เที่ยวแม่แจ่มในมุมมองใหม่ที่ไม่ได้มีเพียงนาขั้นบันได

เที่ยวแม่แจ่มในมุมมองใหม่ที่ไม่ได้มีเพียงนาขั้นบันได

“ได้เจอกันสักทีนะ… แม่แจ่ม”

บรรยากาศในช่วงปลายเดือนกันยายน ยังคงมีสายฝนโปรยปรายลงมา ทำให้อากาศเย็นสบายกำลังดี ไม่รู้ว่าช้าไปไหม แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางมา เที่ยวแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กับคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ หัวเรือใหญ่ National Geographic ฉบับภาษาไทยโดยได้รับคำเชิญจากผู้ใหญ่ใจดี ชวนมาดูและมาสำรวจว่าจะช่วยชาวบ้านต่อยอดสินค้าเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวได้อย่างไร

จากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงแม่แจ่มใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงครึ่ง แต่บรรยากาศตลอดสองข้างทางสวยงามเกินพรรณนาจริงๆ ทำเอาลืมเวลาไปเลย

ผมมักรู้สึกตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้ไปยังดินแดนที่ไม่รู้จัก การเดินทางมา เที่ยวแม่แจ่ม ในครั้งนี้ก็มาอย่างคนที่ไม่รู้จักแม่แจ่มแบบลึกซึ้ง รู้แค่ว่าใครๆ ก็ต้องมาดูนาขั้นบันไดสวยๆ ของที่นี่กันทั้งนั้น จนกระทั่งได้ฟังคำแนะนำจากคนท้องถิ่นว่าให้ลองไปเที่ยว “หมู่บ้านห้วยบง” ดูสิ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่นำช้างคืนถิ่น แม้จะสงสัยว่าทำไมช้างต้องคืนถิ่น แต่ออกปากแนะนำมาแบบนี้ ลองไปดูสักตั้งจะเป็นไร

แต่ก่อนจะไปหมู่บ้านห้วยบง ผมขอซึมซับบรรยากาศในตัวอำเภอแม่แจ่มสักคืน ซึ่งในอำเภอเล็กๆแห่งนี้ก็มีที่พักให้เลือกอยู่หลายแห่ง มีร้านอาหารและคาเฟ่น่ารักๆด้วย ผมแวะที่ PEMA CAFÉ ได้เจอชาวบ้านที่อัธยาศัยดีมาก อาหารอร่อยถูกปาก จะว่าไปก็ให้อารมณ์น่ารักๆเหมือนชนบทในประเทศญี่ปุ่นเลยนะ ผมเองก็เลือกที่จะออกมาวิ่งออกกำลังกายและเดินเล่นชมวิวกันสักหน่อย หากใครมีเวลาอยากแนะนำให้ลองทำดูนะครับ มันทำให้คุณได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นได้จริงๆ

PEMA CAFE ร้านกาแฟเล็กๆกับบรรยากาศที่ร่มรื่นเย็นสบาย

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

รุ่งเช้าผมแวะไปชมโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นอีกไฮไลต์หนึ่งที่ชาวอำเภอแม่แจ่มอยากให้คนทั่วไปได้รู้จัก โครงการไผ่นี้อยู่ในโครงการแม่แจ่มโมเดลพลัส เป็นโครงการที่มุ่งสร้างความยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่แจ่มให้กับชุมชน ในรูปแบบการปลูกไม้สร้างรายได้เพื่อให้ตอบโจทย์สร้างอาชีพของเกษตรกรที่หาทางเลือกใหม่ ออกไปจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่นข้าวโพด และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งปัญหาหมอกควันจากไฟป่า การบุกรุกที่ดิน หนี้สิน  เนื่องจากไผ่เป็นพืชระยะสั้น ใช้เวลาปลูกแค่ 3 -5 ปี ดูแลง่าย ใช้น้ำน้อย เป็นพืชที่สร้างออกซิเจนได้มากกว่าไม้ใหญ่ชนิดอื่นๆ และสร้างรายได้ที่ดีให้เกษตรกร ที่โรงงานนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวไผ่ในชุมชน และมีสินค้าจากผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ให้ซื้อติดไม้ติดมือกลับไปเป็นที่ระลึกถึงแม่แจ่มกันด้วย

เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
แปลงปลูกไผ่ที่กำลังเริ่มต้น ใกล้กันเป็นไร่ข้าวโพด ที่ชาวบ้านหวังว่าวันหนึ่งจะหายไป
เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
ผลผลิตที่ได้จากไผ่ที่ปลูกในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม

ออกจากโรงงานไม้ไผ่แล้ว ผมก็มุ่งหน้าไปยังเส้นทางที่จะไปขุนยวม ใช้เวลาเดินทางชั่วโมงเศษๆ ก็ถึงหมู่บ้านห้วยบง ซึ่งเป็นหมู่บ้านของคนเลี้ยงช้าง ชาวบ้านนิยมนำช้างไปทำมาหากินตามปางช้างต่างๆในเชียงใหม่ แต่พอเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว ปางช้างหลายแห่งต้องปิดตัวไป แต่ช้างก็ต้องกิน คนก็ต้องใช้ สุดท้ายชาวบ้านจึงรวมตัวกันพาช้างกลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้เตรียมความพร้อม และประสบปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติประกอบไปด้วยสารเคมีที่เกิดจากการทำไร่ข้าวโพด ทำให้ช้างไม่สามารถดื่มน้ำจากแหล่งน้ำได้ ต้องขุดร่องดินเพื่อรองรับน้ำฝน ซึ่งหากไม่มีน้ำฝน ช้างก็ไม่สามารถดื่มน้ำได้ อีกทั้งชุมชนยังขาดแหล่งอาหารของช้าง ชุมชนคนเลี้ยงช้างบ้านห้วยบงจึงเกิดการรวมตัวกันเพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยการคิดริเริ่มที่จัดทำระบบปะปาภูเขา ปลูกหญ้าให้ช้างและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคต ได้เกิดเป็นโครงการช้างคืนถิ่น ซึ่งมีคุณสดุดี เสรีชีวี เป็นผู้นำในการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้หมู่บ้านห้วยบงเป็นศูนย์กลางการดูแลช้างและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องธุรกิจท่องเที่ยวแบบใหม่ นั่นคือให้ชาวบ้านทุกคนทำมาหากินกันที่หมู่บ้านนี่แหละไม่ต้องออกไปไหน เพราะที่หมู่บ้านห้วยบงมีวิวธรรมชาติสวยๆ อากาศบริสุทธิ์ มีลำธารไหลผ่าน และมีเส้นทางเดินป่าระยะใกล้ๆ ไว้สำหรับผู้สนใจกิจกรรมแนวผจญภัย ใครอยากกลางเต็นท์ตรงไหน ขอเพียงแค่บอกมา ชาวบ้านจะดูแลอำนวยความสะดวกให้ หรือถ้าไม่ถนัดนอนเต็นท์ จะนอนที่โฮมสเตย์ของชาวบ้านก็ได้ มีการเตรียมอาหารการกินไว้พร้อมสรรพ

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
แม่น้ำแม่หยอด
เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
บริเวณจุดกางเต็นท์ในหมู่บ้านห้วยบง
เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
ภาพร่างโดยคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ จากการเยี่ยมชมโรงงานไผ่ ได้เห็นไอเดียชาวบ้านในการใช้ไผ่ นำมาทำแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

กิจกรรมหลักๆที่หมู่บ้านห้วยบงก็จะมีการเลี้ยงช้าง โดยสอนให้รู้จักและเรียนรู้นิสัยของช้างมากกว่าที่ตาเห็น สอนการอาบน้ำให้ช้าง แต่ที่ผมชอบที่สุดคือการสอนหนังสือให้ชาวบ้าน เช่น สอนภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเราก็เรียนภาษากะเหรี่ยงจากชาวบ้าน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกัน หรือใครชอบวาดรูปก็สอนเด็กๆในหมู่บ้านได้นะครับ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่คุณสดุดีเลย ซึ่งผมจะบอกรายละเอียดไว้ในตอนท้าย

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
คนเลี้ยงช้างชาวปกาเกอะญอ กำลังแบกหญ้าไปให้ช้างกิน ซึ่งช้างแต่ละเชือกกินอย่างน้อยวันละ 250 กิโลกรัม

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน

เที่ยวแม่แจ่ม, เชียงใหม่, ปางช้าง, เที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวชุมชน
ในอนาคตบ้านหลังนี้จะเป็นสถานีอนามัยของชุมชน

ตลอดสองข้างทางระหว่างไปหมู่บ้านห้วยบงเป็นเส้นทางที่สวยมาก แต่ก็อันตรายเช่นกัน เพราะเป็นเส้นทางที่คดเคี้ยวมาก ต้องใช้ความชำนาญในการขับรถยนต์มากทีเดียว แต่เชื่อเถอะว่ามาที่นี่แล้วคุณจะสนุก และมีความสุขแน่นอน ภายใต้การเดินทางที่ผมไม่ได้คาดหวังอะไร แต่ทริปนี้ก็สร้างความอิ่มใจให้ผมได้จริงๆ

“ครั้งหน้าเจอกันอีกนะ…แม่แจ่มที่รัก”

แผนที่ที่ชาวบ้านวาดไว้ เราขอเอามาปรับใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

รายละเอียดกิจกรรม 

1. เรียนรู้นิสัยของช้าง ด้วยการอาบน้ำ ปลูกหญ้าและตัดหญ้าให้ช้าง
2. เรียนรู้เรื่องสมุนไพรสำหรับช้างและคน พร้อมด้วยการเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ
3. เรียนรู้การประกอบอาหารพื้นบ้านของชาวปกาเกอะญอ
4. เรียนรู้การตำข้าวแบบวิถีชาวบ้าน (ข้าวกล้อง)
5. แลกเปลี่ยนภาษา เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการเลี้ยงช้างของชาวปกาเกอะญอ โดยจะมีผู้เฒ่าของหมู่บ้านมาเล่าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของคนกะเหรี่ยงกับช้าง
6. ล่องแพไม้ไผ่
7. กิจกรรมกลางแจ้งรอบกองไฟกับวิวธรรมชาติที่สวยจนลืมไม่ลง
8. พักกับชาวบ้าน มีบริการอาหารพร้อม

ทุกกิจกรรมจะเริ่มต้น เวลา 9.00 น. – 16.00 น.
รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
ติดต่อได้ที่ คุณสดุดี เสรีชีวี โทรศัพท์ 09-7349-8837


เรื่องและภาพ : ไตรรัตน์ ทรงเผ่า

 

Recommend