สนทนาธรรมกับองค์ดาไลลามะ : หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง

สนทนาธรรมกับองค์ดาไลลามะ : หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง

“เมื่อพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนธรรม  พระองค์ไม่เคยทรงเลือกว่าต้องสั่งสอนคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งโดยเฉพาะ… แม้แต่พวกเราชาวพุทธ  เวลาสวดมนต์แผ่เมตตา เราไม่เคยพูดว่าเพื่อมนุษยชาติเท่านั้น  หากเผื่อแผ่ครอบคลุมถึงสรรพชีวิตทั้งมวล”

ทะไลลามะ
องค์ทะไลลามะทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะครูและเด็กนักเรี่ยนที่โรงเรียนพุทธศาสนาแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย (ภาพถ่าย AFP)

 

ผู้หญิงควรมีบทบาทอย่างไรในการปลูกฝังศีลธรรมและเมตตาธรรม

“ในสังคมมนุษย์ยุคแรกๆ  ความแข็งแรงทางกายคือปัจจัยสำคัญของความเป็นผู้นำ  นั่นคือจุดเริ่มต้นของสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ต่อมาเมื่อการศึกษาพัฒนาดีขึ้น ความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงจึงเกิดตามมา ปัจจุบัน เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการบ่มเพาะเมตตาธรรมในจิตใจ  นอกเหนือจากการศึกษาทางโลก  เมื่อพูดในเชิงชีววิทยา  เราต้องยอมรับว่า ผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ชายในเรื่องความทุกข์ยากของผู้อื่น ดังนั้นในการปลูกฝังเมตตาธรรมในสังคมมนุษย์  ผู้หญิงจึงควรมีบทบาทมากขึ้น  อาตมาอยากยกตัวอย่างแม่ของอาตมาซึ่งเป็นหญิงชาวบ้าน  อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้  ไร้การศึกษา  เป็นชาวไร่ชาวนา  แต่แม่มีหัวใจที่อ่อนโยน  ทุกครั้งที่เห็นขอทาน  แม่มักร้องไห้  ลูกๆไม่เคยเห็นใบหน้าโกรธขึ้งของแม่เลย  ลูกๆ จึงถูกเลี้ยงดูขึ้นมาในบรรยากาศแบบนี้  อาตมาย้ำว่า  ในชีวิตมนุษย์  การศึกษาสำคัญมาก  แต่ความรักนั้นสำคัญยิ่งกว่าการศึกษาเสียอีก  อาตมาไม่คิดว่ามีนักวิทยาศาสตร์คนไหนพูดว่า  ยิ่งมีการศึกษามาก  สุขภาพยิ่งดี  แต่จิตใจที่อ่อนโยนดีงามต่างหากที่ส่งเสริมให้เรามีสุขภาพดี” —โกวิทย์  ผดุงเรืองกิจ  เก็บความและเรียบเรียง ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2556

 

อ่านเพิ่มเติม

ยองเก มิงยูร์ ริมโปเช กับการปฏิบัติธรรมอันเบิกบาน

 

Recommend