หน้ากากจงอยในช่วงการระบาดของ กาฬโรค

หน้ากากจงอยในช่วงการระบาดของ กาฬโรค

ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ระหว่างการระบาดของ กาฬโรค ผู้คนต่างเชื่อว่าชุดแต่งกายนี้สามารถฟอกอากาศให้บริสุทธ์ได้ แต่พวกเขาคิดผิด

ครั้งหนึ่ง กาฬโรค เคยเป็นโรคระบาดที่น่ากลัวที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้คนที่ล้มหายตายจากไปกว่าร้อยล้านคน ดูเหมือนกับว่ามันระบาดไปทั่วโลกอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง ผู้ป่วยต่างเจ็บปวดจากอาการของโรค ทั้งต่อมน้ำเหลืองบวม ผิวหนังมีสีคล้ำ และอาการทุกข์ทรมานอื่นๆ

ช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดในยุโรป ทีมแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยกาฬโรคสวมเครื่องแต่งกายที่ตั้งแต่นั้นมาดูเหมือนชุดที่นำมาซึ่งลางร้าย พวกเขาสวมผ้าคลุมยาวตั้งแต่หัวถึงปลายเท้า และสวมหน้ากากที่ดูคล้ายจงอยปากนกยื่นยาว เหตุผลเบื้องหลังหน้ากากป้องกันกาฬโรคเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงเกี่ยวกับธรรมชาติการระบาดของโรคสุดแสนอันตรายนี้

ระหว่างการระบาดของกาฬโรค ซึ่งเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุโรปยาวนานร่วมศตวรรษ เมืองที่ปกคุลมไปด้วยโรคระบาดได้จ้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกาฬโรค ผู้มีประสบการณ์การรักษาโรคมาแล้วทั้งคนรวยและคนจน ทีมแพทย์เหล่านี้ใช้ทุกความเชื่อที่มีในขณะนั้นเกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาด ทั้งการไม่สัมผัสผู้ป่วย การใช้ยาถอนพิษกาฬโรค และหนึ่งในนั้นคือสวมหน้ากากจงอย

กาฬโรค, โรคระบาด, หน้ากากจงอย,
ระหว่างการระบาดของกาฬโรคในยุโรปช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ด แพทย์ผู้รักษากาฬโรคต่างสวมหน้ากากจงอย ชุดคลุมยาว หมวกและถุงมือหนัง โดยเชื่อว่ามันช่วยป้องกันโรคระบาดได้ ทุกวันนี้ เครื่องแต่งกายแปลกประหลาดยังเป็นสัญลักษณ์อันโด่งดัง / ภาพประกอบ ARTEFACT, ALAMY

เครื่องแต่งกายนี้ออกแบบโดย Charles de Lorme ซึ่งเป็นบุคคลที่ราชวงศ์ยุโรปต้องการตัวมารักษาโรคในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ด รวมถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 และ Gaston d’Orléans บุตรแห่ง Marie de Médici เขาอธิบายว่า ในชุดประกอบด้วยเสื้อคลุมยาวเคลือบแว็กซ์ รองเท้าบู้ท เสื้อเชิ้ตที่สวมทับด้านใน หมวกและถุงมือที่ทำมาจากหนังแกะ แพทย์เหล่านี้มักถือไม้เท้าเพื่อใช้จิ้มไปยังตัวของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

ส่วนศรีษะในชุดเป็นส่วนที่ดูแปลกประหลาด: ทีมแพทย์สวมเครื่องแต่งกายที่เป็นปรากฏการณ์ de Lorme อธิบายต่อ และสวมหน้ากากรูปทรงจงอย “ขนาด 15 เซนติเมตร ซึ่งภายในบรรจุเครื่องหอม และช่องระบายอากาศสองรูใกล้ๆ กับรูจมูก เมื่อสูดลมหายใจเข้าออกจะได้กลิ่น [สมุนไพร] ตลอดเวลาที่สวมใส่”

กาฬโรค, โรคระบาด, หน้ากากจงอย,
Charles de Lorme แพทย์ผู้รักษากาฬโรคให้แก่สมาชิกราชวงศ์ในขณะนั้น มักถูกอ้างถึงว่าเป็นผู้คิดค้นเครื่องแต่งกายป้องกันกาฬโรค

แม้ทีมแพทย์ผู้รักษาสวมชุดนี้เดินทางไปทั่วยุโรป แต่เหมือนว่าชุดนี้โด่งดังมากที่สุดในอิตาลี ชุด “หมอรักษากาฬโรค” กลายมาเป็นมุกตลกในคณะละครสัตว์ชื่อ dell’arte และเป็นชุดที่สวมใส่ในงานคาร์นิวัล และยังเป็นชุดที่ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน

ชุดนี้ไม่ได้เป็นเพียงชุดที่แสดงถึงแฟชั่นความตาย แต่มีแนวโน้มที่ช่วยป้องกันแพทย์จากสารพิษ ในช่วงเวลาก่อนการค้นพบทฤษฎีการระบาด แพทย์เชื่อว่ากาฬโรคแพร่ผ่านอากาศที่เป็นพิษ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความไม่สมดุลในร่างกาย หรือของเหลวในร่างกาย ผู้คนคิดว่ากลิ่นหวานและฉุนสามารถฟอกอากาศได้ และช่วยป้องกันสารพิษในอากาศ ในหน้ากากจงอยจึงเต็มไปด้วยดอกไม้แห้งช่อเล็กๆ เครื่องเทศ และน้ำหอมชนิดอื่นๆ ที่หาได้ในเวลานั้น

แพทย์ที่รักษากาฬโรคใส่เครื่องหอมต่างๆ เข้าไปในหน้ากากประมาณ 55 ชนิด เช่น แป้งฝุ่น อบเชย ยางไม้ และน้ำผึ้ง de Lorme คิดว่ารูปทรงจงอยเรียวยาวจะช่วยให้อากาศมีเวลาเพียงพอสำหรับผ่านตัวกรองที่อยู่ภายใน และเชื่อว่าสมุนไพรเหล่านั้นจะดักจับเชื้อโรคไว้ก่อนเข้าสู่จมูกและปอดของแพทย์

ในความเป็นจริง กาฬโรคเกิดจากเชื้อ Yersinia pestis เป็นเชื้อแบคทีเรียที่แพร่จากสัตว์มาสู่คน และผ่านทางเห็บกัด ติดต่อจากคนสู่คนผ่านของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อ และแพร่ออกจากตัวผู้ติดเชื้อด้วยสารคัดหลั่งจากน้ำมูกและน้ำลายจากการจาม

การระบาดใหญ่อันน่าพรั่นพรึงของกาฬโรคเกิดขึ้นสามครั้งก่อนจะค้นพบวิธีการรักษา ครั้งแรกคือการระบาดในยุคจักรพรรดิจัสติเนียน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนวันละ 10,000 คน ในช่วงคริสศักราช 561 ครั้งต่อมาคือการระบาดใหญ่ในยุโรประหว่างปี 1334 และ 1372 เรื่อยมาจนถึงปลายปี 1879 ซึ่งพรากชีวิตชาวยุโรปไปถึงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด และครั้งที่สามเกิดขึ้นในเอเชียระหว่างปี 1894 และ 1959

กาฬโรค, โรคระบาด, หน้ากากจงอย,
ชาวเมืองเวนิสสวมเครื่องแต่งกายของแพทย์รักษากาฬโรคในงานเฉลิมฉลองคาร์นิวัลในปีนี้ ซึ่งสองวันสุดท้ายของงานถูกยกเลิก เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัส / ภาพถ่าย  GIACOMO COSUA, NURPHOTO/GETTY

เป็นที่ชัดเจนว่าทั้งเครื่องแต่งกายและวิธีการของแพทย์ไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก “เป็นเรื่องโชคร้ายหน่อย” นักเขียนเชิงประวัติศาสตร์ แฟรงก์ เอ็ม. สโนว์เดน กล่าวและเสริมว่า “กลยุทธ์การรักษากาฬโรคในช่วงแรก ทำได้เพียงช่วยให้มีชีวิตรอดในช่วงสั้นๆ”

แพทย์ที่รักษากาฬโรคอาจตระหนักได้ในภายหลัง จนกระทั่งการเกิดขึ้นของทฤษฎีโรคระบาดและยาปฏิชีวนะยุคใหม่ ว่าเครื่องแต่งกายของพวกเขาไม่สามารถป้องกันโรคระบาดได้อย่างแท้จริง

เรื่อง เอริน เบลกมอร์


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ: มองจากภายใน: สถานการณ์การระบาดในประเทศไทย

ติดตามเร

Recommend