รวมคำทำนายของ สตีเฟน ฮอว์คิง อัจฉริยะแห่งยุคผู้ล่วงลับ
14 มีนาคม 2018 ข่าวการเสียชีวิตของสตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง หรือ สตีเฟน ฮอว์คิง สร้างความตกใจไปทั่วโลก เนื่องจากเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกและอัจฉริยะแห่งยุคสมัย ผู้ได้รับฉายาว่า “ไอน์สไตน์แห่งศตวรรษที่ 21” ฮอว์คิงเสียชีวิตในวัย 76 ปี หลังป่วยด้วยโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (Amyotrophic lateral sclerosis) หรือ ALS ซึ่งส่งผลให้เขาต้องนั่งรถเข็นตลอดเวลาจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และจำต้องสื่อสารด้วยอุปกรณ์สร้างเสียงสังเคราะห์
ฮอว์คิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 ณ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ก่อนจะเข้าศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา
สำหรับอาการของโรค ALS นั้น เริ่มปรากฏตั้งแต่ในช่วงที่เขายังคงศึกษาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ฮอว์คิงสะดุดล้มบ่อยครั้ง และเริ่มพูดไม่ค่อยชัด หลังการตรวจวินิจฉัยแพทย์รายงานว่าฮอว์คิงกำลังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง และคาดว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงไม่เกินสามปี น่าทึ่งที่ฮอว์คิงสามารถต่อสู้กับโรคนี้และในที่สุดเขาก็มีชีวิตยืนยาวกว่าที่แพทย์เคยทำนายไว้ถึงกว่า 50 ปี
ชื่อเสียงของฮอว์คิงเริ่มเป็นที่รู้จักจากงานวิจัยเกี่ยวกับหลุมดำ ฮอว์คิงสนใจเกี่ยวกับการกำเนิดและการมีอยู่ของดวงดาวรวมไปถึงหลุมดำ หลังศึกษาอย่างจริงจังฮอว์คิงพบว่าหลุมดำไม่ได้มีลักษณะเป็นสูญญากาศดังที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดคิดกันไว้ ในงานวิจัยก่อนหน้า โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) เสนอทฤษฎีที่ว่าหลุมดำมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดังนั้นจึงไม่มีแสงหรือวัตถุใดๆ สามารถหลุดรอดออกมาจากหลุมดำได้ ด้านฮอว์คิงเสนอว่าแท้จริงหลุมดำไม่ได้เป็นเช่นนั้น หากมีบางอย่างที่สามารถหลุดรอดออกมาจากหลุมดำได้ ถ้าปรากฏอยู่บนขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) ซึ่งเป็นอาณาบริเวณโดยรอบของหลุมดำ สำหรับสิ่งที่หลุดออกมาจากหลุมดำเรียกว่า “รังสีฮอว์คิง” เป็นการคายพลังงานออกมา เรียกว่าการระเหยของหลุมดำ และฟุ้งกระจายไปทั่ว ถ้าหลุมดำไม่ได้รับมวลอื่นใดเพิ่มเข้ามา มันก็จะหดตัวลงและหายไปในที่สุดเพราะการคายพลังงานนี้ ฮอว์คิงเชื่อว่ารังสีเหล่านี้มีข้อมูลที่อาจบ่งชี้ถึงการกำเนิดและการสูญสลายของดวงดาวที่ผ่านๆ มาได้
นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับอดีตที่ผ่านมา ไปจนถึงการทำนายอนาคต การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้ฮอว์คิงได้รับรางวัลอัลเบิร์ต ไอสไตน์ รวมถึงรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย และถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ครั้งใหญ่
“คำแนะนำจากผมสำหรับผู้พิการทุกคน จงตั้งมั่นในสิ่งที่คุณทำได้ดี แม้ความพิการก็ไม่อาจขัดขวางได้ และอย่าเสียใจกับสิ่งที่คุณทำไม่ได้เพียงเพราะคุณพิการ อย่าให้จิตวิญญาณของคุณบกพร่องไปเช่นร่างกาย” – สตีเฟน ฮอว์คิง
Recommend
เหตุใดนักวิทย์จึงเพาะหลอดอาหารมนุษย์ขึ้นในแล็บ?
อวัยวะมนุษย์ในขนาดย่อมเยานี้ช่วยฉายภาพให้เห็นว่าระบบย่อยอาหารมีวิธีการทำงานอย่างไร ตลอดจนช่วยให้แพทย์ลองใช้ยาที่หลากหลายมากขึ้นในการรักษาอาการป่วย
วิทยาศาสตร์ว่าด้วย ความเจ็บปวด
วิทยาศาสตร์ว่าด้วยความเจ็บปวด: ความสามารถในการรู้สึกเจ็บปวดเป็นหนึ่งในของขวัญที่ธรรมชาติมอบแก่มนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ เราวิวัฒน์ขึ้นมาให้รู้สึกเจ็บปวดเพราะความเจ็บปวด ทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยอันเป็นกุญแจสำคัญในการเอาตัวรอด ถึงกระนั้น ความเจ็บปวดก็ไม่เคยเป็นที่พึงปรารถนา นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามค้นหาวิธีใหม่ๆ…
แค่ดมก็รู้! วิจัยใหม่เผย แค่ใช้ กลิ่นจากมือ ก็สามารถระบุเพศได้ – เผยซ้ำ มนุษย์มักดมกลิ่นหลังจับมือคนอื่นแต่ไม่รู้ตัว
กลิ่นจากมือ สามารถระบุเพศได้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริดา (Florida International University) ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน…
ทำไมเราควรฉีดวัคซีนโควิด-19
กระแสเรื่อง การฉีดวัคซีน กำลังเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ และรัฐบบาลในหลายๆ ประเทศต่างออกมารณรงค์ให้ประชาชนออกมารับวัคซีน เมื่อการระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยระลอกที่สามทวีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน…