เรื่องราวของ เพชรโฮป หรือ เพชรต้องสาป ‘Hope Diamond’ เพชรในตำนานที่ไม่ว่าใครเป็นผู้ครอบครอง ต่างก็ต้องเจอกับโชคร้าย
ฉายา ‘เพชรต้องสาป’ ของเพชร Hope Diamond นี้เริ่มต้นมาจากไหนกันแน่? เริ่มต้นจากเรื่องราวการเดินทางที่ยาวไกลตั้งแต่ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1630 ถึง 1670 พ่อค้าเพชรชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า จีน เบ๊ปติสท์ ทาเวอร์เนีย (Jean Baptiste Tavernier) ได้พบมันที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งค้าเพชรแห่งเดียวในโลกในตอนนั้น
.
เขาเสนอข้อตกลงซื้อขายที่ไม่มีพ่อค้าคนไหนให้ได้เพื่อซื้อเพชร เขาจึงเป็นผู้ครอบครองคนแรก จากนั้นในปี 1668 ทาเวอร์เนีย ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสและขายเพชรหนัก 11 กะรัตนี้ให้กับกษัตริย์พร้อมกับเพชรอื่น ๆ อีกประมาณ 200 เม็ด โดยพระองค์ถูกใจเพชรสีน้ำเงินเม็ดใหญ่นี้อย่างยิ่ง
.
เพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้น พระองค์ได้ให้ช่างเจียระไนมันอย่างสวยงามและเปล่งประกายกลายเป็นรูปร่างที่สมมาตร และตั้งชื่อว่า ‘French Blue’ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพชรเม็ดนี้ถูกส่งต่อมาเรื่อย ๆ ให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ 16 จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของอัศวิน ซึ่งเรียกว่า Order of the Golden Fleece
เรื่องราวต้องสาปเริ่มต้นที่จุดนี้ อย่างที่เราทราบกัน ยุคปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมีการประหารด้วยเครื่องกิโยติน และเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงค์ฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็เป็นผู้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ หลังจากการประหาร เพชรถูกขโมยไปในปี 1792 และหายไปประมาณ 20 ปี
.
จนกระทั่งมีเพชรสีน้ำเงินแบบเดียวกับ French Blue แต่เล็กกว่า โดยมีขนาด 45 กะรัตปรากฎขึ้นที่ลอนดอนในปี 1812 โดยอยู่ในการครอบครองของพ่อค้าเพชรชาวอังกฤษที่ชื่อว่า แดเนียล เอลิอาสัน (Daniel Eliason) เขาไม่ได้บอกว่าได้มาอย่างไร (เป็นเพชรเม็ดเดียวกันในสถาบันสมิธโซเนียน)
.
เขาขายเพชรให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 4 ของอังกฤษ พระองค์สวมเพชรสีเป็นเครื่องราชตกแต่ง เมื่อได้รับเพชรมาพระองค์ก็ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายจนเกือบทำให้ราชบังลังก์ต้องล้มละลาย หลังจากพระองค์สวรรคต ดยุคแห่งเวลลิงตัน ผู้บริหารของพระองค์ ต้องขายเพชรสีน้ำเงินเพื่อชำระหนี้ ให้กับ เฮนรี ฟิลลิป โฮบ (Henry Philip Hope) นักสะสมเพชร
และมันถูกตั้งชื่อเป็น Hope Diamond ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตระกูลโฮปเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในอังกฤษ แต่เมื่อได้เพชรมาภายในเวลาไม่กี่ชั่วอายุคน พวกเขาผลาญความมั่งคั่งมหาศาลนั้นไป ตระกูลจึงต้องขายเพชรเม็ดนี้ไปเพื่อใช้หนี้ในปี 1901 โดย โจเซฟ แฟรงเคิล (Joshep Frankel)
.
แฟรงเคิลหวังว่าจะขายมันได้อย่างรวดเร็วเพื่อทำกำไร แต่มันกลับไม่เป็นไปตามที่คาด เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งผลเสียต่อธุรกิจของแฟรงเคิล ทำให้บริษัทของเขาใกล้จะล้มลาย ทาง New York Times กล่าวในปี 1908 ว่าเพชรเม็ดนี้มีส่วนต่อความล้มเหลวของแฟรงเคิล จนมันกลายเป็นกระแสขึ้นมาทันที
.
ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังพูดถึง “อิทธิพลที่น่าสะพรึงกลัว” และ “พลังของรังสีลึกลับ” ที่เล็ดลอดออกมาใต้พื้นผิวที่ระยิบระยับของเพชรที่ปลดปล่อยความชั่วร้ายมาสู่ผู้ที่ครอบครองมัน เป็นสาเหตุของการประหารชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต การล้มละลายและการหย่าร้างของโฮป และการล่มสลายของแฟรงเคิล
แต่เรื่องราวต้องสาปยังดำเนินต่อไป เพชรถูกขายให้กับ ปิแอร์ คาร์เทียร์ (Pierre Cartier) ผู้หลงใหลในเรื่องลี้ลับต้องสาป เขาแต่งเติมความเป็นมาของเพชรเม็ดนี้เล็กน้อยและหลอกล่อขายมันให้กับ เอวาลีนและเน็ด แมคลีน (Evalyn and Ned McLean) หนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา แต่แล้ว ในปี 1919 ลูกชายวัย 10 ขวบของพวกเขาถูกรถชนเสียชีวิต
.
หนังสือพิมพ์ลงข่าวทันทีว่า ‘Hope Diamond’ อาจถูกต้องสาปจริง ๆ ไม่เพียงเท่านั้น เน็ด ผู้เป็นสามี ยังเป็นบ้า ครอบครัวล้มละลาย และลูกสาวของครอบครัวก็ฆ่าตัวตายในปี 1946 เอวาลีนเสียชีวิตในปี 1947 ต่อมา ท้ายที่สุด เพชรก็เข้ามาอยู่ในสถาบันสมิธโซเนียน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา
.
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทีมงานได้วิจัยเพชรเม็ดนี้มาตลอด พวกเขาระบุว่าเพชรก่อตัวใต้พื้นโลกลึกลงไปประมาณ 145 กิโลเมตรเมื่อพันล้านปีก่อน จากนั้นลอยขึ้นสู่พื้นโลกผ่านปล่องภูเขาไฟบนที่ราบสูงเดคคานของอินเดีย ถูกพัดพาไปตามแม่น้ำและลำธาร ไปยังทุ่งลุ่มน้ำที่ซึ่งมันถูกขุด
.
ท้ายที่สุด ดูเหมือนว่าเพชรต้องสาปนี้จะพอใจกับบ้านใหม่ของมัน เพราะ เจฟ โพสต์ (Jeff Post) ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ กล่าวว่า “สำหรับสถาบันสมิธโซเนียน โฮปไดมอนด์เป็นแหล่งแห่งความโชคดีอย่างเห็นได้ชัด” เพราะมันทำให้ผู้คนสนใจและบริจาคเพื่อการกุศลแก่พิพิธภัณฑ์มากขึ้น
.
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา