ความงามอันพรั่นพรึงเมื่อสายฟ้าฟาด

ความงามอันพรั่นพรึงเมื่อสายฟ้าฟาด

ความงามอันพรั่นพรึงเมื่อ สายฟ้าฟาด

เมื่อฤดูใบไม้ผลิในสหรัฐฯมาถึง ฟ้าจะส่งเสียงคำรามครืนครั่นด้วยความกราดเกรี้ยว ก่อนจะปลดปล่อยแสงแลบแปลบปลาบพร้อมสายลมที่เริ่มก่อตัวกลายเป็นพายุทอร์นาโด ภาพเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในแถบตอนกลางของประเทศ

แม้ว่าพายุมรสุมฤดูร้อนจะมีพลังทำลายล้างรุนแรง แต่ก็ยังงดงาม อย่างที่เราจะได้เห็นจากภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นพลังของธรรมชาติอันน่าเกรงขามดังต่อไปนี้

สายฟ้าฟาด
นกในทุ่งหญ้าที่ที่ราบเกรตเพลนส์เดินลุยชายน้ำขณะที่พายุเริ่มก่อตัวขึ้นทางด้านหลัง
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
พายุงวงช้าง (landspout tornado) ตัดผ่านทุ่งนา แม้ว่าพายุชนิดนี้จะก่อให้เกิดความเสียหาย แต่พายุงวงช้างที่มีวงกรวยแคบบิดเกลียว ซึ่งก่อตัวใต้เมฆคิวมูลัส (cumulus cloud) มักไม่มีพลังทำลายล้างเท่าใดนัก
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ฟ้าพิโรธส่งเสียงคำรามด้วยความโกรธาเมื่อพายุก่อตัวขึ้นท่ามกลางความมืดมิดของรัตติกาล สหรัฐฯซึ่งมีพายุทอร์เนโดเกิดขึ้นราว 1,000 ครั้งในแต่ละปี เป็นจุดร้อน (hotspot) ของพายุฟ้าคะนองและทวิสเตอร์ (twister – ทอร์นาโดที่พัดพาฝุ่นหรือเศษดินไปด้วย) ที่เกิดตามมา
ภาพถ่าย Bruce Dale, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
รัฐเนบราสกา แคนซัส โอคลาโฮมา เทกซัสตอนเหนือ โคโลราโดตะวันออก และเซาท์ดาโคตาตอนใต้ เป็นที่รู้จักในฐานะ “ตรอกทอร์นาโด” (Tornado Alley) เพราะเป็นสถานที่กำเนิดพายุซึ่งมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุดในโลกบางลูก
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
พายุงวงช้างที่เกิดขึ้นจวบกันตัดผ่านทุ่งนาไปพร้อมๆกัน พายุงวงช้างเป็นพายุที่ไม่ใช่พายุฟ้าคะนองแบบซูเปอร์เซลล์ มีกำลังอ่อนและมักไม่ค่อยก่อให้เกิดความเสียหายเท่าใดนัก
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ฟ้าแลบบนผืนฟ้าสีเทาหม่นขณะที่เมฆฝนเคลื่อนเข้ามาใกล้ องค์ประกอบที่จะทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองคือ ความชื้นใกล้พื้นผิวโลกที่อุ่นปะทะกับอากาศแห้งและเย็นด้านบน
ภาพถ่าย Michael Nichols, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้พายุฝนฟ้าคะนองทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ภาพถ่าย Daniel Almer, 500 PX, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
พายุฝนฟ้าคะนองลูกใหญ่ตกกระหน่ำลงบนฟลินต์ฮิลส์ในเมืองสตรองซิตี รัฐแคนซัส รัฐนี้เป็นหนึ่งในหลายรัฐที่รวมกันแล้วได้ชื่อว่า “หุบเขาทอร์นาโด” (Tornado Valley)
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
สายฟ้าแลบตัดผ่านเมฆยามเย็นเหนือยอดเขาในทะเลทรายเรดของรัฐไวโอมิง
ภาพถ่าย Joel Sartore, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ฟ้าแลบหลายสายปรากฎตัวขึ้นพร้อมกันกลางท้องฟ้ายามราตรี
ภาพถ่าย Joel Sartore, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
อสุนีบาตกลุ่มหนึ่งสว่างวาบขึ้นบนฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าสีม่วงในแซนด์ฮิลส์ เมืองโอกัลลาลา รัฐเนแบรสกา
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ทอร์นาโดระดับเอฟ 4 เคลื่อนที่เข้าหารถตู้ที่ไล่ตามพายุ การจัดระดับพายุที่เรียกว่า เอฟ หรือมาตรวัดฟุจิตะ (Fujita) ใช้ในการวัดความเร็วลม โดยอิงจากระดับความเสียหายอันเกิดจากทอร์เนโด ทอร์นาโดระดับเอฟ 4 ซึ่งมีพลังทำลายร้างรุนแรง อาจมีความเร็วลมตั้งแต่ 333 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึง 418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพถ่าย National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
พายุซูเปอร์เซลล์เข้าถล่มรัฐเซาท์ดาโคตา ทำให้เกิดฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้นดิน (cloud-to-ground bolt) พายุชนิดนี้เป็นพายุอันตราย เพราะมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บ และทอร์นาโด รวมกัน
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
สายฟ้าสายหนึ่งปรากฎตัวแบบฉายเดี่ยวท่ามกลางท้องฟ้าสีทอง
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
เมฆฝนที่เรี่ยลงต่ำก่อตัวขึ้นเหนือแม่น้ำสายหนึ่งทางตะวันตกของออสเตรเลีย
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
กลุ่มเมฆที่หาดูได้ยาก เรียกว่าเมฆ Mother Ship เคลื่อนตัวผ่านด้ามพื้นที่รูปด้ามกระทะเทกซัส (บริเวณผืนแผ่นดินที่ยาวและแคบ) หรือเทกซัสแพนแฮนเดิล
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ฟ้าแลบโผล่พ้นจากกลุ่มเมฆหนา ขณะที่ฝนเริ่มตกอยู่ทางด้านหลัง
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
สายฟ้าฟาด
ชาวนาสองคนหยุดทำงานเพื่อยืนดูพายุฟ้าคะนองที่กำลังก่อตัวขึ้นบนเนินแซนด์ฮิลส์ เมืองโอกัลลาลา รัฐเนแบรสกา ปี 2003
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative

 

อ่านเพิ่มเติม

หยัดยืนขึ้นอีกครั้ง หลังพายุพัดถล่ม

Recommend