ต่อสู้กับวิกฤตินี้
ในขณะที่สังคมก้าวหน้าไปมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในวิกฤติเกี่ยวกับเซ็กส์ที่เริ่มเป็นประเด็นกังวลกันขึ้นมาก็คือ เทคโนโลยีเหล่านี้กำลังสร้างความแปลกแยกให้เรามากกว่าเชื่อมต่อเราหรือไม่
Craig Malkin นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อธิบายถึงวิกฤตินี้ผ่านคำนิยามที่เรียกว่า cybercelibacy “เกมและภาพยนตร์ผู้ใหญ่ไม่ได้ช่วยคลายเหงาให้เราตลอดก็จริง แต่การเสพสื่อเหล่านี้มากๆ จะนำไปสู่อาการเสพติด และนั่นจะทำให้บุคคลนั้นๆ หันหลังให้แก่ผู้คนจริงๆ” เขากล่าวผ่านอีเมล์ “และยิ่งสำหรับใครที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับใครแบบใกล้ชิดด้วยแล้ว โอกาสที่เทคโนโลยีเหล่านี้ซึ่งสร้างความตื่นเต้น และพวกเขาสามารถเข้าหรือออกโลกดังกล่าวได้ตามใจ ซึ่งจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเขาในเวลาต่อมา”
ปฏิสัมพันธ์จริงๆ กับมนุษย์นั้นเป็นอะไรที่ผิดพลาดได้, คาดเดาได้ยาก และค่อนข้างยุ่งเหยิง แต่ด้วยภาพและเสียงที่ผ่านการปรุงแต่งมาแล้ว โลกในเทคโนโลยีได้ลบข้อพิพาทจากความสัมพันธ์ในชีวิตจริงออกไปหมด และสร้างนิยามของความใกล้ชิแบบใหม่ขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นนี้หาใช่เป็นปัญหาแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะคนอเมริกันเองก็มีอัตราการมีเซ็กส์ลดน้อยลงเช่นกัน
รายงานจากผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ลงในวารสาร Archives of Sexual Behavior อัตราการมีเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น ตัวเลือกใหม่ๆ เช่น วิดีโอ, ภาพยนตร์ผู้ใหญ่ ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย ซึงเชื่อกันว่าในกลุ่มคนรุ่นใหม่เจนเนอเรชั่น millennials และ Z นี้ ซึ่งเติบโตมากับเทคโนโลยีจะยิ่งมีเซ็กส์น้อยกว่าคนรุ่นก่อน
ในยุคสมัยที่เรื่องเพศเต็มไปด้วยตัวเลือกมากมาย ดูเหมือนว่าโรงแรมม่านรูดในญี่ปุ่นจะยังคงยืนหยัดอยู่ได้ ด้วยบริการความเป็นส่วนตัวแบบสุดๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง แต่อะไรๆ ก็ใช่ว่าจะแน่นอน ในปี 2020 นี้ ญี่ปุ่นเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นในกรุงโตเกียว ทางรัฐบาลมีแผนที่จะรวมโรงแรมม่านรูดทั้งหมดเข้ากับโรงแรมธรรมดาทั่วไปเพื่อรองรับจำนวนอันมากมายของผู้มาเยือนจากต่างประเทศ
แต่จนกว่าจะถึงเวลานี้ ขณะนี้ดินแดนอีโรติกที่หลบซ่อนอยู่ในกรุงโตเกียวยังคงเปิดให้บริการกันต่อไป…
เรื่อง Gulnaz Khan
ภาพถ่าย Albert Bonsfills