เมฆ ที่แต่งแต้มอยู่บนท้องฟ้ามีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ชนิดของเมฆ
น้ำเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในวัฏจักรของน้ำ น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สลับหมุนเวียนกันไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อน้ำบนพื้นผิวโลกระเหยเป็นไอลอยขึ้นสู่อากาศ จับกลุ่มรวมกันเป็นเมฆ แล้วควบแน่นและกลั่นตัวลงมาเป็นหยดน้ำฝน หิมะ หรือลูกเห็บ สู่พื้นโลกอีกครั้ง วัฏจักรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนี้ช่วยให้โลกยังคงมีน้ำหล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิต ชนิดของเมฆ
หากคุณผู้อ่านลองแหงนหน้ามองฟ้าจะพบว่าเมฆไม่เคยมีรูปร่างเหมือนกัน หรือแม้จะเป็นเมฆก้อนเดียวกันก็ตาม แต่ต่างคนต่างมองก็จินตนาการต่างกัน นั่นคือเสน่ห์ของมวลเมฆ
เมฆสามารถแบ่งออกเป็น 10 สกุลหลักด้วยกัน ตามรูปร่างและความสูงที่เกิด เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย ได้จัดทำอินโฟกราฟฟิกเมฆ 10 สกุล โดยได้รับความกรุณาจาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ ช่วยตรวจทานและให้คำแนะนำ
Level1
-
สเตรตัส (Stratus) เมฆที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ลอยแนวนอนคล้ายหมอก แต่ไม่ติดพื้น
-
คิวมูลัส (Cumulus) มีลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว ก่อตัวในแนวตั้ง อาจมีขนาดเล็ก หรือมียอดเมฆสูงถึงชั้นกลาง
-
สเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus) เป็นก้อนเมฆย่อยสีเทาหรือขาว มักอยู่ติดกันเป็นแพ มักพบเมฆสเตรโตคิวมูลัสในวันที่มีเมฆมาก เมฆชนิดนี้ก่อตัวขึ้นเนื่องจากในชั้นบรรยากาศมีการพาความร้อนต่ำ
Level2
-
แอลโตคิวมูลัส (Altocumulus) เมฆก้อนสีเทาหรือขาว เมื่ออยู่รวมกันดูคล้ายฝูงแกะ ลอนคลื่น หรือติดกันเป็นแผ่นหนา
-
นิมโบสเตรตัส (Nimbostratus) ลักษณะเป็นแผ่นสีเทา ตัวเมฆอยู่ชั้นกลางแต่ฐานอยู่ชั้นต่ำ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง
-
แอลโตสเตรตัส (Altostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนา และปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง ปกติจะมีสีเทาเพราะบดบังแสงอาทิตย์
Level3
-
ซีร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus) เป็นเมฆสีขาว จับตัวเป็นก้อน มองดูคล้ายลักษณะลอนคลื่น หรือบางครั้งเป็นริ้ว
-
ซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) เป็นเมฆแผ่นสีขาว ปกคลุมท้องฟ้า ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด
-
ซีร์รัส (Cirrus) มีลักษณะเป็นปุยสีขาว หรือเป็นเส้นคล้ายขนนก
-
คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ก้อนเมฆขนาดใหญ่มาก สัมพันธ์กับพายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และสภาพอากาศรุนแรง