ในปี 1970 นักเคลื่อนไหว LGBTQ ได้รวมตัวกันในเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง “ใครก็ตามที่อยู่ที่นั่น เมื่อกลับมาย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่คนคนนั้นจะไม่ขนลุก”
เมื่อ John D’Emilio ได้ยินว่ากลุ่มนักเคลื่อนไหว LGBTQ จะเดินรวมตัวกันเดินขบวนตามท้องถนนในนิวยอร์กในเดือนมิถุนายน 1970 เขาบอกกับแฟนหนุ่มและเพื่อนเกย์หลายคนของเขา แต่คุณเชื่อไหมว่ามันเป็นการประท้วงที่เกินกว่าจินตนาการของใครหลายคนเลยล่ะ D’Emilio ได้บอกเล่าประวัติศาสตร์ ที่รวบรวมโดย OutHistory
ชาว LGBTQ มีข้อสงสัยมาอย่างยาวนานว่าทำไมพวกเขาจะใช้ชีวิตอย่างอิสระไม่ได้ จนถึงปี 1969 ความคิดที่ว่ากลุ่ม LGBTQ จำนวนมากเฉลิมฉลองในเรื่องรสนิยมทางเพศของพวกเขาในที่สาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงเป็นอย่างยิ่ง เวลากว่าหลายศตวรรษที่การรักร่วมเพศถูกตราหน้าว่าเป็น อาชญากร และเป็นการข่มเหง “การออกมาต่อสู้” นั้นมาพร้อมกับการคุกคาม ความรุนแรง และการกีดกันจากสังคมภายนอก
แต่สิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนไปหลังจากการจลาจล ณ สโตนวอลล์ในปี 1969 เมื่อกลุ่ม LGBTQ ก่อจลาจลเพื่อตอบโต้การบุกโจมตีของตำรวจที่ Stonewall Inn บาร์เกย์ในเมืองนิวยอร์ก เหตุการณ์ที่สโตนวอลล์ได้รวมเป็นหนึ่ง ชาว LGBTQ หลายพันคนพากันไปที่ถนนเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อของขบวนพาเหรดแห่งความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีการเดินขบวนเพื่ออิสรภาพของเกย์ที่จัดขึ้นในนิวยอร์กและเมืองอื่นๆมากมาย ในสหรัฐอเมริกาปี 1970 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอัตลักษณ์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องในอีกหลายทศวรรษต่อมา
สโตนวอลล์ จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว
แม้จะเกิดความกลัวว่ากลุ่มรักร่วมเพศจะก่อความวุ่นวายในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แต่ชุมชน LGBTQ ก็เคยปรากฏตัวต่อสาธารณะชนมาก่อนแล้ว เช่น ในปี 1965 สมาชิกของการประชุมระดับภูมิภาคตะวันออกขององค์กรรักร่วมเพศ (ERCHO) ได้เริ่มการล้อมรั้วในพื้นที่นอก Independence Hall ของเมืองฟิลาเดลเฟีย ในวันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี เหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นการรำลึกประจำปี โดยจะมุ่งเน้นไปที่การได้รับสิทธิการเป็นพลเมืองขั้นพื้นฐานและถูกควบคุมโดยการออกแบบของพื้นที่จัดงาน ความกลัว และความรุนแรงอาจจะเกิดขึ้น ผู้จัดงานจึงออกกฎการแต่งกายแบบมืออาชีพและเข้มงวดพร้อมเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน และจะสนับสนุนให้เดินขบวนในแนวรั้วที่อย่างเป็นระเบียบและมีเจ้าหน้าที่ดูแล
แต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 การจลาจลในสโตนวอลล์ได้สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วสังคมรักร่วมเพศ และกลุ่ม LGBTQ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับทุกคน ทันใดนั้น ขบวนการปลดปล่อยเกย์ที่มีอยู่ก็เริ่มปะทุอย่างเดือดพล่าน นักเคลื่อนไหวที่เริ่มเบื่อหน่ายก็เกิดแรงบัลดาลใจ เกิดการกระตุ้นความคับข้องใจให้กับองค์กร มีการจุดประกายให้เกิดกลุ่มเคลื่อนไหวใหม่ๆ มากมาย (นักเคลื่อนไหวกลุ่ม LGBTQ ในยุคแรกใช้กลวิธีประท้วงที่เรียกว่า zapping)
Craig Rodwell นักเคลื่อนไหวที่ช่วยจัดระเบียบการรำลึกประจำปี เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมในการจลาจลที่สโตนวอลล์ด้วยเช่นกัน ในการประชุมของ ERCHO เมื่อปลายปี 1969 เขาเสนอว่าการประท้วงในฟิลาเดลเฟียนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ “ร่วมด้วยช่วยกันให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากขึ้น และรวมเอาแนวคิดและอุดมคติของการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่เรามีส่วนร่วมกันมาเพื่อสิทธิของพวกเรานั่นคือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน”
ERCHO ตัดสินใจที่จะจัดการเดินขบวนในนิวยอร์กทุกปีในเดือนมิถุนายนเพื่อรำลึกถึงการลุกฮือที่สโตนวอลล์ และสนับสนุนให้กลุ่มอื่นๆ ทั่วประเทศรวมตัวในวันเดียวกันในนิวยอร์ก และจะมีการเรียกว่าเป็นวันประกาศอิสรภาพของถนนคริสโตเฟอร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ที่ตั้งของหมู่บ้านกรีนิชซึ่งอยู่ในสโตนวอลล์อินน์ กโดยารเดินขบวนจะไม่มีการแต่งกายแบบเข้มงวด ต่างจากการกิจกรรมระลึกความจำประจำปี
“เหล่าคนรักร่วมเพศต้องการมีชีวิตที่อิสระ แต่ในสังคมปัจจุบันของเรากลับมีข้อกังขาต่อพวกเขา” บทความหนึ่งในปี 1970 เกี่ยวกับการเดินขบวนที่เกิดขึ้นใน Gay Liberation Front News ระบุ “การปลดปล่อยเกย์มีไว้สำหรับคนรักร่วมเพศที่ปฏิเสธการยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การปลดปล่อยเกย์มีไว้สำหรับคนรักร่วมเพศที่ยืนหยัดและต่อสู้กลับไป”
การเดินขบวนปลดปล่อยเกย์ครั้งแรก
กลุ่มต่างๆ ทั่วประเทศ เริ่มวางแผนการเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงสิทธิของตนเอง โดยครั้งแรกจริงๆไม่ได้เกิดขึ้นที่นิวยอร์ก แต่เกิดขึ้นในเมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1970 มีผู้เดินขบวนประมาณ 150 คนเดินขบวนจากซีวิคเซ็นเตอร์พลาซ่าไปยังจัตุรัสวอชิงตันและตะโกนคำขวัญเช่น “พลังของพวกเราก็คือพลังของทุกคน” ในวันเดียวกันนั้น ชาวซานฟรานซิสโกกลุ่มเล็กๆ เดินไปตามถนน Polk จากนั้นได้ไปปิกนิกแบบฉบับของพวกเขาเอง แต่ตำรวจได้มาสลายการเดินขบวนไป
ด้าน ERCHO และกลุ่มอื่นๆ ในนิวยอร์กใช้เวลาหลายเดือนในการวางแผนงานในเมืองแมนฮัตตัน ด้วยความช่วยเหลือจากผู้จัดงาน เช่น เบรนดา ฮาเวิร์ด นักเคลื่อนไหวที่เป็นไบเซ็กชวล (ผู้ที่ชื่นชอบทั้งสองเพศ) ซึ่งฟันกรามของเธอได้ถูกตัดออกไประหว่างการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเวียดนามในช่วงปลายทศวรรษ 1960 คุณอ่านไม่ผิดหรอก ฟันกราม แต่ผลตอบรับกลับสร้างความประหลาดใจให้กับนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ผู้คนหลายพันคนมารวมตัวกันที่หมู่บ้านกรีนิชและเริ่มเดินขบวน ตามรายงานของสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ ผู้เข้าร่วมขบวนต่อแถวขยายออกไปยาว 15 ช่วงตึก (แม้ว่าผู้จัดงานบอกกับสำนักข่าวว่ามีคน 3,000 , 8,000 หรือมากถึง 20,000 คน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประเมินว่า “อย่างน้อยอาจจะถึง 100,000 คน”) ชายหนุ่มเปลื้องท่อนบนเดินจับมือกันและจูบต่อหน้าสาธารณชน มีการถือป้ายที่ประกาศรสนิยมทางเพศของพวกเขา และผู้ประท้วงตะโกนสโลแกนเช่น “พลังเกย์” “เกย์ไม่ได้อันตราย” และ พูดคำว่า “เกย์ เกย์ ตลอดทาง!” การรายงานข่าวของขบวนพาเหรดเน้นไปที่ผู้เดินขบวนเป็นหลัก แต่ก็ต้องเหลือบไปมองผู้คนโดยรอบที่ดูท่าทางกระตือรือร้นเป็นพิเศษ และเสียงกล้องถ่ายรูปจากผู้คนที่พากันเก็บภาพอย่างตื่นตาตื่นใจ
“ในขณะที่เราเดินขบวนต่อไป ฝูงชนก็ขยายขึ้น ขยายขึ้น” เจอร์รี ฮูส นักเคลื่อนไหวบอกกับ Raven Snook แห่ง นิตยสาร TimeOut New York ในการให้สัมภาษณ์ปี 2019 ว่า “ไม่มีใครหรอกที่สามารถนำเรื่องนี้กลับมาเล่าได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลย อย่างน้อยก็ต้องมีขนลุกกันบ้าง” ผู้เดินขบวนจากหมู่บ้านกรีนิชไปยังเซ็นทรัลพาร์ค สถานที่ซึ่งพวกเขาได้จัดงานชุมนุมเกย์พร้อมกล่าวสุนทรพจน์และพบปะสังสรรค์กันอย่างเป็นมิตร
สำหรับหลายๆ คน การประท้วงครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเขาปรากฏตัวต่อสาธารณะในฐานะบุคคล LGBTQ อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่ละกลุ่มก็สะท้อนถึงพลังที่มีอยู่ในตัวของผู้เข้าร่วม “การเดินขบวนเป็นภาพสะท้อนของเรา ตะโกนออกมาดัง ๆ และจงภาคภูมิใจกับสิ่งที่เป็น” นักเคลื่อนไหว Mark Segal แกนนำของ New York March เล่าในประวัติศาสตร์ปากเปล่าของ New York Times ในปี 2020
มรดกที่น่าภาคภูมิใจ
การปฏิวัติได้จุดประกายขึ้นที่สโตนวอลล์ แต่ขบวนพาเหรดวันประกาศอิสรภาพของถนนคริสโตเฟอร์ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตของขบวนการ LGBTQ ขบวนพาเหรดแห่งความภาคภูมิใจยังคงดำเนินต่อไป และมีการจัดระเบียบมากขึ้นในทุกๆปี
วันนี้ มีขบวนพาเหรดและเทศกาลหลายร้อยงานเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของ LGBTQ ทั่วโลกในทุกเดือนมิถุนายน ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งคือในนิวยอร์ก ในปี 2019 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีของการจลาจลสโตนวอลล์ ผู้คนประมาณ 150,000 คนเดินขบวนในขบวนพาเหรดที่กินเวลานาน 12 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่ผู้คนประมาณห้าล้านคนเข้าร่วมงาน Pride ของเมือง (ดูประวัติศาสตร์ LGBTQ กว่าร้อยปีในนิวยอร์กซิตี้) แม้จะเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงภัยอันตายที่ครั้งหนึ่งเคยพบเห็นได้ทั่วไปในเมืองส่วนใหญ่ แต่สำหรับหลาย ๆ คน ขบวนพาเหรด “Pride” เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำเร็จและการเสียสละของพวกเขาทุกๆ คน
แปลและเรียบเรียงโดย สิรภัทร จิตต์ชื่น
โครงการสหกิจศึกษากองบรรณาธิการเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย