ภาพความกลัวจากในบ้านผีสิงเหล่านี้ ทำอดขำไม่ได้

ภาพความกลัวจากในบ้านผีสิงเหล่านี้ ทำอดขำไม่ได้

เรื่อง เรเชล บราวน์

กล้องดักถ่ายภาพเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับบรรดานักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่า พวกเขามักจะติดตั้งกล้องเหล่านี้ไว้ตามเส้นทางเดินของสัตว์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายตามธรรมชาติของมัน กล้องเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยรีโมทเซ็นเซอร์ระยะไกล จึงใช้ได้ดีกับผู้ล่าอันตรายอย่างเสือจากัวร์ หรือใช้ในการติดตามพฤติกรรมโดยไม่ต้องรบกวนสัตว์ เช่นการรุมกินซากสัตว์ของฝูงอีแร้ง

และเช่นเดียวกัน เทคโนโลยีนี้กำลังถูกนำมาใช้จับภาพความหวาดกลัวของผู้คน

ที่บ้านผีสิง The Nightmares Fear Factory บ้านผีสิงชื่อดังในเมืองไนแอการาฟอลส์ ของแคนาดา ผู้เปิดให้บริการความขนหัวลุกมานานกว่า 30 ปี ในกลางทศวรรษที่ 20 Frank LaPenna เจ้าของกิจการได้แรงบันดาลใจจากกล้องถ่ายภาพบนรถไฟเหาะ เขาจึงตั้งใจว่าจะนำไอเดียเดียวกันนี้มาบันทึกภาพความหวาดกลัวของบรรดาลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเอาไว้

“ในตอนแรกผมยืนอยู่ในความมืด มีกล้องดิจิตอลตัวจิ๋วในมือคอยจับภาพผู้คนที่กำลังหวาดกลัว” เขาอธิบาย “จากนั้นผมจะวิ่งลงไปที่ลอบบี้ เอาเมมการ์ดออกจากกล้องเสียงเข้าคอมพิวเตอร์ และโชว์ภาพที่ถ่ายได้ขึ้นจอมอนิเตอร์ให้คนที่เพิ่งออกมาจากบ้านผีสิงได้เห็น”

LaPenna ทำแบบนี้จนเมื่อเขาได้รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่นั่นคือกล้องดักถ่ายภาพ ซึ่งจะบันทึกภาพอัตโนมัติ ด้วยเซนเซอร์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสัตว์ตัวนั้นๆ เดินผ่านอินฟาเรดที่ดักไว้ เขาออกแบบในรูปแบบที่คล้ายกันเพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากอินฟาเรดเป็นปฏิกิริยาของผู้คนที่ตกใจเป็นสิ่งกระตุ้นให้กล้องทำงานแทน ด้วยวิธีนี้ช่วยให้เขาได้ภาพถ่ายของผู้คนกว่า 550 ภาพต่อวัน และบ้านผีสิงนี้เปิดทุกวันฉะนั้นในแต่ละปีเขาจึงมีภาพถ่ายที่รวบรวมเอาไว้หลายแสนภาพเลยทีเดียว ซึ่งในปี 2011 ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ของบ้านผีสิง เพื่อดึงดูดผู้ที่สนใจอยากลิ้มลองความสยองขวัญให้เข้ามาใช้บริการกันมากขึ้น

แม้ว่าจะแตกต่างจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ที่ให้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ แต่คิดดูอีกที มองไปที่รูปถ่ายเหล่านี้ เราทุกคนล้วนคือสัตว์ที่เมื่ออะดรีนาลีนพลุ่งพล่านจากความกลัว ปฏิกิริยาที่แสดงออกมาผ่านภาพถ่ายจึงเป็นสัญชาตญาณล้วนๆ

“ผู้คนชอบคิดว่าผมต้องมีหัวกระโหลกอยู่ที่เตาผิงในบ้าน” LaPenna กล่าว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เขาไม่ใช่แฟนหนังสยองขวัญด้วยซ้ำ

 

อ่านเพิ่มเติม : ชีวิตบนเกาะซึ่งหนาแน่นที่สุดในโลกนี่คือสิ่งที่อาวุธนิวเคลียร์ทิ้งเอาไว้

Recommend