ฟาร์มปลาในร่มสูงแปดชั้นของสิงคโปร์

ฟาร์มปลาในร่มสูงแปดชั้นของสิงคโปร์

ฟาร์มปลา ในอาคารสูง 8 ชั้นในสิงคโปร์ จะกลายเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลเพื่อคนท้องถิ่น

ฟาร์มปลา หรือระบบเลี้ยงปลาในอาคารเป็นความพยายามที่จะเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะเล็กๆ

ในเร็วๆ นี้ ที่ประเทศสิงคโปร์ บริษัทอะพอลโลอะควาคัลเจอร์กรุ๊ป กำลังจะเปิดดำเนินการฟาร์มปลาแนวตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ฟาร์มแห่งนี้จะมีความสูงแปดชั้น ตัวแทนของบรษัทกล่าวว่า ความแตกต่างไม่ใช่แค่การก่อสร้างฟาร์มในแนวตั้งเท่านั้น ฟาร์มของพวกเขายังแตกต่างจากคู่แข่งในด้านของเทคโนโลยีอีกด้วย

เทคโนโลยีขั้นสูงของฟาร์มแนวตั้งแห่งนี้สามารถเพาะเลี้ยงและสร้างผลผลิตได้ทั้งปลาเก๋าพันธุ์ผสม ปลาเทราต์ และกุ้ง ได้ถึง 3,000 ตันต่อปี เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงของปลาหนึ่งตัวกับปริมาณน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยง ที่นี่มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟาร์มสัตว์น้ำอื่นๆ ในประเทศอาเซียนถึง 6 เท่า โครโน ลี สื่อสารองค์กรของบริษัทอะพอลโลฯ กล่าว

ฟาร์มปลา. เลี้ยงปลา, ประมง, สิงคโปร์, ฟาร์มเลี้ยงปลา, ปลาทะเล
(ซ้าย) บ่อเลี้ยงแบบดั้งเดิม (ขวา) บ่อเลี้ยงปลาที่ติดตั้งอยู่บนอาคารในร่ม

ในการดำเนินการดังกล่าว บริษัทหวังที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักในแผนการความพยายามเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารของประเทศเกาะเล็ก ๆ ซึ่งปัจจุบันนำเข้าอาหารจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 90

ตามที่ Ethan Chong Yih Tng วิศวกรของสถาบันเทคโนโลยีแห่งสิงคโปร์ ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท กว่าว่า การทำฟาร์มเลี้ยงปลาแบบแนวตั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มสำคัญที่สิงคโปร์กำลังมองหา เพื่อบรรลุนโยบาย “30 คูณ 30” ที่พยายามตั้งเป้าหมายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยผลิตอาหารในประเทศให้ได้ร้อยละ 30 ของความต้องการโภชนาการของประชากรภายในปี 2030

อะพอลโลฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการทำธุรกิจในสิงคโปร์ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา อะพอลโลดำเนินกิจการเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม โดยมีฟาร์มกว่า 300 แห่งกระจายอยู่ทั่วสิงคโปร์ แต่เมื่อ Eric Ng เข้ามาดูแลธุรกิจของครอบครัวในปี 2009 เขาก็สามารถขยายการผลิตไปสู่การผลิตปลาทะเลได้อย่างรวดเร็ว โดยหยิบยืมวิธีการจากการดำเนินงานในเยอรมนี ญี่ปุ่น และอิสราเอล ลีกล่าวและเสริมว่า จนเกิดเป็นฟาร์มขนาดสามชั้นชื่อ Lim Chu Kang ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมืองของสิงคโปร์ สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งนี้เปิดดำเนินการมาเกือบทศวรรษแล้ว

เครื่องปั๊มน้ำที่สร้างระบบหมุนเวียนน้ำ เพื่อลดการเปลี่ยนน้ำ และลดน้ำเสียที่เกิดจากระบบเพาะเลี้ยง

แต่ละชั้นใน Lim Chu Kang ประกอบด้วยบ่อเลี้ยงขนาด 135 ตารางเมตรสองถังที่บรรจุน้ำทะเล และติดตั้งระบบกรองน้ำ ระบบตรวจสอบและหมุนเวียนน้ำผ่านฟาร์ม ซึ่งส่งผลให้ฟาร์มเปลี่ยนน้ำใหม่เพียงร้อยละ 5 เมื่อน้ำปนเปื้อนปฏิกูลจากปลา ลีกล่าวว่า เป้าหมายของฟาร์มคือการลดปริมาณน้ำเสียให้เป็นศูนย์ โดยใช้พืชน้ำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งหลักการนี้ตรงข้ามกับระบบฟาร์มปลาบนบกแบบดั้งเดิมจำนวนมากของสิงคโปร์ ที่เกษตรกรทำความสะอาด และเปลี่ยนน้ำในบ่อเลี้ยงทั้งหมด เป็นประจำ

ในช่วงเกือบ 10 ปีของการดำเนินงานฟาร์ม Lim Chu Kang ซึ่งผลิตปลาได้มากถึง 200 ตันต่อปี บริษัทได้สร้างชุดข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธีเพิ่มผลผลิต ลีกล่าวว่าข้อมูลของพวกเขาจะนำไปใช้กับโรงงานแห่งใหม่ที่ใหญ่ขึ้น

“เราเข้าใจถึงปริมาณน้ำที่ต้องการ สภาพของน้ำ และปริมาณอาหารที่วัดได้เป็นกรัมต่อน้ำหนึ่งลูกบาศก์เมตร ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถผลิตปลาได้ในระยะเวลาสั้นกว่า และได้ขนาดปลาที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด” ลีกล่าว

การตัดสินใจสร้างระบบนี้ขึ้นมาเป็นการตอบสนองต่อเรื่องข้อจำกัดในพื้นที่ของสิงคโปร์ “เราเป็นประเทศเล็ก ๆ และเป็นเรื่องยากมากที่จะรักษาดินแดนให้ปลอดภัย” ลีกล่าวและเสริมว่า “ ดังนั้น แทนที่จะสร้างให้ตึกขยายในแนวนอน ทำไมเราไม่ขยายขึ้นไปในแนวตั้ง”

อย่างไรก็ตาม ฟาร์มเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไม่ได้เป็นเพียงแนวทางเดียวที่สิงคโปร์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย 30 คูณ 30 ตัวอย่างเช่น ในช่วงปลายปี 2019 ฟาร์มปลานอกชายฝั่งได้เปิดให้บริการห่างจากท่าเรือเฟอร์รี่ชางงีพอยต์ของสิงคโปร์ประมาณ 5 กิโลเมตร การใช้ระบบบ่อเลี้ยงแบบปิดทำให้สามารถผลิตปลากระพงขาว ปลากะพงแดง และปลาเก๋า ได้ประมาณ 166 ตันต่อปีด้วยบ่อเลี้ยงจำนวน 4 บ่อ ระบบจะ “แยกปลาออกจากน้ำทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคุณภาพของน้ำเริ่มไม่เหมาะสม” Yih Tng กล่าว ระบบที่มีอยู่ช่วยให้สามารถควบคุมฟาร์มแนวตั้งของ Apollo ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายบนที่ดินที่มีราคาแพง หรือช่วยประหยัดค่าไฟ

แม้ว่าลีจะยืนยันว่าฟาร์มแปดชั้นแห่งใหม่ของ Apollo จะสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับฟาร์มเลี้ยงปลาแบบดั้งเดิมได้ แต่ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงยังคงเป็นหนึ่งในเหตุผลหลัก ที่ฟาร์มเลี้ยงปลาแบบปิดในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ยังคงมีจำนวนจำกัด

ในสหรัฐอเมริกาฟาร์มส่วนใหญ่ที่เป็นตัวแทนของ Recirculating Farms Coalition ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง และมีขนาดเล็กกว่าการดำเนินงานของสิงคโปร์มาก Marianne Cufone ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารกล่าวว่า “นั่นหมายความว่าเราพึ่งพาเครื่องมือตรวจวัดต่างๆ เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ”

บ่อเลี้ยงปลาที่อยู่ภายในอาคาร

“ระบบขนาดใหญ่จำนวนละเลยระบบ [หมุนเวียน] ตามธรรมชาติ เนื่องจากใช้พลังงานจำนวนมากในการทำความเย็น การให้ความร้อนและ สำหรับปั๊มน้ำ นั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านี้มีมากกว่าประโยชน์ แต่ระบบที่มีขนาดเล็กและได้รับการออกแบบมาอย่างดี สามารถใช้ทรัพยากรลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับระบบที่มีขนาดใหญ่กว่าบางระบบ” เธอกล่าว

ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นของโรงงานขนาดใหญ่จะเปลี่ยนเป็นราคาของผลิตภัณฑ์ เนื้อปลาเก๋าพันธุ์ผสมพร้อมปรุงขนาด 150 กรัมของ Apollo จะมีราคาขายที่ประมาณ 12 ดอลลาร์สหรัฐ (372 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาปลาเก๋าแดงแช่แข็งประมาณสองเท่า ซึ่งวางจำหน่ายอยู่ในร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์

ฟาร์มปลา. เลี้ยงปลา, ประมง, สิงคโปร์, ฟาร์มเลี้ยงปลา, ปลาทะเล
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลชนิดต่างๆ ของบริษัทอะพอลโลฯ / ภาพประกอบ Apollo aquaculture Group

อย่างไรก็ตาม Cufone กล่าวเพิ่มเติมว่า ฟาร์มเลี้ยงปลาแบบระบบปิดขนาดใหญ่กำลังเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอเมริกาเหนือและทั่วโลก มีเพียงไม่กี่แห่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วกว่าสิงคโปร์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอีกเรื่องหนึ่งที่รุนแรงกว่าการระบาดของโรคโควิด-19

“การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความตระหนักเรื่องความไม่มั่นคงด้านอาหารให้กับชาวสิงคโปร์อย่างมาก และตอนนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางความคิดที่นำไปสู่การสร้างผลผลิตในท้องถิ่น” ลีกล่าว การเปลี่ยนแปลงที่อะพอลโลวางแผนที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

สืนค้นและเรียบเรียง ณภัทรดนัย


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : วิถีหลอมรวมเชื้อชาติ ศาสนา และพหุวัฒนธรรมอันน่าอัศจรรย์ในสิงคโปร์

สิงคโปร์, พหุวัฒนธรรม, ศาลเจ้าแม่กวนอิม, เจ้าแม่กวนอิม

Recommend