เจน กูดดอลล์ กับการค้นพบที่ปฏิวัติความเข้าใจของเราเกี่ยวกับชิมแปนซีไปตลอดกาล

เจน กูดดอลล์ กับการค้นพบที่ปฏิวัติความเข้าใจของเราเกี่ยวกับชิมแปนซีไปตลอดกาล

นี่คือบางตอนของภาพยนตร์สารคของ เจน กูดดอลล์ ดีเรื่อง มิสกูดดอลล์กับชิมแปนซีป่า (Miss Goodall and the Wild Chimpanzees) ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 1965 (เสียงในภาพยนตร์เป็นเสียงบรรยายของเธอเอง)

เจน กูดดอลล์ ในวัยไม่ถึง 30 ปีทำงานวิจัยชิมแปนซีในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ากอมเบสตรีม (Gombe Stream Game Reserve) ในดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศแทนซาเนีย ด้วยการสนับสนุนและผลักดันของหลุยส์ ลีคีย์ นักมานุษยบรรพกาลวิทยาในตำนาน

นี่คือเรื่องราวการค้นพบสำคัญที่สุดประการหนึ่งของเจน กูดดอลล์ ที่สะเทือนวงการวิทยาศาสตร์ และไม่เคยมีใครบันทึกภาพไว้ได้

เจนสังเกตเห็นชิมแปนซีตัวหนึ่งซึ่งเธอตั้งชื่อให้ว่า เดวิด เกรย์เบียร์ด (เพราะมันมีเคราแพะสีเทาโดดเด่นเป็นที่จดจำ)  นั่งยองๆข้างจอมปลวก มันเด็ดใบหญ้าขึ้นมาใบหนึ่ง แหย่ลงในโพรง แล้วดึงใบหญ้าที่เต็มไปด้วยปลวกออกมา ก่อนจะรูดเข้าปาก ในอีกเหตุการณ์หนึ่ง เจนเห็นมันหักกิ่งไม้แล้วรูดใบทิ้งก่อนจะใช้กิ่งไม้นั้นแย่เข้าไปในจอมปลวก เดวิด เกรย์เบียร์ด แสดงการใช้และการสร้างเครื่องมือเบื้องต้น (Object modification) อันเป็นคุณลักษณะที่เคยเชื่อกันว่า มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้ ดังคำกล่าวที่ว่า  “Man, the Tool Maker” การค้นพบนี้เท่ากับเป็นการท้าทายความพิเศษของเผ่าพันธุ์มนุษย์

เมื่อเจนส่งโทรเลขแจ้งข่าวนี้แก่หลุยส์ ลีคีย์ เขาตอบกลับว่า “ตอนนี้เราต้องนิยามเครื่องมือใหม่ นิยามมนุษย์ใหม่ หรือยอมรับว่า ชิมแปนซีคือมนุษย์”

 

อ่านเพิ่มเติม : กว่าจะมาเป็นเจน กูดดอลล์พฤติกรรมที่หาดูได้ยาก เหล่าชิมแปนซีรุมฆ่าหัวหน้าเก่า

Recommend