ฟรีไดฟ์ ที่ ไต้หวัน แดนสวรรค์แห่งใหม่ของคนรักการ ดำน้ำ

ฟรีไดฟ์ ที่ ไต้หวัน แดนสวรรค์แห่งใหม่ของคนรักการ ดำน้ำ

การดำน้ำแบบ ฟรีไดฟ์ ศิลปะการดำน้ำโดยการหายใจเพียงครั้งเดียว คือในหนึ่งกีฬาที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก นี่คือเรื่องราวของเกาะที่ผู้คนไม่รู้แม้กระทั่งวิธีการว่ายน้ำให้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมของการดำน้ำ

ภายใต้พายุทอร์นาโดแห่งฝูงปลาซาร์ดีนสีเงิน ครูสอนดำน้ำลึก (freediving) เมี่ย โฮว แหวกว่ายผ่านน้ำทะเลโดยรอบเมือง Kenting Chuanfanshih ซึ่งอยู่ใต้สุดในไต้หวัน เธอเป็นหนึ่งในนักดำน้ำลึกแบบ ฟรีไดฟ์ ในไต้หวันที่เข้าร่วมหนึ่งในกิจกรรมกีฬาทางน้ำที่กำลังเติบโตเร็วที่สุดในโลก

การดำน้ำลึกแบบ ฟรีไดฟ์ เป็นการดำน้ำที่ใช้การหายใจเพียงครั้งเดียว บางครั้งสามารถดำน้ำลงไปลึกได้เกือบร้อยเมตร ชาวประมงที่ใช้หอกและนักดำน้ำเก็บของทะเลอย่าง อามะ ในญี่ปุ่น หรือ แฮ-นยอ ในเกาหลีนั้นดำน้ำลึกมานานหลายศตวรรษ แต่การเพิ่มขึ้นของนักดำน้ำทั่วโลกในปัจจุบันมีที่มาจากการดำน้ำเพื่อความสนุกและแข่งขันเป็นกีฬา ตามข้อมูลของ สมาคมวิชาชีพครูสอนดำน้ำ (Professional Association of Diving Instructors – PADI) มีผู้ที่ได้รับใบรับรองการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12 ทั่วโลก ระหว่างปี 2021-2022

AIDA International หน่วยงานที่ออกใบรับรองการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกรายงานว่า ในปี 2020 ไต้หวัน ดินแดนเกาะเล็กๆ แห่งนี้มีผู้ที่ได้รับใบรับรองมากเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงประเทศจีน ทุกวันนี้ ไต้หวันมีครูสอนว่ายน้ำมากกว่า 300 คน และมีนักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์มากกว่า 90,000 คน

ฟรีไดฟ์, ดำน้ำ, นักดำน้ำ, ไต้หวัน
นักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์แหวกว่ายผ่าน “อุโมงค์แห่งเวลา” (the Time Tunnel) เส้นทางที่เกิดจากปะการังในเกาะกรีน (Green Island) ของไต้หวัน

ทำไมไต้หวันถึงเป็นสถานที่ยอดนิยมในการดำน้ำแบบ ฟรีไดฟ์ ?

คนไต้หวันยุคใหม่ๆ ที่เกิดหลังจากการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานในปี 1987 นั้นไม่เคบพบเจอกับประสบการณ์ที่ถูกผู้ปกครองห้ามไม่ให้ไปเล่นสนุก หรือว่ายน้ำตามชายฝั่งดังเช่นคนรุ่นเก่าๆ ทำให้ปัจจุบันคนไต้หวันรุ่นใหม่ๆ นิยมไปทำกิจกรรมหรือเฉลิมฉลองกันตามริมชายฝั่ง นอกจากนี้ สื่อโซเชียลมีเดียก็มีอิทธิพลในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เพราะการถ่ายภาพกิจกรรมการดำน้ำลงอินสตาแกรมทำให้การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์เติบโตตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม บรรดามือใหม่ที่หวังถ่ายภาพเจ๋งๆ เพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดียพึงต้องรู้ไว้ว่าการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ถือเป็นกีฬาท้าทายที่เสี่ยงต่อภาวะหมดสติในการดำน้ำลึก (underwater blackouts) อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกที่เหมาะสมและทำตามวิธีการอย่างเคร่งครัด เช่นการไม่ดำน้ำคนเดียว ทำให้กีฬาชนิดนี้ค่อนข้างปลอดภัยได้

ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์, ไต้หวัน
นักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์แข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัล AIDA Taiwanese Cup ณ ชายฝั่งเมือง Xiaoliuqiu โดยทีมที่เข้าแข่งขันต้องเผชิญกับแรงกดดันตามธรรมชาติ เช่น กระแสน้ำในมหาสมุทร คลื่น และลมแรงไปพร้อมกับพยายามไล่เก็บป้ายที่กำหนดไว้ใต้ผืนทะเล
นักดำน้ำฟรีไดฟ์ผู้นี้ดีใจที่ได้รับ “ใบขาว” ซึ่งหมายความว่าได้คะแนนสูงสุดในประเภทความลึกจากกรรมการในการแข่งขันชิงถ้วยรางวัล AIDA Taiwanese Cup

ในทางตอนเหนือของไต้หวัน ซึ่งรวมไปถึงที่ตั้งเมืองหลวงอย่างไทเป จะเป็นพื้นที่น้ำเย็นและมีคลื่นสูง ดังนั้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการดำน้ำลึกแบบฟรีไดฟ์จะอยู่ในทางตอนใต้

Xiaoliuqiu เกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวันนั้นเป็นสถานที่น่าดึงดูดในการไปดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ตลอดทั้งปี จึงเป็นที่นิยมในการดำน้ำร่วมไปกับเต่าตนุและเต่ากระ และด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ทำให้เกาะแห่งนี้ไม่มีลมแรง ทำให้น้ำนิ่งพอเหมาะแก่การดำน้ำ

นอกจากนี้ เกาะที่อยู่ห่างจากชายฝั่งใต้อย่าง เกาะ Penghu และหมู่เกาะ Orchid ยังเป็นที่รู้จักในแง่ของการเป็นพื้นที่น้ำอุ่น และมีน้ำใสซึ่งดีต่อทัศนวิสัยในการดำน้ำ และมีคลื่นน้อย โดยเกาะ Orchid  ที่กระจายตัวไปในน่านน้ำ มีชื่อซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า Lanyu เป็นที่อยู่ของชนเผ่าพื้นเมือง Tao และเป็นแหล่งอาศัยของฝูงปลาขนาดใหญ่  รวมไปถึงกัลปังหาและปะการังอ่อน

ที่ตั้งเมืองที่เป็นนิยมในการดำน้ำที่ไต้หวัน ซึ่งอยู่ทางใต้
ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์,
นักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ดำลงไปที่ซากเรือ Shan Fu ซึ่งจมอยู่ที่ระดับความลึก 18 เมตร (60 ฟุต) ใต้ผิวน้ำชายฝั่ง Xiaoliuqiu ของไต้หวัน
ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์, ไต้หวัน
นักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ว่ายกลับไปบนผิวน้ำของมนุษย์ในไต้หวัน สถานที่การว่ายน้ำแบบฟรีไดฟ์กำลังเติบโด จากจำนวนผู้ที่ได้รับประกาศณียบัตรด้านการดำน้ำอย่างน้อย 90,000 คน

ด้านหมู่เกาะ the Penghu ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการเป็นเกาะหินบะซอลต์รูปมงกุฎ เป็นพื้นที่หมู่เกาะซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยรวมกันราวๆ 90 เกาะ โดยอุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะเผิงหูใต้  (South Penghu Marine National Park) นั้นเป็นพื้นที่ปกป้องปะการังและสัตว์ทะเลหลายชนิด ทั้งปลากระเบน ปลาหมึก ปลาปากหวาน และปลาน้ำดอกไม้หางเหลือง นอกจากนี้ยังมี ตู้ไปรณีย์ใต้น้ำ ทางชายฝั่งทางใต้ของเกาะ Penghu ที่อยู่ลึกไปใต้น้ำ 6 เมตร สามารถส่งโปสการ์ดกันน้ำพร้อมมีปากกันน้ำให้บริการ

เรื่อง KAILA YU
ภาพ WENYEN WANG


อ่านเพิ่มเติม เรื่องราวที่ควรรู้เพื่อการเรียนดำน้ำ

เรียนดำน้ำ

Recommend