สถาปัตยกรรมเซอเรียลยุคหลังโซเวียต

สถาปัตยกรรมเซอเรียลยุคหลังโซเวียต

อาคารรัฐบาลในกรุงอัสตานา, คาซัคสถาน (2012)

สถาปัตยกรรมเซอเรียล ยุคหลังโซเวียต

ในทศวรรษ 1950 โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนทัศนียภาพเส้นขอบฟ้าของกรุงมอสโก ด้วยอาคารสูง 7 ชั้น ที่ให้ความรู้สึกราวกับมีเค้กแต่งงานก้อนใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ ทั้งยังประดับประดาด้วยศิลปะแบบโกธิคบนยอดแหลมของอาคาร แม้ประเทศนี้จะอุบัติขึ้นจากสงคราม แต่ผู้นำของสหภาพโซเวียตให้ความสำคัญกับการออกแบบ สถาปัตยกรรมเซอเรียล เหล่านี้อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน, มหาวิทยาลัย, อาคารรัฐบาล หรือโรงแรมล้วนสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของโซเวียต ทั้งสิ้น

หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี 1991 หลายประเทศต้องเริ่มต้นก่อร่างสร้างชาติขึ้นมาใหม่เป็นของตนเอง Frank Herfort ช่างภาพชาวเยอรมนีเริ่มต้นโปรเจคนี้ในปี 2008 ตัวเขาตระเวนขับรถไปทั่วภูมิภาคตั้งแต่กรุงมอสโก ไปจนถึงกรุงอัสตานา และในไซบีเรียไปจนถึงแม่น้ำวอลกาทางตะวันตกของรัสเซีย เพื่อบันทึกภาพสถาปัตยกรรมแปลกตาเหล่านี้ในชุดภาพ Imperial Pomp

สถาปัตยกรรมเซอเรียล
สำนักงานตำรวจนครคาซาน, รัสเซีย (2002)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
หอคอย Bajterek กรุงอัสตานา, คาซัคสถาน (2002)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อพาร์ทเม้นท์ทั่วไปในกรุงอัสตานา, คาซัคสถาน

(ชมสุดยอดสถาปัตยกรรมของอาบูดาบีได้ ที่นี่)

“ถ้าคุณมีโอกาสได้ไปเที่ยวในรัสเซียจะเห็นว่าบ้านเมืองมีหน้าตาเหมือนกันหมด ตั้งแต่มอสโก, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปจนถึงโนโวห์ราด” Herfort หมายถึงอพาร์ทเม้นสไตล์คลาสสิกโซเวียตที่ออกแบบมาให้สำหรับบรรดาคนงานไว้อยู่อาศัย อาคารที่ไม่เหมือนใครเหล่านี้สะท้อนว่าพลเมืองในอุดมคติของสหภาพโซเวียตควรเป็นอย่างไร และเมื่อสิ้นสุดการปกครองของสหภาพโซเวียต อีกหนึ่งคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาในบรรดาการออกแบบของประเทศเกิดใหม่เหล่านี้คือ “ความเป็นอนาคต” ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในอาคารหลายแห่งของกรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน

ถึงแม้ว่าประเทศอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียตเหล่านี้จะมีประวัติศาสตร์ไม่ต่างกัน แต่การพัฒนาในยุคหลังโซเวียตของพวกเขาโดดเด่นมาก คำกล่าวจาก Kasia Ploskonka นักประวัติศาสตร์ศิลปะ จากศูนย์ศิลปะยุคหลังโซเวียตเอเชีย

เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงแล้ว บรรดาประเทศต่างๆ ต้องทำการตลาดประชาสัมพันธ์ประเทศของตน “แม้ว่าการลบเลือนอดีตหรือสร้างตัวตนใหม่ที่สมบูรณ์จะยังไม่เกิดขึ้น แต่พวกเขาพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะมีบทบาทสำคัญบนเวทีโลก” Ploskonka กล่าว

ใช่ ตัวตนของประเทศเกิดใหม่ในยุคหลังโซเวียตนี้ถูกถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรม ซึ่งคุณจะได้ชมผ่านชุดภาพถ่ายของ Herfort ส่วนใหญ่แล้วอาคารเหล่านี้ออกแบบโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเท่าไหร่ แตกต่างจากแฟลตของสหภาพโซเวียต ฉะนั้นแล้วจึงมีจำนวนผู้อยู่อาศัยหรือผู้ที่ทำงานในอาคารเพียงน้อยนิด และมีบ้างที่ว่างเปล่าเลย และแม้วันนี้จะผ่านมากว่า 2 ทศวรรษแล้วที่พวกเขาเป็นอิสระ แต่กลิ่นอายของความเป็นสหภาพโซเวียตยังคงสัมผัสได้

เรื่อง Christine Blau

ภาพ Frank Herfort

สถาปัตยกรรมเซอเรียล
หอคอย New Alexandria ในนครโซชี, รัสเซีย (2011)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อนุสาวรีย์ความเป็นกลางในกรุงอาชกาบัต, เติร์กเมนิสถาน (1998)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อาคารเชเลียบินสค์ ในเมืองเชเลียบินสค์, รัสเซีย (2007)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
พีรามิดสันติภาพ, กรุงอัสตานา, คาซัคสถาน (2006)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อาคาร Linkor ในกรุงมอสโก, รัสเซีย (2010)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
หอนาฬิกามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี, เมืองบาทูมี, จอร์เจีย (2012)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อาคารเมอร์คิวรี่ซิตี้่, กรุงมอสโก, รัสเซีย (2013)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
หอวิทยุโทรทัศน์ในกรุงอาชกาบัต, เติร์กเมนิสถาน (2012)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
คอนเสิร์ตฮอลล์คาซัคสถาน ในกรุงอัสตานา, คาซัคสถาน (2012)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
กรมอนามัยและอาคารธุรกิจของกรุงมอสโก, รัสเซีย
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
พระราชวังแห่งความสุขในกรุงอาชกาบัต, เติร์กเมนิสถาน (2011)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
ศูนย์ Heydar Aliyev, กรุงบากู, อาเซอร์ไบจาน (2012)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
สะพาน Shivopasana ในกรุงมอสโก, รัสเซีย
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
อาคาร Parus ในกรุงมอสโก, รัสเซีย
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
ศูนย์การค้า Khan Shatyr, กรุงอัสตานา, คาซัคสถาน
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
ศูนย์กลางวัฒนธรรมและบันเทิง Alem, กรุงอาชกาบัต, เติร์กเมนิสถาน (2012)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
โรงเรียนบริหาร Skolkovo ในกรุงมอสโก, รัสเซีย (2010)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
หอคอยแกรนด์พาร์คในกรุงมอสโก, รัสเซีย (2009)
สถาปัตยกรรมเซอเรียล
ศูนย์หมากรุก, ไซบีเรีย, รัสเซีย (2010)

 

อ่านเพิ่มเติม

ยานร้างกลางทะเลทราย

 

Recommend