หลากหลายโฉมหน้าของเพศสภาพในปัจจุบัน

หลากหลายโฉมหน้าของเพศสภาพในปัจจุบัน

หลากหลายโฉมหน้าของ เพศสภาพ ในปัจจุบัน

หลังจากที่สภาของไต้หวันได้ประกาศให้การแต่งงานระหว่างคู่รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ก็ได้นำความยินดีมาให้กับกลุ่มคนที่ได้เรียกร้องสิทธินี้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่รักเพศเดียวกันในไต้หวัน ที่จะได้สิทธิในการแต่งงานและจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมายเป็นชาติแรกในเอเชีย

ที่ผ่านมา คนทั่วไปอาจคิดว่า “การแต่งงาน” และความรัก เป็นเรื่องของ “เพศชาย” และ “เพศหญิง” เพียงอย่างเดียวมาโดยตลอด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแนวคิดเรื่องการรักเพศเดียวกันก็อยู่ในประวัติศาสตร์เรื่อยมา และไม่อาจเปิดเผยได้อย่างชัดเจนมากนัก เนื่องจากค่านิยมของสังคมในอดีต มักมองว่าความรักประเภทนี้เป็นเรื่องผิดปกติ แต่ว่าในปัจจุบันนี้ ความรักเพศเดียวกันเริ่มสามารถเปิดเผยได้ และถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ นำมาซึ่งรูปแบบ หรือลักษณะค่านิยมทางเพศของปัจเจกบุคคลที่มีความหลากหลายมากขึ้น

อาจกล่าวได้ว่า เราอยู่ในยุคสมัยของการ “ปฏิวัติด้านเพศสภาพ” โดยแท้จริง

ภาพหมู่ภาพนี้จะทำให้เราเข้าใจคำว่า “การปฏิวัติเพศสภาพ” เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ติดต่อกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวหลายกลุ่มเพื่อนำบุคคล 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์ทางเพศและ การแสดงออกทางเพศอันหลากหลายมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน และคำเรียก เพศสภาพ ของพวกเขาก็มาจากคำพูดของแต่ละคนเอง

แถวบน (ยืน) จากซ้ายไปขวา 1. แฮร์รี ชาลส์เวิร์ท, 20 ปี, เควียร์ (queer — ไม่ปิดกั้นทางเพศ) 2. เอเชียนนา สกอตต์, 20 ปี, นางหรือนายแบบทั้งสองเพศรวมกัน 3. แองเจลิกา ฮิกส์, 23 ปี หญิงตรงเพศ 4. มอร์แกน เบอร์โร ฟรานซิส, 30 ปี, เลือกเป็นได้ทั้งสองเพศ 5. เอลี, 12 ปี, ชายข้ามเพศ 6. แอเรียล นิโคลสัน เมอร์ทาก, 15 ปี, หญิงข้ามเพศ 7. พิดเจียน พาโกนิส, 30 ปี, ไม่แบ่งเป็นสองเพศ 8. เชพเพิร์ด เอ็ม. เวอร์บัส, 24 ปี, ไม่ปิดกั้น ทางเพศที่ไม่แบ่งเป็นสองเพศ 9. เชอร์โน บีโก, 25 ปี, นักเคลื่อนไหวผิวสี/ชาว ข้ามเพศ 10. อล็อก เวด-มีนอน, 25 ปี, ไม่แบ่งเป็นสองเพศ

แถวล่าง (นั่ง) จากซ้ายไปขวา 1.เมมฟิส เมอร์ฟี, 16 ปี, หญิงข้ามเพศ 2.อเล็กซ์ ไบรสัน, 11 ปี, ชายข้ามเพศ 3.เดนเซล ฮัตชินสัน, 19 ปี, ชายที่ชอบเพศตรงข้าม 4.ลี, 16 ปี, เด็กชายข้ามเพศ 5.จูลส์, 16 ปี, เด็กชายข้ามเพศ

คำจำกัดความใหม่ของเพศสภาพ

อภิธานศัพท์นี้เรียบเรียงโดยได้รับคำแนะนำจากเอลี อาร์. กรีน เจ้าหน้าที่ ศูนย์ศึกษาทางเพศที่มหาวิทยาลัยไวเดนเนอร์ในเพนซิลเวเนีย และลูคา เมาเรอร์ จากศูนย์เพื่อการศึกษา การเข้าถึง และการให้การบริการเกี่ยวกับ เลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ ที่วิทยาลัยอิททาคาในนิวยอร์ก ทั้งสองเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Teaching Transgender Toolkit

ไม่มีเพศ (agender): บุคคลที่ไม่ ระบุว่ามีอัตลักษณ์ทางเพศซึ่งจำแนกเป็นชายหรือหญิง หรือบุคคลที่ระบุตัวเองว่าเป็นคนไม่มีอัตลักษณ์ทางเพศ

ทั้งสองเพศรวมกัน (androgynous): มีลักษณะความเป็นเพศชายและเพศหญิงรวมกัน หรือไม่แสดงออกทางเพศตามแบบแผน

คนตรงเพศ (cisgender): คำเรียกบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับ เพศทางชีววิทยาเมื่อแรกเกิด (บางครั้งใช้คำย่อว่า ซิส “cis”)

แบ่งเป็นสองเพศ (gender binary): คือแนวคิดที่ว่า เพศสภาพ ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง (ชาย/หญิง) โดยอิงกับเพศกำเนิด แทนที่จะอิงกับอัต-ลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกทางเพศอันหลากหลาย คำจำกัดความนี้ถือเป็นข้อจำกัดหรือเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่ตรง (หรือไม่ประสงค์) จะถูกจำแนกเป็นเพศใดเพศหนึ่ง

แสดงออกทางเพศตรงกับบรรทัดฐานของสังคม (gender conforming): คนที่แสดงออกทางเพศตรงบรรทัด- ฐานของสังคม กล่าวคือ เด็กชาย หรือผู้ชายต้องหรือควรมีความเป็นชาย และเด็กหญิงหรือผู้หญิงต้องหรือควรมีความเป็นหญิง คนตรงเพศ (cis) ทุกคนอาจไม่แสดงออกตรง ตามบรรทัดฐานของสังคม และคนข้ามเพศก็ไม่จำเป็นต้องแสดงออกค้านกับบรรทัดฐานของสังคมเสมอไป

ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง หรือจีดี (gender dysphoria: GD): คู่มือวินิจฉัยและสถิติสำหรับความ ผิดปกติทางจิตฉบับที่ห้า (DSM-5) ของสมาคมสุขภาพจิตอเมริกา (American Psychiatric Associa- tion) ให้คำจำกัดความว่าเป็นการ ข้ามเพศโดยได้รับการวินิจฉัยทางแพทย์ การรวมภาวะจีดีว่าเป็นความผิดปกติทางจิตอยู่ในคู่มือ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่อื้อฉาวในชุมชนคนข้ามเพศต่าง ๆ เพราะบ่งบอกว่าคนข้ามเพศคือผู้ป่วยทางจิต แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ทางเพศซึ่ง เป็นที่ยอมรับ ทว่าผู้ที่ต้องการรักษา ภาวะนี้ต้องได้รับคำวินิจฉัยอย่างเป็น ทางการเสียก่อน

การแสดงออกทางเพศ (gender expression): คือการแสดงออกภาย นอกของบุคคลที่สะท้อนเพศสภาพ โดยมักรวมสไตล์ส่วนตัว การแต่งกาย ทรงผม เครื่องสำอาง เครื่องประดับ นํ้าเสียงสูงตํ่า และภาษากาย การแสดงออกทางเพศมักจัดประเภทเป็น แบบผู้ชาย แบบผู้หญิง หรือทั้งสองเพศรวมกัน การแสดงออกทางเพศยังอาจสอดคล้องกับอัตลักษณ์ ทางเพศ หรือไม่สอดคล้องก็ได้

เพศที่เลื่อนไหลไปมา (gender- fluid): คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างผู้ชาย/ความเป็นชาย และผู้หญิง/ความเป็นหญิง

อัตลักษณ์ทางเพศ (gender iden- tity): ความรู้สึกจากส่วนลึกของ คนคนหนึ่งว่าตนมีเพศสภาพอย่างไร โดยอิงกับคำจำกัดความของตัวเอง

เครื่องหมายทางเพศ (gender marker): การกำหนดค่า (เพศชาย, เพศหญิง, หรืออย่างอื่น) ที่ระบุในบันทึกของทางการ เช่น สูติบัตร หรือใบขับขี่ เครื่องหมายทางเพศใน เอกสารของคนข้ามเพศคือเพศที่ ติดตัวมาแต่กำเนิด เว้นเสียแต่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย

แสดงออกทางเพศที่ไม่ตรงกับบรรทัดฐานของสังคม (gender nonconforming): คนที่แสดงออก ทางเพศไม่ตรงตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น เด็กชายหรือผู้ชายที่ “ไม่แมนพอ” หรือดูเหมือนผู้หญิง ขณะที่เด็กหญิงหรือผู้หญิงก็ “ไม่หญิง พอ” หรือดูเหมือนผู้ชาย ชาวข้ามเพศ อาจไม่เป็นเช่นนี้ทุกคน และคนที่แสดงออกทางเพศไม่ตรงกับ บรรทัดฐานของสังคมก็อาจไม่ได้เป็นคนข้ามเพศทุกคน คนตรงเพศอาจแสดงออกไม่ตรงกับบรรทัดฐานของสังคม คนทั่วไปมักสับสนว่า การแสดงออกเช่นนี้ต้องพ้องกับรสนิยมทางเพศ (sexual orientation)

ไม่ปิดกั้นทางเพศ (genderqueer): คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ใช่ทั้งหญิงและชาย อาจอยู่กึ่งกลาง หรือหลุดพ้นกรอบทางเพศ หรืออาจเป็นการผสมผสานของเพศทั้งหมด

เพศกำกวม (intersex): คนที่มี ความผิดปกติด้านพัฒนาการของระบบอวัยวะเพศ หรือดีเอสดี โดยมีโครงสร้างของระบบสืบพันธ์ พันธุ- กรรม โครงสร้างของอวัยเพศ หรือ ฮอร์โมน ที่ทำให้มีร่างกายซึ่งไม่ สามารถแบ่งเป็นหญิงหรือชายได้ คน มักสับสนคนที่มีเพศกำกวมกับคน ข้ามเพศ แต่ทั้งสองประเภทแตกต่าง กันสิ้นเชิง คำว่า กะเทย (herma- phrodite) ซึ่งหมายถึงคนที่มีอวัยวะ ทั้งเพศชายและเพศหญิงในคน คนเดียวกัน ถือว่าตกยุคและเป็น การดูหมิ่น

แอลจีบีทีคิว (LGBTQ): ตัวย่อ ที่หมายถึงเลสเบียน เกย์ ไบเซ็ก- ชวล ทรานส์เจนเดอร์ (ข้ามเพศ) และเควียร์ (ไม่ปิดกั้นทางเพศ) และ/หรือปัจเจกบุคคลและชุมชนที่มีลักษณะดังกล่าว บางครั้งใช้ แตกต่างออกไปว่า แอลจีบีที (LGBT) และแอลจีบีคิว (LGBQ)

ไม่แบ่งเป็นสองเพศ (nonbinary): สเปกตรัมของอัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศแบบหนึ่ง โดยไม่สรุปว่าเพศต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง (ชาย/หญิง) เท่านั้น หรือไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยอิงกับเพศกำเนิด กลุ่มนี้ยังรวมถึงคำว่า ไม่มีเพศ (agender) เลือกเป็นได้ทั้ง สองเพศ (bigender) เพศที่เลื่อน ไหลไปมา (genderfluid) และเป็น ได้ทุกเพศ (pangender)

สรรพนาม: สรรพนามระบุเพศที่ ให้เกียรติและตรงกับบุคคล ซึ่งบุคคลนั้นเลือกใช้ด้วยตัวเอง ควรถามบุคคลนั้น ๆ ก่อนว่าใช้สรรพนามอะไรนอกจากคำว่า “เขา” “เธอ” และ “พวกเขา” แล้ว ยังมีสรรพนามใหม่ที่ไม่มีเพศ ซึ่งได้แก่ “ซี” (zie) และ “เพอร์” (per)

การระงับวัยเริ่มเจริญพันธุ์: กระบวนการทางแพทย์ที่ยับยั้งการ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิด การเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น ผลที่ได้คือ การชะลอพัฒนาการของลักษณะทางเพศระยะทุติยภูมิ (เช่น การเติบโต ของเต้านม การขยายของอัณฑะ การกระจายไขมันในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของเสียง เป็นต้น) การกดภาวะดังกล่าวทำให้วัยรุ่น มีเวลาตัดสินใจว่าจะรับฮอร์โมน ของเพศที่ต้องการเป็นหรือไม่ และ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเองที่วัยรุ่นข้ามเพศมัก ประสบในระยะเจริญพันธุ์

ไม่ปิดกั้นทางเพศ (queer): คำ กว้าง ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้รักคนต่างเพศ และ/หรือคนตรงเพศ คำคำนี้ในอดีตเคยใช้เป็นคำหยามหมิ่น แต่ปัจจุบันบางคนบอกว่าเป็นการยืนยันตัวตน ในขณะที่บางคนบอกว่าเป็นคำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย

วิถีทางเพศหรือรสนิยมทางเพศ (sexual orientation): เป็นความ รู้สึกพึงใจที่บุคคลหนึ่ง ๆ มีต่อคนอื่น คนคนหนึ่งอาจถูกใจคนเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม หรือทั้งสองเพศ หรือไม่มีความชอบในเพศหรือเพศสภาพใดเป็นพิเศษ บางคนอาจไม่มีความรู้สึกดึงดูดทางเพศเลยและอาจเรียกตัวเองว่า ไม่ฝักใฝ่ใจทางเพศ (asexual) วิถีทางเพศเป็นเรื่องของ ความพึงใจในคนอื่น ๆ (เป็นเรื่องภายนอก) ขณะที่อัตลักษณ์ทางเพศเป็นความรู้สึกจากส่วนลึกว่า ตัวตนของเราเป็นอย่างไร (เป็นเรื่องภายใน)

ข้ามเพศ (transgender): บางครั้ง เรียกย่อ ๆ ว่า “ทรานส์” (trans) อันเป็นคำคุณศัพท์เรียกคนซึ่งอัตลักษณ์ ทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด คำคำนี้ ยังอาจหมายถึงอัตลักษณ์กลุ่มหนึ่งซึ่งรวมถึงเด็กชายหรือผู้ชายข้ามเพศ คนที่เป็นเพศหญิงแต่กำเนิด แต่คิดว่าตนเป็นเด็กชายหรือผู้ชาย และคนที่เป็นชายแต่กำเนิด แต่คิดว่าตนเป็นเด็กหญิงหรือผู้หญิง

แปลงเพศ (transsexual): เป็น คำเก่าที่ใช้เรียกคนข้ามเพศ ซึ่งอาจได้รับฮอร์โมนหรือการผ่าตัดแปลงเพศให้เข้ากับอัตลักษณ์ทางเพศของตน แทนที่จะอยู่ในเพศเดิมแต่กำเนิด คำคำนี้ยังมีการใช้กันอยู่ แต่คำว่า “ข้ามเพศ” เป็นที่นิยมมากกว่า

ที่มา: THE TEACHING TRANSGENDER TOOLKIT, โดยเอลี อาร์. กรีน และลูคา เมาเรอร์


อ่านเพิ่มเติม มองใหม่เรื่องเพศสภาพ

Recommend