นวัตกรรมดิจิทัลสุดล้ำจาก SCG พลิกคุณภาพชีวิตในอนาคต

นวัตกรรมดิจิทัลสุดล้ำจาก SCG พลิกคุณภาพชีวิตในอนาคต

[PARTNER CONTENT]

ไม่ใช่เพียงธุรกิจซีเมนต์และเทคโนโลยีก่อสร้าง แต่ SCG เปิดตัวในฐานะบริษัทนวัตกรรมแห่งอนาคต ในงาน Techsauce Global Summit 2022

ก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึงชื่อ “เอสซีจี” (SCG) หลายคนน่าจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมานานกว่า 100 ปี แต่เอสซีจีไม่ได้หยุดอยู่เท่านั้น แต่ยังพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตอีกมากมาย ล่าสุดเอสซีจีได้กระโจนเข้าสู่วงการเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมอนาคตได้

ในงาน “Techsauce Global Summit 2022” ซึ่งเป็นงานด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ระดับเอเชียเมื่อไม่นานนี้ พร้อมนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้ำ ตอบโจทย์ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่จะยกระดับสุขภาพ คุณภาพชีวิต และอนาคต (Better Health, Better Living, Better Future) ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Digital Economy ภายใต้แนวคิด “To Get There, Together” หวังผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคการศึกษา

SCG ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ “5 ปี กับเส้นทางการทำ Venture Building ของ SCG”

ซึ่งทางทีมผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากเอสซีจี ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคฯ จากทั่วโลก ในหลากหลายหัวข้อ อาทิ “หัวใจแห่งการขับเคลื่อนนวัตกรรมและ ESG ให้เกิดขึ้นจริง” “5 ปี กับเส้นทางการทำ Venture Building ของ SCG” และ “การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง”

“ประเทศไทยแก่แล้ว ประชากรจะน้อยลงเรื่อย ๆ เราจะต้องใช้สมองแทนถึงจะสู้เขาได้ นี่ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เรียกว่า New Economy” คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด หน่วยงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ภายใต้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของเอสซีจี กล่าวถึงวิสัยทัศน์การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย

3 นวัตกรรมเด่นจากเอสซีจี

เอสซีจีได้นำนวัตกรรมหลากหลายมาโชว์ในบูธ อาทิ “Drone in the Box” ระบบโดรนอัจฉริยะไร้คนขับ “Brain-computer Interface” การสั่งงานอุปกรณ์ IoT ด้วยคลื่นสมอง “Mixed Reality” เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ผสมผสานระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน “Trinity IoT Ecosystem” แพลตฟอร์ม IoT อัจฉริยะช่วยต่อยอดทางธุรกิจได้หลากหลาย “Smart Mobility” มิติใหม่ในการเดินทางผ่านเทคโนโลยีอัจฉริยะ “DEE Box” นวัตกรรมตู้กำจัดเชื้อขนาดใหญ่ ด้วยแสง UVC เร็วที่สุดใน 3 วินาที “SCG Active AIRflowTM System” นวัตกรรมถ่ายเทอากาศอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT และ “DoCare” ชุดติดตามสุขภาพทางไกล ด้วยเทคโนโลยี Smart IoT Sensors 

และ 3 นวัตกรรมของเอสซีจีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในงาน คือ Drone in the Box, Brain Computer Interface และ Mixed Reality ซึ่งมีความล้ำสมัยและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานแตกต่างกันไป 

Drone in the box

Drone in the Box ระบบโดรนอัจฉริยะไร้คนขับ ที่บินกลับมาชาร์ตแบตฯ และกลับไปปฎิบัติภารกิจต่อได้เอง

Drone in the Box ระบบโดรนอัจฉริยะไร้คนขับที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานให้กับโรงงาน ปกติแล้ว โดรนทั่วไปจะควบคุมและสั่งการโดยคนที่เรียกว่า “pilot” แต่ Drone in the Box ทำงานโดยอัตโนมัติ 100% โดยฐานโดรนซึ่งมีรูปลักษณ์เป็นกล่องทึบจะทำหน้าที่กำหนดให้บินขึ้นหรือลงจอดตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น บินสำรวจความเรียบร้อยภายในโรงงานหรือพื้นที่ที่กำหนด และสังเกตความผิดปกติที่พื้นที่บางจุด เป็นต้น

drone in the box

QR Code บนกล่อง ของ Drone in the Box ทำให้โดรนบินกลับมายังตำแหน่งที่กล่องตั้งอยู่ได้ ภายในกล่องมีอุปกรณ์เปลี่ยนแบตฯ อัตโนมัติ และทำการชาร์จแบตฯ เตรียมไว้สำหรับการบินครั้งต่อไป

แต่ด้วยข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่ โดรนจึงทำงานได้ราว 30 นาทีต่อแบตเตอรี่ 1 ก้อน นักนวัตกรรมจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการออกแบบให้โดรนสามารถบินกลับมาหากล่องเพื่อเปลี่ยนแบตฯ ก้อนใหม่ได้เอง เมื่อแบตเตอรี่เดิมใกล้หมด โดยในกล่องจะมีเครื่องเปลี่ยนแบตฯ อัตโนมัติ เมื่อเปลี่ยนแบตฯ เสร็จแล้วก็จะขึ้นบินสำรวจได้อีกรอบ ไม่ต้องรอเวลาชาร์จ จึงช่วยตอบโจทย์หรือลดปัญหาเรื่องแบตเตอรี่และได้ชาร์จแบตฯ ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน งานนี้นอกจากจะได้เห็นแบบจำลองของการติดตั้งในโรงงานแล้ว เรายังได้เห็น Drone in the Box ตัวจริงกับกล่องชาร์จจริงทั้งที่บูธ รวมถึงการบินสาธิตที่ลานด้านนอกด้วย

 

Mixed Reality

Brain-computer Interface (BCI) อุปกรณ์สวมศีรษะอัจฉริยะ ที่สั่งการได้ด้วยคลื่นสมอง

นวัตกรรมต่อมาที่น่าสนใจ และล้ำสมัยราวกับอยู่ในโลกอนาคตคือ Brain-computer Interface (BCI) การสั่งงานอุปกรณ์ IoT ด้วยคลื่นสมองผ่านอุปกรณ์สวมกับศีรษะ ซึ่งช่วยให้กลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น ด้วยหลักการใช้คลื่นสมองส่งสัญญาณต่อไปที่ตัวกลางคือระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะแปลสิ่งที่ผู้ใช้กำลังคิดหรือต้องการออกมาบนหน้าจอ เมื่อฝึกการใช้งานร่วมกับ AI ก็จะสามารถเลือกคำสั่งสื่อสารได้ เป็นการตอบโจทย์เทรนด์ด้านการใช้ชีวิตและสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่ายังมีศักยภาพในการพัฒนาต่อได้อีกมากในอนาคต

 

สัมผัสประสบการณ์ผสานความจริงและความจริงเสมือน Mixed Reality

ตอนนี้เรามี Virtual Reality แล้ว เอสซีจีได้พัฒนาโลกเสมือนไปอีกระดับด้วย Mixed Reality เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ผสมผสานระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน ที่ผ่านมาเราอาจรู้จักเพียงเทคโนโลยี AR (Augmented Reality – ความเป็นจริงเสริม) และ VR (Virtual Reality – ความเป็นจริงเสมือน) แต่ Mixed Reality เป็นการผสมผสานจุดแข็งของทั้งสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นทั้งโลกจริงและโลกเสมือนในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับการฝึกฝนทักษะที่ยากต่อการปฎิบัติหรือมีความอันตราย เช่น นักบินหรือนักดับเพลิง เพื่อทดสอบวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์จำลองพร้อมกับสร้าง muscle memory ผ่านการใช้อุปกรณ์จริงร่วมด้วย ข้อดีของเทคโนโลยี Mixed Reality คือ การฝึกฝนต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง, ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย, ลดความเสี่ยงและเวลาในการฝึก รวมถึงแก้ปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่จำกัดได้ด้วย

 

To Get There, Together

นอกจาก คุณอภิรัตน์ จะขึ้นเป็น Keynote Speaker แบ่งปันวิสัยทัศน์ของการก้าวสู่อนาคตไปด้วยกันบนเวทีเสวนาแล้ว ยังเล่าให้เราฟังถึงแนวคิดการพัฒนาด้านดิจิทัลว่า เอสซีจีตั้งเป้าหมายในการเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจใหม่หรือเศรษฐกิจยุคดิจิทัลของไทย ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะทำให้การใช้ชีวิตในอนาคตดีขึ้นทุกด้าน โดยเฉพาะการอยู่อาศัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นมากมายจากองค์กรและสตาร์ทอัพ ควรมีการเชื่อมโยงกันเป็น Ecosystem ซึ่งจะทำให้การพัฒนานวัตกรรมยิ่งก้าวหน้า ด้วยผู้คนที่มีความสามารถจากหลากหลายสาขาและทุกช่วงวัยต่อยอดซึ่งกันและกันเป็นเครือข่ายที่จะได้ประโยชน์ทั้งต่อพาร์ทเนอร์ธุรกิจและสังคม 

“ปัจจุบัน สังคมไทยในยุคดิจิทัลนี้กำลังดำเนินเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย คาดว่าภายในปี 2573 อายุเฉลี่ยของคนไทยจะอยู่ที่ 45-49 ปี คนจะแก่ตัวช้าลงและจะทำงานยาวนานขึ้น ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะผสานเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน ราคาถูกลงและใช้งานง่ายสะดวกมากขึ้น”

เขาเสริมว่า จำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของตลาด จะสอดคล้องกันมูลค่าทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับไอเดีย นวัตกรรม และเทคโนโลยี คาดว่าภายในปี 2565 มูลค่าตลาดดิจิทัลไทยจะแตะถึงราว 3.28 แสนล้านบาท โดยหมวดหมู่ที่มูลค่าสูงที่สุด คือ Hardware (HW) & Smart Device โดยเฉพาะช่วงหลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19

“การทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นเรื่องจำเป็นต่อองค์กร อีกทั้งมีศักยภาพในการสร้างมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ภาครัฐระดับประเทศและภาคธุรกิจต้องมองการณ์ไกลมากขึ้น เพื่อจะไปถึงที่นั่น (There) คืออนาคตที่ดีขึ้นด้วยกัน” คุณอภิรัตน์ทิ้งท้าย


อ่านเพิ่มเติม เปิดแนวคิดนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ สู่อนาคตที่ยั่งยืน

Recommend