วิวาทะองค์ ดาไลลามะ ดูดลิ้นเด็กผู้ชาย อาจเป็นวัฒนธรรมทิเบต – ชาวทิเบตโวย “ตีความทุกอย่างแบบตะวันตกนั้นน่าเกลียด” – “สิทธิเด็ก” จะอยู่ตรงไหนในเรื่องนี้

วิวาทะองค์ ดาไลลามะ ดูดลิ้นเด็กผู้ชาย อาจเป็นวัฒนธรรมทิเบต – ชาวทิเบตโวย “ตีความทุกอย่างแบบตะวันตกนั้นน่าเกลียด” – “สิทธิเด็ก” จะอยู่ตรงไหนในเรื่องนี้

จากกรณีที่ ดาไลลามะ องค์ที่ 14 หรือ เทนซิน เกียตโซ ได้ออกมากล่าวขอโทษในกรณีที่มีคลิปวิดีโอที่พระองค์จูบปากเด็กชายผู้หนึ่งแล้วขอให้เด็กชายคนนั้น “ดูดลิ้นของพระองค์” ในงานอีเวนต์ที่ทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งได้เผยแพร่ไปในโซเชียลมีเดีย จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

โดยในคลิปวิดีโอดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเด็กชายคนดังกล่าวได้เข้าไปหาองค์ดะไลลามะก่อนที่จะถามพระองค์ว่า “ขอกอดได้หรือไม่”

ผู้นำทางจิตวิญญาณวัย 87 ปีได้เชิญให้เด็กเข้ามาบนเวทีแล้วชี้ไปที่แก้มของพระองค์ โดยชักชวนให้เด็กคนนั้นกอดและจูบที่แก้มของพระองค์

จากนั้นองค์ดาไลลามะได้ชี้ไปที่ปากของพระองค์ แล้วจับไปที่คางของเด็กชายไปจูบที่ปาก และแนะนำให้ “ดูดลิ้นของพระองค์” และแลบลิ้นออกมา โดย เด็กชายทำท่าผงะ

โดยสำนักงานขององค์ดะไลลามะกล่าวว่า พระองค์ประสงค์ที่จะขออภัยเดฌกชายและครอบครัว รวมไปถึงบรรดามิตรที่อยู่รอบโลก สำหรับคำกล่าวที่น่าเจ็บปวดที่เกิดขึ้น และย้ำว่าพระองค์เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

“พระองค์มักจะหยอกเย้าผู้คนที่พระองค์ได้พบด้วยวิถีแห่งความสดใสและบริสุทธิ์ ทั้งในที่สาธารณะ ต่อหน้ากล้องโทรทัศน์”

จากเหตุการณ์นี้ กลุ่มสิทธิ์มนุษยชนของเด็กที่ชื่อว่า Haq: Center for Child Rights ซึ่งตั้งอยู่ที่นครเดลี ประเทศอินเดีย กล่าวว่า ขอประนาม “การล่วงละเมิดเด็กในทุกรูปแบบ” และเสริมว่า “บางองค์กรสื่อได้อ้างอิงถึงวัฒนธรรมทิเบตในเรื่องของการแลบลิ้น แต่แน่นอนว่าในวิดีโอนี้ไม่ใช่เรื่องของการแสดงออกทางวัฒนธรรม หรือถ้าเป็นเช่นนั้นจริง วัฒนธรรมการแสดงออกแบบนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”

อย่างไรก็ตาม “วัฒนธรรรม” การแลบและดูดลิ้น หรือเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับและความเคารพ ซึ่งมักจะใช้ในการทักทายตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวทิเบต ตามข้อมูลจากสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่ก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน

ตามตำนานย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 9 พระเจ้าลังทาร์มา (Lang Darma) ผู้เป็นกษัตริย์แห่งทิเบตที่มีชื่อเสียงในเรื่องของความโหดเหี้ยม พระองค์มี “ลิ้นสีดำ” วัฒนธรรมชาวพุทธแบบทิเบตซึ่งเชื่อในเรื่องของการกลับชาติมาเกิดใหม่จึงหวาดกลัวว่ากษัตริย์ใจร้ายผู้นี้จะกลับมาเกิดอีกครั้ง ดังนั้นเป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาวทิเบตทักทายด้วยการแลบลิ้นให้กันเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่มีลิ้นสีดำ ไม่ได้รับเอาความชั่วร้ายเข้าตัว และไม่ได้เป็นกษัตริย์ผู้ชั่วร้ายที่กลับชาติมาเกิด

กาลเวลาผ่านไป การแลบลิ้น (และอาจรวมไปถึงการดูดลิ้น) จึงกลายเป็นวิธีการทักทายและลัญลักษณ์ของการยอมรับและเคารพในกันและกันไปแทน

ดังนั้น ผู้ที่สนับสนุนองค์ดาไลลามะจึงออกมาโต้ตอบการณ์วิพากษ์วิจารณ์นี้ ว่าการกระทบของพระองค์ที่ตีความไปใน “มุมมองของชาวตะวันตก” ไปแทน

“การแสดงออกทางอารมณ์ และมารยาทต่างๆ ในถูกวันนี้ ถูกกลืนไปในแบบตะวันตกอย่างชัดเจน” Namdol Lhagyari นักกิจกรรมชาวทิเบตที่ถูกเนรเทศ โพสต์ในบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า “การนำเอาเรื่องเล่า ธรรมเนียม กระแสทางสังคมในเรื่องเพศของชาวตะวันตกมาตีความการแสดงออกของชาวทิเบตนั้นเป็นเรื่องน่าเกลียด” Lhagyari กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในสภาพสังคมเปลี่ยนไปในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องวิพากษ์กันเพื่อหาข้อตกลงว่า การกระทำขององค์ดาไลลามะ และธรรมเนียมนี้เป็นสิ่งที่ “ถูกต้อง” ในบริบทปัจจุบันหรือไม่ และแท้จริงแล้ว เราควรมองกรณีนี้เป็นเรื่องของ “การกลืนกินทางวัฒนธรรมของตะวันตก” หรือเรื่องของ “สิทธิเด็ก” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสากลที่ควรได้รับการเคารพเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ที่มา

https://edition.cnn.com/2023/04/10/india/dalai-lama-apology-kissing-boy-video-intl-hnk/index.html

https://www.latimes.com/archives/la-xpm-1997-nov-08-me-51420-story.html

อ่านเพิ่มเติม มุสตาง หนึ่งในอาณาจักรโบราณที่ลึกลับที่สุดในโลกซึ่งยังมีลมหายใจแห่ง เนปาล

Recommend