ประวัติศาสตร์ของขบวนพาเหรด “Pride” เพื่อการปลดปล่อยชาวรักร่วมเพศ

ประวัติศาสตร์ของขบวนพาเหรด “Pride” เพื่อการปลดปล่อยชาวรักร่วมเพศ

ในปี 1970 นักเคลื่อนไหว LGBTQ ได้รวมตัวกันในเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง “ใครก็ตามที่อยู่ที่นั่น เมื่อกลับมาย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่คนคนนั้นจะไม่ขนลุก”

เมื่อ John D’Emilio ได้ยินว่ากลุ่มนักเคลื่อนไหว LGBTQ จะเดินรวมตัวกันเดินขบวนตามท้องถนนในนิวยอร์กในเดือนมิถุนายน 1970 เขาบอกกับแฟนหนุ่มและเพื่อนเกย์หลายคนของเขา แต่คุณเชื่อไหมว่ามันเป็นการประท้วงที่เกินกว่าจินตนาการของใครหลายคนเลยล่ะ D’Emilio ได้บอกเล่าประวัติศาสตร์ ที่รวบรวมโดย OutHistory

ชาว LGBTQ มีข้อสงสัยมาอย่างยาวนานว่าทำไมพวกเขาจะใช้ชีวิตอย่างอิสระไม่ได้ จนถึงปี 1969 ความคิดที่ว่ากลุ่ม LGBTQ จำนวนมากเฉลิมฉลองในเรื่องรสนิยมทางเพศของพวกเขาในที่สาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงเป็นอย่างยิ่ง เวลากว่าหลายศตวรรษที่การรักร่วมเพศถูกตราหน้าว่าเป็น อาชญากร และเป็นการข่มเหง “การออกมาต่อสู้” นั้นมาพร้อมกับการคุกคาม ความรุนแรง และการกีดกันจากสังคมภายนอก

แต่สิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนไปหลังจากการจลาจล ณ สโตนวอลล์ในปี 1969 เมื่อกลุ่ม LGBTQ ก่อจลาจลเพื่อตอบโต้การบุกโจมตีของตำรวจที่ Stonewall Inn บาร์เกย์ในเมืองนิวยอร์ก เหตุการณ์ที่สโตนวอลล์ได้รวมเป็นหนึ่ง ชาว LGBTQ หลายพันคนพากันไปที่ถนนเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อของขบวนพาเหรดแห่งความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีการเดินขบวนเพื่ออิสรภาพของเกย์ที่จัดขึ้นในนิวยอร์กและเมืองอื่นๆมากมาย ในสหรัฐอเมริกาปี 1970 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอัตลักษณ์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องในอีกหลายทศวรรษต่อมา

ตอนที่เคเลบ (ซ้าย) และเอ็มมี (ขวา) ฝาแฝดจากรัญแมสซาชูเซตส์ เกิดเมื่อปี 1998 ทั้งคู่ดูคล้ายกันมาก ทุกวันนี้เอ็มมีบอกว่า “ตอนเราอายุ 12 ปี ฉันไม่รู้สึกเหมือนเป็นเด็กผู้ชายเลยค่ะ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงกับเค้าได้” พออายุ 17 ปี เอ็มมีก็เปลี่ยนเป็นคนข้ามเพศและเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ

สโตนวอลล์ จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว

แม้จะเกิดความกลัวว่ากลุ่มรักร่วมเพศจะก่อความวุ่นวายในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แต่ชุมชน LGBTQ ก็เคยปรากฏตัวต่อสาธารณะชนมาก่อนแล้ว เช่น ในปี 1965 สมาชิกของการประชุมระดับภูมิภาคตะวันออกขององค์กรรักร่วมเพศ (ERCHO) ได้เริ่มการล้อมรั้วในพื้นที่นอก Independence Hall ของเมืองฟิลาเดลเฟีย ในวันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี เหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นการรำลึกประจำปี โดยจะมุ่งเน้นไปที่การได้รับสิทธิการเป็นพลเมืองขั้นพื้นฐานและถูกควบคุมโดยการออกแบบของพื้นที่จัดงาน ความกลัว และความรุนแรงอาจจะเกิดขึ้น ผู้จัดงานจึงออกกฎการแต่งกายแบบมืออาชีพและเข้มงวดพร้อมเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน และจะสนับสนุนให้เดินขบวนในแนวรั้วที่อย่างเป็นระเบียบและมีเจ้าหน้าที่ดูแล

แต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 การจลาจลในสโตนวอลล์ได้สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วสังคมรักร่วมเพศ และกลุ่ม LGBTQ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับทุกคน ทันใดนั้น ขบวนการปลดปล่อยเกย์ที่มีอยู่ก็เริ่มปะทุอย่างเดือดพล่าน นักเคลื่อนไหวที่เริ่มเบื่อหน่ายก็เกิดแรงบัลดาลใจ เกิดการกระตุ้นความคับข้องใจให้กับองค์กร มีการจุดประกายให้เกิดกลุ่มเคลื่อนไหวใหม่ๆ มากมาย (นักเคลื่อนไหวกลุ่ม LGBTQ ในยุคแรกใช้กลวิธีประท้วงที่เรียกว่า zapping)

Craig Rodwell นักเคลื่อนไหวที่ช่วยจัดระเบียบการรำลึกประจำปี เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมในการจลาจลที่สโตนวอลล์ด้วยเช่นกัน ในการประชุมของ ERCHO เมื่อปลายปี 1969 เขาเสนอว่าการประท้วงในฟิลาเดลเฟียนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ “ร่วมด้วยช่วยกันให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากขึ้น และรวมเอาแนวคิดและอุดมคติของการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่เรามีส่วนร่วมกันมาเพื่อสิทธิของพวกเรานั่นคือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน”

ERCHO ตัดสินใจที่จะจัดการเดินขบวนในนิวยอร์กทุกปีในเดือนมิถุนายนเพื่อรำลึกถึงการลุกฮือที่สโตนวอลล์ และสนับสนุนให้กลุ่มอื่นๆ ทั่วประเทศรวมตัวในวันเดียวกันในนิวยอร์ก และจะมีการเรียกว่าเป็นวันประกาศอิสรภาพของถนนคริสโตเฟอร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ที่ตั้งของหมู่บ้านกรีนิชซึ่งอยู่ในสโตนวอลล์อินน์ กโดยารเดินขบวนจะไม่มีการแต่งกายแบบเข้มงวด ต่างจากการกิจกรรมระลึกความจำประจำปี

สัญชาตญาณความเป็นแม่
Liam Johnson คุณพ่อข้ามเพศวัย 20 ปีอุ้ม Aspen ลูกสาววัยหนึ่งขวบไว้ในอ้อมแขน ตัวเขาและ Racquelle Trammell ภรรยาวัย 30 ปี คิดเรื่องการมีลูกอยู่นานมาก แม้ดูภายนอก Liam จะเป็นผู้ชายแต่เขายังสามารถตั้งครรภ์และคลอดลูกตามธรรมชาติได้ ซึ่ง Racquelle เองก็หยุดเทคฮอร์โมนเอสโตเจนเพื่อให้ร่างกายผลิตสเปิร์มสำหรับปฏิสนธิกับไข่ของ Liam ภาพถ่ายโดย JJ Fabre

“เหล่าคนรักร่วมเพศต้องการมีชีวิตที่อิสระ แต่ในสังคมปัจจุบันของเรากลับมีข้อกังขาต่อพวกเขา” บทความหนึ่งในปี 1970 เกี่ยวกับการเดินขบวนที่เกิดขึ้นใน Gay Liberation Front News ระบุ “การปลดปล่อยเกย์มีไว้สำหรับคนรักร่วมเพศที่ปฏิเสธการยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การปลดปล่อยเกย์มีไว้สำหรับคนรักร่วมเพศที่ยืนหยัดและต่อสู้กลับไป”

การเดินขบวนปลดปล่อยเกย์ครั้งแรก

กลุ่มต่างๆ ทั่วประเทศ เริ่มวางแผนการเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงสิทธิของตนเอง โดยครั้งแรกจริงๆไม่ได้เกิดขึ้นที่นิวยอร์ก แต่เกิดขึ้นในเมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1970 มีผู้เดินขบวนประมาณ 150 คนเดินขบวนจากซีวิคเซ็นเตอร์พลาซ่าไปยังจัตุรัสวอชิงตันและตะโกนคำขวัญเช่น “พลังของพวกเราก็คือพลังของทุกคน” ในวันเดียวกันนั้น ชาวซานฟรานซิสโกกลุ่มเล็กๆ เดินไปตามถนน Polk จากนั้นได้ไปปิกนิกแบบฉบับของพวกเขาเอง แต่ตำรวจได้มาสลายการเดินขบวนไป

ด้าน ERCHO และกลุ่มอื่นๆ ในนิวยอร์กใช้เวลาหลายเดือนในการวางแผนงานในเมืองแมนฮัตตัน ด้วยความช่วยเหลือจากผู้จัดงาน เช่น เบรนดา ฮาเวิร์ด นักเคลื่อนไหวที่เป็นไบเซ็กชวล (ผู้ที่ชื่นชอบทั้งสองเพศ) ซึ่งฟันกรามของเธอได้ถูกตัดออกไประหว่างการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเวียดนามในช่วงปลายทศวรรษ 1960 คุณอ่านไม่ผิดหรอก ฟันกราม แต่ผลตอบรับกลับสร้างความประหลาดใจให้กับนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ผู้คนหลายพันคนมารวมตัวกันที่หมู่บ้านกรีนิชและเริ่มเดินขบวน ตามรายงานของสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ ผู้เข้าร่วมขบวนต่อแถวขยายออกไปยาว 15 ช่วงตึก (แม้ว่าผู้จัดงานบอกกับสำนักข่าวว่ามีคน 3,000 , 8,000 หรือมากถึง 20,000 คน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประเมินว่า “อย่างน้อยอาจจะถึง 100,000 คน”) ชายหนุ่มเปลื้องท่อนบนเดินจับมือกันและจูบต่อหน้าสาธารณชน มีการถือป้ายที่ประกาศรสนิยมทางเพศของพวกเขา และผู้ประท้วงตะโกนสโลแกนเช่น “พลังเกย์” “เกย์ไม่ได้อันตราย” และ พูดคำว่า “เกย์ เกย์ ตลอดทาง!” การรายงานข่าวของขบวนพาเหรดเน้นไปที่ผู้เดินขบวนเป็นหลัก แต่ก็ต้องเหลือบไปมองผู้คนโดยรอบที่ดูท่าทางกระตือรือร้นเป็นพิเศษ และเสียงกล้องถ่ายรูปจากผู้คนที่พากันเก็บภาพอย่างตื่นตาตื่นใจ

แถวบน (ยืน) จากซ้ายไปขวา 1. แฮร์รี ชาลส์เวิร์ท, 20 ปี, เควียร์ (queer — ไม่ปิดกั้นทางเพศ) 2. เอเชียนนา สกอตต์, 20 ปี, นางหรือนายแบบทั้งสองเพศรวมกัน 3. แองเจลิกา ฮิกส์, 23 ปี หญิงตรงเพศ 4. มอร์แกน เบอร์โร ฟรานซิส, 30 ปี, เลือกเป็นได้ทั้งสองเพศ 5. เอลี, 12 ปี, ชายข้ามเพศ 6. แอเรียล นิโคลสัน เมอร์ทาก, 15 ปี, หญิงข้ามเพศ 7. พิดเจียน พาโกนิส, 30 ปี, ไม่แบ่งเป็นสองเพศ 8. เชพเพิร์ด เอ็ม. เวอร์บัส, 24 ปี, ไม่ปิดกั้น ทางเพศที่ไม่แบ่งเป็นสองเพศ 9. เชอร์โน บีโก, 25 ปี, นักเคลื่อนไหวผิวสี/ชาว ข้ามเพศ 10. อล็อก เวด-มีนอน, 25 ปี, ไม่แบ่งเป็นสองเพศ
แถวล่าง (นั่ง) จากซ้ายไปขวา 1.เมมฟิส เมอร์ฟี, 16 ปี, หญิงข้ามเพศ 2.อเล็กซ์ ไบรสัน, 11 ปี, ชายข้ามเพศ 3.เดนเซล ฮัตชินสัน, 19 ปี, ชายที่ชอบเพศตรงข้าม 4.ลี, 16 ปี, เด็กชายข้ามเพศ 5.จูลส์, 16 ปี, เด็กชายข้ามเพศ

“ในขณะที่เราเดินขบวนต่อไป ฝูงชนก็ขยายขึ้น ขยายขึ้น” เจอร์รี ฮูส นักเคลื่อนไหวบอกกับ Raven Snook แห่ง นิตยสาร TimeOut New York ในการให้สัมภาษณ์ปี 2019 ว่า “ไม่มีใครหรอกที่สามารถนำเรื่องนี้กลับมาเล่าได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลย อย่างน้อยก็ต้องมีขนลุกกันบ้าง” ผู้เดินขบวนจากหมู่บ้านกรีนิชไปยังเซ็นทรัลพาร์ค สถานที่ซึ่งพวกเขาได้จัดงานชุมนุมเกย์พร้อมกล่าวสุนทรพจน์และพบปะสังสรรค์กันอย่างเป็นมิตร

สำหรับหลายๆ คน การประท้วงครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเขาปรากฏตัวต่อสาธารณะในฐานะบุคคล LGBTQ อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่ละกลุ่มก็สะท้อนถึงพลังที่มีอยู่ในตัวของผู้เข้าร่วม “การเดินขบวนเป็นภาพสะท้อนของเรา ตะโกนออกมาดัง ๆ และจงภาคภูมิใจกับสิ่งที่เป็น” นักเคลื่อนไหว Mark Segal แกนนำของ New York March เล่าในประวัติศาสตร์ปากเปล่าของ New York Times ในปี 2020

มรดกที่น่าภาคภูมิใจ

การปฏิวัติได้จุดประกายขึ้นที่สโตนวอลล์ แต่ขบวนพาเหรดวันประกาศอิสรภาพของถนนคริสโตเฟอร์ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตของขบวนการ LGBTQ ขบวนพาเหรดแห่งความภาคภูมิใจยังคงดำเนินต่อไป และมีการจัดระเบียบมากขึ้นในทุกๆปี

วันนี้ มีขบวนพาเหรดและเทศกาลหลายร้อยงานเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของ LGBTQ ทั่วโลกในทุกเดือนมิถุนายน ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งคือในนิวยอร์ก ในปี 2019 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีของการจลาจลสโตนวอลล์ ผู้คนประมาณ 150,000 คนเดินขบวนในขบวนพาเหรดที่กินเวลานาน 12 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่ผู้คนประมาณห้าล้านคนเข้าร่วมงาน Pride ของเมือง (ดูประวัติศาสตร์ LGBTQ กว่าร้อยปีในนิวยอร์กซิตี้) แม้จะเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงภัยอันตายที่ครั้งหนึ่งเคยพบเห็นได้ทั่วไปในเมืองส่วนใหญ่ แต่สำหรับหลาย ๆ คน ขบวนพาเหรด “Pride” เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำเร็จและการเสียสละของพวกเขาทุกๆ คน

เรื่อง ERIN BLAKEMORE

แปลและเรียบเรียงโดย สิรภัทร จิตต์ชื่น

โครงการสหกิจศึกษากองบรรณาธิการเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย


อ่านเพิ่มเติม หลากหลายโฉมหน้าของเพศสภาพในปัจจุบัน

Recommend