พบกับนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์จากทั่วโลก

พบกับนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์จากทั่วโลก

นักเรียนและผู้ประท้วงนับพันคนรวมตัวกันที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในการเดินขบวนเพื่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีการจัดขึ้นทั่วโลก การเดินขบวนมีจุดประสงค์ให้มีการออกมาตรการจัดการวิกฤตด้านภูมิอากาศ ภาพถ่ายโดย JENNY EVANS, GETTY IMAGES


โลกในอนาคต คือเป็นพันธกิจของคนรุ่นใหม่ที่ต้องร่วมกันสร้างสรรค์ นี่คือเรื่องราวและแนวคิดจากนัก รณรงค์สิ่งแวดล้อม รุ่นเยาว์ทั่วโลก

เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่คือผู้ที่ต้องรับภาระดูแลโลกต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงเกิดกระแสการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในบรรดาเด็กๆ และหนุ่มสาวที่เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) กำลังส่งผลรุนแรงขึ้นทุกขณะ

พวกเขาเรียกร้องให้บรรดาผู้ใหญ่ใช้อำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่พวกเขามีสร้างโลกใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่ออนาคตของพวกเขา เหล่านี้คือบรรดารณรงค์นักสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ทั่วโลก ที่เรารวบรวมแนวคิดที่ชวนปลุกจิตสำนึกให้ ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์อีกมากทั่วทุกมุมโลก ที่กำลังพยายามใช้เสียงเล็กๆ ของพวกเขาสร้างสรรค์โลกใบใหม่ขึ้นมาด้วยตัวเอง

เกรตา ทูนแบร์ก อายุ 16 ปี ชาวสวีเดน

“ฉันได้เรียนรู้ว่า ไม่มีใครเด็กเกินกว่าจะสร้างความแตกต่างได้”

View this post on Instagram

Here we go again… As you may have noticed, the haters are as active as ever – going after me, my looks, my clothes, my behaviour and my differences. They come up with every thinkable lie and conspiracy theory. It seems they will cross every possible line to avert the focus, since they are so desperate not to talk about the climate and ecological crisis. Being different is not an illness and the current, best available science is not opinions – it’s facts. I honestly don’t understand why adults would choose to spend their time mocking and threatening teenagers and children for promoting science, when they could do something good instead. I guess they must simply feel so threatened by us. But the world is waking up. See you in the streets this Friday! #fridaysforfuture #schoolstrike4climate #climatestrike #aspiepower

A post shared by Greta Thunberg (@gretathunberg) on

นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกวัย 16 ปี เธอเริ่มต้นการรณรงค์ด้านสิ่งที่ล้อมที่ประเทศสวีเดน บ้านเกิดของเธอโดยการหยุดเรียนเพื่อมาถือป้ายประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลออกนโยบายแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างจริงจัง ที่อาคารรัฐสภาในทุกวันศุกร์ จนเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการรวมกลุ่มเยาวชน Fridays for Future จัดโครงการเดินขบวนรณรงค์เรียกร้องที่มีชื่อว่า “การประท้วงหยุดเรียนเพื่อสภาพภูมิอากาศ ” (School Strike for Climate) เพื่อให้ผู้คนทั้งโลกตระหนักในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการทำลายสิ่งที่แวดที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 1.6 ล้านคนกว่า 190 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม รวมทั้งประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม: เกรียตา ทุนแบร์ย เด็กสาววัย 16 ผู้ปลุกเยาวชนโลกออกเดินขบวนเพื่อต้านภาวะโลกร้อน

เจมี มาร์โกลิน อายุ 17 ปี ชาวสหรัฐ ฯ

“เราไม่ได้มีอำนาจในการสร้างระบบที่ทำลายโลกและอนาคต แต่เรากลับเป็นผู้ชดใช้ในสิ่งที่คนรุ่นก่อนละเลย”

View this post on Instagram

You are far from alone. To be honest, no one was ever alone in this venture of protecting our world to begin with. The indigenous peoples have always been defending the earth. There are so many movements, organizations, community efforts and activists that we will never know the name of and that the media has never covered, that have still forever changed the face of this earth for the better. You and I have never been alone in our struggle for climate justice. However back in 2017 when I started the #ThisIsZeroHour movement it sure felt like it. This was before @gretathunberg did her first strike for climate action. This was before the @extinctionrebellion took off internationally, before the @sunrisemvmt and the #GreenNewDeal took off in the united states, before the international school strikes. Back when I was a scared 15-year-old trying to do my part to stop the climate crisis; youth climate activism was hardly known or recognized in the mainstream media or by leaders. I had no money, no notoriety and yet the movement we young women in the united states started was the first domino that led to the mainstreaming of high school climate justice activism that you know today. With nothing but determination and the internet we American girls organized the first ever #YouthClimateMarch & Youth Climate Lobby Day in Washington DC and 25 other cities around the world. The day of the Youth Climate March, July 21st 2018, there was a rainstorm in DC. Everyone was drenched from head to toe and at one point it looked like our scrappy operation was falling apart. Our cries for climate justice seemed like they were drowned in the storm. But it turns out they weren’t. Soon after we dried off from the rain and opened our computers and the Sunday @nytimes , we realized that our scrappy little protest was the first match that sparked an international movement of youth for climate justice. Even when you’re just a teenage girl drenched in a rainstorm and it feels like no one is listening to you, someone is. #ThisIsZeroHour #YouthToPower

A post shared by Jamie Margolin (@jamie_s_margolin) on

เจมี มาร์โกลิน เด็กสาวอายุ 17 ปี เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการร่วมของกลุ่ม Zero Hour ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่นำโดยเยาวชนที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนนักกิจกรรมเยาวชนรุ่นใหม่และเป็นผู้ฝึกฝน จัดหาทรัพยากร และเครื่องมือที่นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องใช้ เพื่อการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปกป้องทรัพยากรของประเทศ เจมีมักเรียกร้องในเรื่องของความยุติธรรมในสังคม การปกป้องสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิชนพื้นเมือง และเรื่องอื่นๆ และเธอมักร่วมมือกับผู้นำและนักกิจกรรมคนอื่นๆ ที่สนับสนุนในการแก้วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

เฌอโรม ฟอสเตอร์ อายุ 16 ปี ชาวสหรัฐฯ

“พวกผู้ใหญ่จงฟัง: คนหนุ่มสาวเช่นเราไม่ควรแบกภาระเช่นนี้ มันควรเป็นหน้าที่ของคุณ แต่เรากำลังต้องประท้วงอดอาหาร ต้องพบปะเจ้าหน้าที่รัฐบาล และจัดการรณรงค์ระดับโลกเพื่อให้พวกคุณใส่ใจเรื่องนี้”

เฌอโรม ฟอสเตอร์ เป็นนักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศ, นักเขียน, นักสำรวจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, แบรนด์ แอมบาสเดอร์ ของสถาบันสมิธโซเนียน และบรรณาธิการบริหารของเว็บไซต์ The Climate Reporter ทั้งที่เขามีอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น ไม่นานมานี้ เฌอโรมเป็นผู้จัดการประท้วงหยุดเรียนเพื่อสภาพภูมิอากาศที่ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา และเขาใช้ช่วงเวลาหน้าร้อนในปีนี้จัดการประท้วงที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ลีอาห์ นามูเกอร์วา อายุ 14 ปี ชาวยูกันดา

“คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจว่าพวกเขาทำอะไรกับสิ่งแวดล้อมไปบ้าง ฉันรับรู้ว่าพวกผู้ใหญ่ไม่เต็มใจที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้ ฉันจึงเลือกอาสาตนเอง ความอยุติธรรมต่อสิ่งแวดล้อมเป็นความอยุติธรรมสำหรับฉัน”

ลีอาห์ นามูเกอร์วา คือเด็กสาวอายุ 14 ปีที่เป็นสมาชิกกลุ่ม Fridays For Future เธอประท้วงหยุดเรียนในทุกวันศุกร์เพื่อเรียกร้อง “ความยุติธรรม” ให้กับสิ่งแวดล้อม ลีอาห์ได้รับแรงบันดาลใจจากเกรตา ทูนแบร์ก แต่เธอรู้สึกอยากทำการเคลื่อนไหว่อย่างจริงจังเมื่อได้เห็นภาวะอดอยากที่เกิดจากภัยแล้งและแผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้รัฐบาลยูกันดาจะตอบโต้อย่างรุนแรงต่อผู้ประท้วง แต่ลีอาห์ยังคงต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันนี้เธอกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลยูกันดาสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติก

(อ่านต่อหน้า 2)

Recommend