การค้นพบโลกครั้งใหม่ในย่างก้าวของบรรพบุรุษ
บิชเคก คีร์กิซสถาน พอล ซาโลเพก นักข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ ต้องการบอกเล่าเรื่องราวของโลกโดยผ่านการเดินทางในโครงการที่ชื่อว่า Out of Eden Walk ในตอนนี้เขาอยู่ในช่วงฤดูหนาวของเมืองบิชเคก ประเทศคีร์กิซสถาน เฝ้ารอให้หิมะในภูเขาละลายเพื่อที่จะออกเดินทางต่อไปยังดินแดนตะวันออก มุ่งหน้าสู่จีนตะวันตก เขาออกเดินทางตามเส้นทางเดียวกับบรรพบุรุษในยุคหินซึ่งอพยพจากแอฟริกาไปยังอเมริกาใต้
2013 : สุสานอันรุ่งเรือง
10 มกราคม 2013 เฮอร์โต โบวรี เอธิโอเปีย พอลตื่นมาในลานของหมู่บ้านในรีฟวัลเลย์ของแอฟริกา และหลังจากใส่บูทและจูบลาภรรยา เขาออกก้าวเดินไปยังอ่าวเอเดนซึ่งอยู่ห่างออกไป 250 ไมล์
กลุ่มเล็กของโฮโมเซเปียนส์ออกเดินทางในแบบเดียวกันไม่น้อยกว่า 100,000 ปีก่อน เพราะ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การล่า ความอดอยาก ประชากรที่ล้นเกินไป ไม่มีใครรู้เหตุผลที่แน่ชัด แต่มนุษย์กลุ่มแรกที่ออกเดินทางจะพบกับการทดสอบที่สำคัญในการอยู่รอดของมนุษย์ ทั้งในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
พอลรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของนักบุกเบิกยุคแรก ในขณะที่เขาเดินทางออกจากแคมป์ของทิม ไวท์ นักโบราณคดี ในแหล่งโบราณคดีมิดเดิลอาวาช แหล่งฟอสซิลมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พอลออกเดินทางด้วยกองคาราวานอูฐซึ่งบรรทุกสัมภาระมากมาย
2014 : ปีของการอพยพ

ในปีที่สองของการเดินทาง พอลได้เดินทางไปเยรูซาเลม หลังจากผ่านตะวันออกกลางมา จากถนนคนเดินสู่ฮิญาซในซาอุดิอาราเบีย แหล่งกำเนิดศาสนาอิสลาม เขาเดินทางผ่านเขตทุ่นระเบิดซึ่งเป็นด่านวัดใจศรัทธาของตัวเองในเขตเวสแบงค์และอิสราเอล ในช่วงเวลากลางคืน เขาพักผ่อนในบ้านของชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล

แต่การเดินทางของเขาดูจืดชืดไปถนัดตาเมื่อเทียบกับโชคชะตาของผู้อพยพ 12 ล้านคน ผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมืองซีเรีย จากระยะเวลาเดือนกว่าในจอร์แดนและตุรกี เขาเดินผ่านกลุ่มอพยพที่ใหญ่ที่สุดที่โลกเคยเห็นมาในรอบ 70 ปี กระแสของมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก ซึ่งแบ่งทุกสิ่งที่พวกเขามี น้ำชา รอยแต่งแต้มอยู่ภายใต้ผืนผ้าใบ บทเพลง และเรื่องราวของพวกเขา
2015 : แดนวิญญาณ

ในช่วงปีที่สามของการเดินทาง เขาถูกขัดขวางโดยกำแพงน้ำแข็งยุคใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายพรมแดน อิหร่านปฏิเสธการยื่นขอวีซาของพอล แต่เขาไม่ละความพยายามโดยเดินทางไปทางทิศเหนือเข้าสู่คอเคซัส ผ่านเศษซากที่พร่ามัวของหุบเขาแห่งวัฒนธรรม ไปสู่มรดกแห่งการยึดครอง พิชิตชัย และการขับไล่ หลังจากนั้นเมื่อเขาไปยังจอร์เจียร์ และเรียนรู้เสน่ห์ของรสน้ำผึ้งและไวน์ เขาได้พบเห็นและเป็นพยานในความรักของแม่ผู้สูญเสียลูก และได้สัมผัสกับบาดแผลของศตวรรษเก่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอามาเนีย
2016 : เส้นทางสายไหมใหม่

ระหว่างปีที่ผ่านมา พอลเดินทางไปมากกว่า 1400 ไมล์ข้ามเอเชียกลาง เส้นทางสายไหมซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อมระหว่างตะวันออกกับตะวันตก กองคาราวานที่หายสาบสูญไปจากเส้นทางสายไหมเป็นกลุ่มแรกที่ได้พบกับประสบการณ์โลกาภิวัฒน์เป็นกลุ่มแรก ในปัจจุบันอูฐถูกแทนที่ด้วยท่อส่งก๊าซและเส้นไหมในศตวรรษที่ 21 คือ ก๊าซและน้ำมัน
การเดินทางในจุดเชื่อมต่อการค้ายุคโบราณ เมื่อผู้แพ้ในระบบตลาดเสรีดูเหมือนจะปฏิเสธพันธะสัญญาของโลกาภิวัฒน์ ที่นี่เป็นจุดสูงสุดของเส้นทางการค้าในช่วงก่อนยุคกลาง เอเชียกลางคือศูนย์กลางของการเบ่งบานทางวัฒนธรรมและนวัฒกรรมโลก แต่ในศตวรรษของสงคราม ศาสนา ศักดินา และการแยกตัว ผลักให้ภูมิภาคแห่งนี้กลายเป็นชายขอบไป
เรื่อง พอล ซาโลเพก
ภาพ จอน สแตนเมเยอร์
อ่านเพิ่มเติม