ประวัติศาสตร์แห่งความวุ่นวายของกีฬา โอลิมปิก ในช่วงวิกฤตโลก และอาถรรพ์ 40 ปี

ประวัติศาสตร์แห่งความวุ่นวายของกีฬา โอลิมปิก ในช่วงวิกฤตโลก และอาถรรพ์ 40 ปี

จากการเลื่อนจัด กีฬา โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว บางคนชี้สาเหตุไปที่ “อาถรรพ์ 40 ปี” เพื่ออธิบายถึงประวัติศาสตร์ของความล่าช้า การคว่ำบาตร และความโกลาหลที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งของกีฬาโอลิมปิก

มีการประกาศจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 จะเลื่อนไปจัดในปีหน้าเนื่องจากความกังวลในการระบาดของไวรัสโคโรนา

นี่เป็นการหยุดชะงักใหญ่ครั้งแรกของกีฬาโอลิมปิกนับตั้งแต่ปี 1944 (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) อย่างไรก็ตาม งานกีฬาระดับโลกนี้คุ้นเคยกับภาวะความโกลาหลที่เคยเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคว่ำบาตร, การห้ามเข้าร่วมแข่งขัน หรือแม้กระทั่งการปะทุของภูเขาไฟ

ภูเขาไฟวิสุเวียสเกิดการปะทุจนต้องย้ายที่จัด

ในปี 1904 กรุงโรม ประเทศอิตาลี เอาชนะเมืองอย่างเบอร์ลินและตูรินในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 1908 แต่ช่วง 2 ปีในการเตรียมตัวจัดงาน ก็เกิดภัยพิบัติที่อิลาลี คือภูเขาไฟวิสุเวียสเกิดการปะทุ ทำให้เมืองที่อยู่ใกล้กับภูเขาไฟเกิดความเสียหาย และเมืองเนเปิลส์ (Naples) ตกอยู่ในภาวะอัมพาต ทำให้อิตาลีต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูจนต้องสละสิทธิการเป็นเจ้าภาพ

แต่การปะทุของภูเขาไฟในครั้งนั้นไม่ทำให้กีฬาโอลิมปิกต้องยกเลิก เพราะคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เปลี่ยนให้กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพโดยให้เวลาเตรียมตัวเพียง 10 เดือนเท่านั้น สมาคมโอลิมปิกแห่งอังกฤษใช้เวลาดังกล่าวเร่งมืออย่างเต็มที่ แม้กระทั่งสร้างสนามกีฬาใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ

ยุโรปเข้าสู่สงคราม

ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นในปี 1914 เบอร์ลินกำลังอยู่ในช่วงเตรียมตัวจัดกีฬาโอลิมปิกปี 1916 รวมไปถึงการสร้างสนามกีฬาใหม่ด้วย

เนื่องจากประเทศยุโรปส่วนใหญ่อยู่ในภาวะสงคราม คณะกรรมการมีการพิจารณาให้กีฬาโอลิมปิกปี 1916 ไปจัดที่ดินแดนที่เป็นกลางอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งตอนนั้นยังไม่เข้าร่วมสงคราม แต่ครั้งนี้ คำถามไม่ได้อยู่แค่จะจัดที่ไหน แต่รวมไปถึงปัญหาที่ไม่มีคนเข้าร่วมการแข่งขันมากพอด้วยเช่นกัน ในเดือนธันวาคมปี 1914 หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้รายงานว่าการแข่งขัน “มีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกเนื่องจากผลของสงคราม” ในที่สุด โอลิมปิกปี 1916 ก็ต้องยกเลิกไป

ในปี 1920 มีการจัดกีฬาโอลิมปิกขึ้นอีกครั้งที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม และมีการปล่อยนกพิราบในฐานะสัญลักษณ์ของสันติภาพในพิธีเปิดการแข่งขัน และมีพิธีการสาบานตนของนักกีฬาเป็นครั้งแรก

กีฬาโอลิมปิก, โอลิมปิก, บาซี, เบอร์ลิน 1936
เปลวเพลิงกีฬาโอลิมปิกมาถึงสนามกีฬาที่อัดแน่นและปกคลุมไปด้วยตราสวัสดิกะในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน แม้จะมีการเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรงานนี้เนื่องจากการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์และแนวคิดการต่อต้านชาวยิว เบอร์ลินโอลิมปิกก็ยังคงดำเนินต่อไป แต่ก็เป็นการจัดครั้งสุดท้ายในรอบนานกว่าทศวรรษเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพถ่ายจาก CULTURE CLUB, GETTY

การคว่ำบาตรพรรคนาซีเยอรมันและสงครามโลกครั้งที่สอง

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้แต่งตั้งให้กรุงเบอร์ลินเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 1936 อันเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าสู่ประชาคมโลกอีกครั้งของเยอรมนีหลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่การผงาดขึ้นของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และการกีดกันนักกีฬาเชื้อสายยิวทำให้คนจำนวนมากไม่พอใจ มีการเคลื่อนในการคว่ำบาตรโอลิมปิกครั้งนี้ทั้งในอเมริกา บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส สวีเดน และประเทศอื่นๆ

ในปีนั้นมีการจัดโอลิมปิกตามกำหนดการท่ามกลางบรรยากาศของโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ และเป็นแข่งขันโอลิมปิกครั้งสุดท้ายในรอบทศวรรษต่อมาเนื่องจากการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สอง

ปี 1940 ญี่ปุ่นได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพทั้งกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในโตเกียวและฤดูหนาวที่ซัปโปโร แม้มีหลังการอุบัติขึ้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นในปี 1937 และมีการตอบโต้ญี่ปุ่นโดยการคว่ำบาตรจากประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่นก็ยังยืนกรานที่จะจัดต่อไป แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำสงครามรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในโตเกียว โยโกฮามา และโกเบ ในช่วงนั้นด้วย

คณะกรรมการโอลิมปิกมีการพิจาณาให้ย้ายการจัดโอลิมปิกไปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ แต่ในปี 1940 สหภาพโซเวียตนำทหารบุกฟินแลนด์ จนต้องยกเลิกการจัดการแข่งขัน สงครามครั้งนี้ดำเนินไปถึงปี 1945 ทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1944 ฤดูร้อนที่ลอนดอน และฤดูหนาวที่เมืองกอร์ตีนาดัมเปซโซทางตอนเหนือของอิตาลีต้องยกเลิกไปด้วย

การคว่ำบาตร

ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ได้การมีการ ‘คว่ำบาตร’ หรือไม่เข้าร่วมการแข่งขันอยู่บ้าง เช่นในโอลิมปิกปี 1964 (กรุงโตเกียว, ญี่ปุ่น) มีการห้ามประเทศแอฟริกาใต้เข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากนโยบายการแบ่งสีผิว (apartheid)

กรณีที่มีชื่อเสียงในช่วงประวัติศาสตร์กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่คือการคว่ำบาตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาในการแข่งโอลิมปิก 1980 ที่กรุงมอสโก เพื่อประท้วงที่สหภาพโซเวียตส่งทหารบุกอัฟกานิสภาน โดยมี 66 ประเทศเข้าร่วมการคว่ำบาตรครั้งนี้ รวมไปถึงญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมันตะวันตก อีก 4 ปีต่อมา สหภาพโซเวียตตอบโต้โดยการนำ 14 ประเทศร่วมกันคว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิก 1984 ที่จัดขึ้นในนครลอสแองเจลิส เพื่อเอาคืนการคว่ำบาตรของสหรัฐเมื่อปี 1980

กีฬาโอลิมปิก, มอสโก, โอลิมปิก
ดิค พาลเมอร์ เลขาธิการโอลิมปิกของอังกฤษ ถือตราสัญลักษณ์โอลิมปิกในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่กรุงมอสโก ปี 1980 ซึ่งมีนักกีฬาของอังกฤษที่ไม่เข้าร่วมพิธีเปิดเนื่องจากต้องการคว่ำบาตรประท้วงสหภาพโซเวียตที่นำทหารบุกอัฟกานิสถาน ภาพถ่ายจาก AP

โตเกียวและอาถรรพ์ 40 ปี

โอลิมปิกได้รอดพ้นช่วงเวลาแห่งการคว่ำบาตรและการห้ามเข้าร่วมการแข่งขันมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ซึ่งบางคนเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นผลของคำสาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับญี่ปุ่นที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพ

ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2020 นายทาโร อาโซ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นคร่ำครวญถึงความเป็นไปได้ในการเลื่อนจัดกีฬาโอลิมปิกเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส

“มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกๆ 40 ปี มันเป็นคำสาปโอลิมปิก และนั่นคือความจริง” เขากล่าว โดยชี้ให้เห็นถึงการยกเลิกกีฬาโอลิมปิกในปี 1940 และการคว่ำบาตรที่นำโดยสหรัฐฯ ในปี 1980

และถ้ามีคำสาปโอลิมปิกดังกล่าวจริง ญี่ปุ่นก็น่าจะทราบดี เพราะในขณะที่โตเกียวเป็นเจ้าภาพในปี 1964 อย่างสมบูรณ์แบบ การแข่งขันในปีนั้นก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เสียหายเช่นกัน กล่าวคือ ทั้งเกาหลีเหนือ จีน สหรัฐอเมริกาถูกค่ำบาตรในการแข่งขันดังกล่าว หลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลปฏิเสธที่จะให้นักกีฬาบางส่วนของประเทศเหล่านั้นเข้าร่วม และเป็นปีแรกที่แอฟริกาใต้ถูกห้ามเข้าแข่งขันเนื่องจากการดำเนินนโยบายแบ่งแยกสีผิว

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่โชคร้ายอย่างญี่ปุ่นที่ใช้เงินกว่าหนึ่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 320,000 ล้านบาท) ในการจัดเตรียมการแข่งขันโอลิมปิกในปีนี้ ได้ส่งสัญญาณในการเลื่อนการแข่งขันไปในปี 2021 หากถำสำเร็จ แนวคิดอาถรรพ์ 40 ปีก็ไม่ใช้อธิบายไม่ได้อีกต่อไป

เรื่อง AMY MCKEEVER


อ่านเพิ่มเติม เมื่อ สนามกีฬาโอลิมปิก ถูกทอดทิ้ง

สนามกีฬาโอลิมปิก

Recommend