อ่าวมาหยา : การกลับมาของฉลามหูดำกับบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ

อ่าวมาหยา : การกลับมาของฉลามหูดำกับบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ

ฉลาม หูดำโผล่ว่ายน้ำหากินในบริเวณริมหาดอ่าวมาหยา หลังจากที่ทางอ่าวได้ปิดให้บริการไปกว่าหลายเดือน สร้างความตื่นเต้นและได้จุดประกายความหวังเล็ก ๆ ของภารกิจฟื้นฟูแนวธรรมชาติของทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ย้อนกลับไปในช่วงที่อ่าวมาหยายังคงคลาคล่ำไปด้วยเรือนักท่องเที่ยวจอดอยู่บริเวณปากอ่าว ภาพ ฉลาม ที่มาหากินในบริเวณอ่าวนั้น แทบจะเป็นภาพที่ไม่เคยปรากฏ แต่ในวันนี้ภาพสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลกลับมาแหวกหว่ายในพื้นที่อ่าวอีกครั้ง ฉลามหูดำจำนวนกว่า 90 ตัวได้แวะเวียนมาว่ายน้ำหาอาหารกินในบริเวณริมอ่าวแทบทุกวัน

อ่าวมาหยา, เรือนำเที่ยว, เกาะพีพี, นักท่องเที่ยว, ฉลาม
ขบวนเรือและทัพนักท่องเที่ยวที่เข้าชมอ่าวมาหยาในหนึ่งวันมีมากกว่าสี่พันคน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบนเกาะอย่างหนัก
ภาพถ่าย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย และหาญณเรศ หริพ่าย

ฉลามหูดำ เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบด้านหลัง ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง โดยอาหารหลักเป็นปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีนิสัยไม่ดุร้าย เมื่อเทียบกับฉลามชนิดอื่น

ความนิยมของอ่าวมาหยา 

นักแสดงชื่อดังอย่าง Leonardo DiCaprio เจ้าของรางวัลออสการ์ ได้นำแสดงในหนังเรื่อง The Beach ซึ่งถ่ายทำที่อ่าวมาหยาเมื่อต้นปี 2542 และออกฉาย 1 ปีหลังจากนั้น ด้วยกระแสความนิยมของภาพยนตร์ ทำให้อ่าวมาหยา ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ก่อนการประกาศปิดพื้นที่ อ่าวมาหยารองรับนักท่องเที่ยววันละ 4,000-5,000 คน ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมหาศาล จึงเกิดความเสียหายต่อพื้นที่อ่าวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแนวประการังและสัตว์น้ำในบริเวณนั้น

นักท่องเที่ยว, ชายหาด, อ่าวมาหยา, เกาะพีพี, ฉลาม
ภาพจำนวนนักท่องเที่ยวที่เน้นเอี๊ยดของอ่าวมาหยาก่อนจะถูกปิดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

 

สาเหตุมาจากอะไร 

ด้วยความที่มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ก็เท่ากับว่าปัญหาที่เกิดจากตัวนักท่องเที่ยวนั้นก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกพื้นที่ชายฝั่ง การถ่ายน้ำเสียหรือการทิ้งขยะลงน้ำทะเล หลายสิ่งหลายอย่างนั้นเกิดจากการท่องเที่ยวที่ไม่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และด้วยเหตุผลนั่นเอง ทำให้ฉลาม หรือแม้กระทั่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างประการัง เริ่มหดหายไปจากอ่าวมาหยานั่นเอง และถึงแม้ว่าการเติบโตของ อ่าวมาหยา ในเชิงภาคเศรษฐกิจนั้น จะส่งผลดี นำกำไรมาสู่ชาวบ้านในท้องถิ่น แต่ผลที่ตามมาก็คือระบบนิเวศของทางอ่าวนั้นกลับอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง ทำให้เจ้าหน้าที่นั้นไม่มีทางเลือกจึงเป็นเหตุที่ต้องปิดปรับปรุงอ่าวลงไปในที่สุด

ฉลาม, อ่าวมาหยา
ภาพกองขยะมหาศาลบริเวณอ่าวมาหยา ก่อนที่จะปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

มาตรการในการแก้ไขปัญหา

เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีแผนปิดปรับปรุงฟื้นฟูอ่าวเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 4 เดือน (ตามกำหนดการเดิมคือวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2561) ก่อนจะเลื่อนการเปิดให้บริการออกไปอย่างไม่มีกำหนด ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการฟื้นฟูระบบนิเวศของทางอ่าว โดยการปลูกประการังเพิ่มเป็นจำนวนมากกว่า 5,615 หน่อ โดยในส่วนของโซนที่ประการังกำลังทำการฟื้นตัวจากนักท่องเที่ยวนั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ให้ความดูแลอย่างใกล้ชิด โดยก็มีอัตราการเติบโตของประการังใบอ่อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับผลลัพธ์ 6 เดือนหลังจากปิดอ่าวมาหยานั้น ก็ได้มีภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจที่ไม่ได้เห็นกันมานาน อย่างภาพฝูงฉลามหูดำทั้งหมดกว่า 90 ตัว ได้เข้ามาหากินอาหารบริเวณริมชายหาดของอ่าวมาหยาเป็นประจำทุกวัน ลบภาพเดิมของอ่าวมาหยาที่มักจะมีเรือนักท่องเที่ยวจอดเต็มชายฝั่งไปหมด ทำให้ทางกรมอนุรักษ์นั้นมีความหวังที่จะฟื้นฟูอ่าวที่ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า “Paradise Beach” ให้กลับมามีความงดงามอีกครั้ง

ฉลาม, อ่าวมาหยา
ฝูงฉลามหูดำกว่า 90 ตัว ได้ออกมาว่ายน้ำหากินอาหาบริเวณริมชายหาดของอ่าวมาหยา เป็นประจำทุกวัน
ขอบคุณภาพจาก Channel News Asia

 

ความสำคัญของ ฉลาม ต่อระบบนิเวศน้ำทะเล

โดยปกติฉลามนั้นมักจะเลือกเหยื่อที่ป่วยหรืออ่อนแอเป็นอาหารอยู่เสมอ อีกทั้งบางตัวยังว่ายน้ำลึกลงไปหาซากสัตว์น้ำทะเลที่ตายไปแล้วเป็นอาหารด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองการล่าเหยื่อที่ป่วยนั้น ทำให้ฉลามนั้นได้มีส่วนช่วยเหลือไม่ให้เหยื่อของฉลามนั้นไปแพร่กระจายเชื้อโรคกันในกลุ่ม อีกทั้งฉลามยังได้ทำการกำจัดเหยื่อที่ความอ่อนแอ  ทำให้มีแต่สัตว์ที่ตัวใหญ่ แข็งแรง และสุขภาพแข็งแรงรอดต่อการถูกล่าจากฉลามและพร้อมไปแพร่พันธุ์ในที่สุด ด้วยเหตุนี้เองทำให้ฉลามนั้นได้มีไปช่วยปรับแต่งพันธุกรรมของสัตว์ชนิดนั้นให้มีความแข็งมากยิ่งขึ้นไปในทางอ้อม ๆ นั่นเอง

นอกจากนี้ฉลามเองยังมีส่วนช่วยในการทำให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำให้อยู่ในปริมาณที่พอดีไม่น้อยหรือไม่มากเกินไปอีกด้วย ถ้าจะให้เห็นภาพชัดกว่านี้ นักวิทยาศาสตร์ในฮาวายนั้นได้ค้นพบว่า ฉลามเสือนั้นมีอิทธิผลอย่างมากต่อแนวหญ้าทะเล และหญ้าทะเลนั้นเป็นอาหารของเต่า ซึ่งเต่านั้นก็เป็นอาหารของฉลามเสืออีกที โดยให้ลองหลับตาคิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากฉลามเสือนั้นหายไป คำตอบก็คือ ทำให้เต่านั้นมีเวลาในการกินหญ้าทะเลมากขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกล่าหรืออะไร ทำให้แนวหญ้าทะเลนั้นไม่สามารถเติบโตได้ทัน ทำให้ถูกทำลายไปในที่สุด

ด้วยเหตุผลประการนี้เอง ทำให้ฉลามนั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ของแนวประการังเป็นอย่างมาก

ถึงแม้รูปร่างหน้าต่าของฉลามอาจจะมีความน่ากลัว จนทำให้ใครหลาย ๆ คนคิดว่าหากปราศจากพวกมันไป ท้องทะเลอาจจะสงบสุข น่าอยู่มากยิ่งขึ้น แต่หารู้ไม่ว่า ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลนั้นจะได้ประสบพบเจอกับความวุ่นวายพอสมควรหากฉลามสูญพันธุ์ขึ้นมาจริง ๆ

เรียบเรียงโดย รชตะ ปิวาวัฒนพานิช


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โลกของ Aquaman กำลังจมขยะพลาสติก

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอ่าวมาหยา 

 อ่าวมาหยากับความงามที่เลือนหาย

 

Recommend