พลาสติกขนาดเล็กกลายเป็นขยะมหาสมุทร

พลาสติกขนาดเล็กกลายเป็นขยะมหาสมุทร

พลาสติกขนาดเล็กกลายเป็นขยะเต็มมหาสมุทร

ปลาแอนโชวี่เป็นที่รู้จักในฐานะส่วนประกอบของหน้าพิซซ่ามากยิ่งกว่าความสำคัญในฐานะบทบาทในห่วงโซ่อาหารทางทะเลเสียอีก และขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า พฤติกรรมการกินพลาสติกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติกของปลาเหล่านี้ กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย เมื่อปลาแอนโชวี่กินขยะพลาสติกขนาดเล็กที่กระจัดกระจายอยู่ในมหาสมุทรเข้าไป มันถูกกินต่อโดยปลาขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสารพิษจากพลาสติกจึงถูกถ่ายทอดสู่ปลาตัวดังกล่าว รวมถึงผู้บริโภคอย่างเราด้วยเช่นกัน

ความเข้าใจผิดว่าขยะพลาสติกคืออาหารเกิดขึ้นจากกลิ่นของมันที่คล้ายกับอาหารจริง รายงานใหม่จากวารสาร Proceedings of the Royal Society B. ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และเพิ่งตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้ นอกจากนั้นรายงานอื่นๆ ที่เผยแพร่ลงในวารสาร Science Advances ก็อธิบายถึงวิธีการที่ไมโครพลาสติกเหล่านี้ถูกส่งต่อไปยังมหาสมุทรลึกได้อย่างไร โดยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เรียกกันว่า Giant Larvaceans

ไมโครพลาสติกเกิดขึ้นจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงในทะเลแตกหักจากผลกระทบของคลื่นและแสงอาทิตย์ พลาสติกขนาดเท่าเมล็ดข้าว หรือประมาณไม่เกิน 5 มิลลิเมตรนี้ ได้เปลี่ยนมหาสมุทรให้กลายเป็น ซุปพลาสติก แต่ผลกระทบของมันยังคงไม่อาจเข้าใจได้ครบทุกด้าน ในปี 2015 มีรายงานการวิจัยที่ช่วยยืนยันถึงปริมาณขยะพลาสติก และการนิยามว่ามหาสมุทรของเรากำลังกลายเป็นซุปพลาสติกนั้น นักวิทยาศาสตร์ไมได้พูดเกินจริง ประมาณปริมาณขยะไมโครพลาสติกในปี 2014 อยู่ที่ 15 – 51 ล้านล้านชิ้น คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 93,000 – 236,000 เมตริกตัน

(ภาพถ่ายภาพนี้สะท้อนปัญหาขยะในมหาสมุทรได้ชัดเจน)

คำถามต่อมาคือ จะต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการกำจัดพลาสติกเหล่านี้ และจะเกิดอะไรขึ้นกับมหาสมุทรของเราเมื่อสารพิษจากพลาสติกแพร่กระจายไปในมหาสมุทร? สิ่งมีชีวิตกว่า 700 สายพันธุ์กินไมโครพลาสติกเข้าไป และผลกระทบจากมหันตภัยครั้งนี้ยังคงอยู่ระหว่างการค้นคว้า

การวิจัยเกี่ยวกับไมโครพลาสติกก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อ แมทธิว ซาโวกา นักวิจัยปริญญาเอกจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาและวิทยาศาสตร์การประมง จากเมืองมอนเทอร์เรย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มต้นศึกษาปลาแอนโชวี่ ตลอด 2 ปีของการศึกษาพบว่ามีปลากว่า 50 สายพันธุ์ที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป และจำนวนนี้เพิ่มเป็น 100 สายพันธุ์ในอีก 2 ปีต่อมา

 


 

91% ของพลาสติก ไม่ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่


 

“ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ปะทุขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา” ซาโวกากล่าว “ในมุมมองของสาธารณชน เมื่อพูดถึงขยะพลาสติกจะคิดถึงแปรงสีฟัน, ไฟแช็ก, ถุงพลาสติก หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถระบุได้ แต่ในความเป็นจริง 90% ของมหาสมุทรเต็มไปด้วยขยะขนาดเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร มันเล็กมากจริงๆ”

ขยะมหาสมุทร
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ที่ฉายบนไอแพดแสดงให้เห็นชิ้นส่วนพลาสติกสีฟ้า 2 ชิ้นที่คาดว่าน่าจะมาจากเบ็ดตกปลาถูกล้อมรอบด้วยแพลงก์ตอน ตัวอย่างดังกล่าวถูกรวบรวมโดยนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ผู้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานใน Plastic Free Seas

 

Recommend