำจากเศษไม้ผูกด้วยเชือกและยางรถเก่าเป็นเส้นทางเดียวที่ให้ทุกคนสามารถขึ้นฝั่งได้ เพื่อออกไปหาสิ่งที่จะนำมาใช้ชีวิตในแบบวิถีใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง
เมื่อแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีพื้นที่ชายตลิ่งริมฝั่งพอได้ให้อาศัย ผ่อนคลาย และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเด็กๆก็มีความสุขกับพื้นที่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีอันมีค่าที่เป็นเอกลักษณ์ พวกเค้ายังคงรักษาและส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดเป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ถึงแม้เวลาจะผ่านมานานแค่ไหน

เจ้าของผลงาน : พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์


อ่านเพิ่มเติม : “สองแคว” เมืองสีสันแห่งสายนํ้า

 

Recommend