“ดอกไม้วิ่งหนีไม่ได้หรอกครับ” เบอร์โรวส์ เขาทำให้ดอกไม้น่าสนใจขึ้นมา และวัตถุที่เขาจะถ่ายต่อไปเป็นภาพทั้งฉาก ไม่ใช่วัตถุเป็นชิ้นๆ อย่างดอกไม้ ถึงแม้ว่าจะทำนายผลลัพธ์ไม่ได้ แต่เขาพบว่าดอกไม้ที่เป็นช่อกระจุกแน่น เช่น เดซี ทานตะวัน มักมีเกสรที่เรืองแสงมากที่สุด
แต่ที่ทำให้เขาประหลาดใจมากที่สุดคือดอกของแตงกวา ซึ่งเรืองแสงสีส้มและน้ำเงินสดใส เบอร์โรวส์เก็บตัวอย่างด้วยการเดินไปทั่วละแวกบ้าน แล้วใช้ไฟพกพาส่องดูก่อนจะเด็ดดอกที่น่าจะถ่ายภาพได้สวยมา
แต่วัตถุธรรมชาติอื่นๆ เช่น หิน แร่ธาตุ ปะการังแข็ง สัตว์กลุ่มที่มีกระดอง เรืองแสงภายใต้แสงอัลตราไวโอเล็ต แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยมากพอที่จะอธิบายถึงหน้าที่ที่แท้จริงของการเรืองแสงดังกล่าว
นักวิจัยคิดว่าความสัมพันธ์กันระหว่างแสงยูวีกับบริเวณที่อับแสงของดอกไม้ อาจใช้เพื่อนำทางสัตว์ที่ช่วยผสมเกสรมา แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ชัดเจน
เบอร์โรวส์เชื่อว่าประโยชน์ที่แท้จริงของภาพถ่ายของเขาคือการจุดประกายความสนใจให้คนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพต่างๆ ที่ทำให้ถ่ายภาพได้
“ภาพที่สะท้อนแสงอัลตราไวโอเล็ตและอินฟราเรดเปิดเผยความลับซึ่งเรามองไม่เห็น แต่มีความสำคัญอยู่ในธรรมชาติ” เบอร์โรวส์กล่าว
“ผมคิดว่ามันสำคัญมากที่สิ่งต่างๆ เช่น ดอกไม้เรืองแสงเหล่านี้เตือนเราให้สำรวจและมองสิ่งต่างๆ ที่เราเคยละเลยหรือไม่เคยสังเกตมาก่อนครับ”
เรื่อง อัสตา สมวิเชียร เคลาเซน
ภาพถ่าย เครก พี เบอร์โรวส์
อ่านเพิ่มเติม