Thailand Sustainability Expo 2021 (TSX) ตอกย้ำความสำเร็จต่อเนื่องปีที่ 2

Thailand Sustainability Expo 2021 (TSX) ตอกย้ำความสำเร็จต่อเนื่องปีที่ 2

เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ สำหรับงาน “Thailand Sustainability Expo 2021 (TSX)”

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2021 พิธีเปิดงาน “Thailand Sustainability Expo 2021 (TSX)” ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่้งปีนี้ได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในรูปแบบการจัดนิทรรศการออนไลน์แบบเสมือนจริง (Virtual Expo) ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability)

นอกจากเรื่องรูปแบบการจัดการบนสื่อออนไลน์ที่สามารถรองรับผู้เข้าชมงานได้มากขึ้นกว่าปีที่แล้ว ปีนี้ยังโดดเด่นด้วยจำนวนของภาคเครือข่ายด้านความยั่งยืนจำนวนมากที่สุด ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกเป็น Word Industry leader ในแต่ละสาขาอุตสาหกรรม Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI นำโดย
– บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
– บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
– บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

สำหรับการจุดเด่นของงานในปีนี้ ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับนวัตกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก เสวนาจากวิทยากรและนักปฏิบัติตัวจริง และแหล่งช้อปสินค้าจากธุรกิจยั่งยืนมารวมไว้ในที่เดียว โดยมีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2564 – 10 ตุลาคม 2564 รวมทั้งหมด 11 วัน บนโลกออนไลน์ www.tsx2021.thailandsustainabilityexpo.com

เรียกได้ว่าเป็นพลังร่วมครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างองค์กรชั้นนำของประเทศไทย ที่มีการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาร่วมกันเนรมิตงานครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ต่อคนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไปถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ในพิธีเปิดงาน TSX 2021 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานพิธีเปิด และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

…เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เราเริ่มขาดแคลนทรัพยากร และเริ่มไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทุกวันนี้ เราพูดถึงเรื่องพอเพียงมากขึ้น …ในขณะเดียวกัน เราทุกคนรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ฤดูกาลฝนตกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำสำหรับการเพาะปลูกได้อย่างเดิม

ปีนี้ก็เช่นกัน ช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำมาก แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เราจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอไปตลอดทั้งปี ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัว สำหรับการรับมือกับสถานการณ์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อเปลี่ยนการตั้งรับเป็นการอยู่รอดอย่างยั่งยืน

หลังจากพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ผู้บริการระดับสูงของแต่ละบริษัทได้เปิดเวทีเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับ “Post-COVID” หรือสถานการณ์หลังการระบาดใหญ่ที่องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวในสถานการณ์ที่มีความท้ายท้ายและมีความไม่แน่นอนสูง ดำเนินรายการโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น 

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราได้ก้าวเข้าสู่การปรับตัวมาตั้งแต่การระบาดใหญ่ระลอกแรกแล้ว ผมมองว่า มนุษย์เรามีความสามารถเรื่องการปับตัวได้ตลอดเวลา และเราทำได้ดีมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่า มนุษย์เราอยู่รอดจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นได้หลายครั้ง และเราก็ใช้ชีวิตในวิถีปกติใหม่มาระยะเวลสหนึ่งแล้ว

จนถึงตอนนี้ เราก็รู้ว่าวิถีการปรับตัวเป็นเรื่องปกติในชีวิตของเรา และผมได้พูดคุบกับผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานในบริษัทว่า เราจะกลัมาแข็งแกร่งกว่าเดิม หรือ Stronger Than Ever เพื่อรองรับกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น

 

ดร.กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (จากซ้ายมือ คนที่ 3)

ดร.กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย และบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวถึงประเด็นเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่กระทบต่อการทำธุรกิจ ว่า

เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 และการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น หน้าที่ของเราในฐานะผู้นำคือ เราจะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างไร วิกฤตเป็นตัวเร่งให้เราต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้สูงขึ้น เพื่ออยู่ร่วมกับกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งส่วนธุรกิจและส่วนบุคคล

นอกจากนี้ วิกฤตยังผลักให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจที่รวเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากธุรกิจออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ โดยเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ ธุรกิจจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง (ขวามือ)

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า

ปัจจัยเรื่องการระบาดใหญ่ได้กระตุ้นให้ทุกองค์กรต้องใส่ใจเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น “เรื่องความยั่งยืนเป็นหลักคิดของการอยู่ร่วมกันทั้งเรื่องของการทำธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดย GC ก็ปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับพนักงานในบริษัทเป็นอันดับแรก พนักงานต้องปลอดภัย อันดับต่อมาเราให้ความสำคัญกับพันธมิตรของเรา ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเราต้องอยู่รอดและเติบโดไปพร้อมกับเรา เพราะถ้ากลุ่มเหล่านั้นไม่รอด ก็เหลือเราแค่คนเดียว เราก็ดำเนินธุรกิจต่อไปไม่ได้ ความสำคัญลำดับที่สามก็คือเรื่องสังคม โดยเราใช้เทคโนโลยีที่เราพัฒนาร่วมกับพันธมิตรของเรา เพื่อช่วยเหลือสังคม เราจึงต้องสร้างสมดุลของทุกส่วนให้อยู่รอด

คุณธีรพงศ์ จันศิริ

คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แสดงความคิดเห็นในประเด็น ‘หลังการระบาดใหญ่ เราจะทำอย่างไรไม่ให้กลับไปเหมือนเดิม’ ว่า

เราพยายามรักษาห่วงโซ่อุปทานของเรามาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดใหญ่ทั้งเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน และความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งเราจะยังคงมาตรการเหล่านี้ต่อไป

อย่างที่ทุกท่านได้กล่าวว่า การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนผ่านรูปแบบธุรกิจไปสู่เทคโนโลยีออนไลน์ บริษัทของเราก็ได้ปรับตัวเรื่องนี้เช่นกัน โดยในช่วงการระบาด เราค้นพบว่า เรามีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นจากเดิม โดยเราลดเวลาการทำงานในส่วนอื่นๆ จากภายนอก และคล่องตัวมากขึ้น ทำให้เรามีเวลาให้ความสนใจกับการผลิตในโรงงานมากขึ้น ผลลัพธ์คืองานที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

มุมมองของเยาวชนต่อแนวคิดเรื่องความยั่งยืน

หลังจากจบการเสวนาของผู้บริหารระดับสูงทั้ง 4 ท่าน ทางผู้จัดงานได้เชิญตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมพูดคุยในพิธีเปิดด้วย โดยคุณอเล็กซ์ เรนเดลล์ เป็นตัวแทนจากฝั่งของเยาวชนที่ได้เข้าร่วมงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความยั่งยืนในครั้งนี้

ในบทบาทที่ผมได้ทำงานร่วมกับเด็กรุ่นใหม่ แนวโน้มของเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบันเริ่มเข้าใจคุณค่าและความหมายของความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งต่างจากในยุคที่ผมเคยเป็นนักเรียน … ซึ่งในแต่ละช่วงวัยของเด็กจะมีการยอมรับร่วมกันในกิจกรรมทางสังคมบางอย่าง โดยเด็กยุคนี้ เขามองว่า การสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ดูทันสมัยและทำให้เขาเป็นที่ยอมรับในสังคม … ประกอบกับแนวโน้มความนิยมของโลกที่เบนสู่เรื่องความยั่งยืนมากขึ้น เยาวชนก็เริ่มมองเห็นว่า เรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนสามารถนำมาปรกอบเป็นอาชีพได้ ไม่ได้เป็นแค่องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือเป็นมูลนิธิ ที่เคยรู้จักก่อนหน้านี้

อเล็กซ์กล่าวเสริมว่า “กิจกรรมที่เราจัดขึ้นให้กับเด็กได้ส่งผลให้เด็กเหล่านั้นกำหนดรูปร่างแนวความคิดเรื่องความยั่งยืนของตัวเองได้ เช่น เด็กจำนวน 5 จาก 8 คนในรุ่นที่หนึ่ง เลือกเข้าศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืนในระดับมหาวิทยาลัย เราจะเห็นได้ว่า การปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนไม่จำเป็นต้องเป็นภาคบังคับ แต่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องแสดงให้เห็น ทำให้ดู และนำพาเด็กๆ เขาไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความยั่งยืน …ซึ่งผลลัพธ์ก็จะทำให้เด็กๆ รู้สึกว่า วิถีความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต และเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

คุณอเล็กซ์ เรนเดลล์

ผลกระทบจากโรคติดเชื้อโควิด-19 “ทำให้องค์กรของผมเองต้องปรับตัวมากเช่นกัน เนื่องจากกิจกรรมของเราต้องพึ่งพาทั้งการเดินทางและรวมกลุ่ม ซึ่งขัดต่อมาตรการรัฐ ดังนั้น ผมเองก็ต้องปรับการนำเสนอกิจกรรมให้ยืดหยุ่น โดยใช้ช่องทางสื่อสารบนออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน อย่าง TikTok และ Twitter” อเล็กซ์กล่าว

นอกจากนี้ บทเรียนอย่างหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการระบาดใหญ่ระลอกล่าสุด “คือผมได้เดินทางไปจังหวัดตรัง และได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามมาก และที่สำคัญ ได้พบเห็นฝูงพยูนรวมตัวกันในทะเลตรังกว่า 200 ตัว ซึ่งแทบจะเป็นภาพที่หาชมไม่ได้เลยในช่วงก่อนหน้านี้” อเล็กซ์กล่าวและเสริมว่า “แน่นอนว่า ธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ในทางกลับกัน ผมเห็นชาวบ้านยังมีอาหารกิน มีทรัพยากรเหลือเพียงพอที่จะส่งขายและมีรายได้ ซึ่งสะท้อนประโยคที่ว่า Good Health, Good Ocean และสะท้อนผ่านคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้าน” โดยภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความพยายามของหน่วยงานด้านอนุรักษ์ “แต่เกิดจากมนุษย์ไม่ได้สร้างกิจกรรมที่รบกวนธรรมชาติ

ภายในงานรูปแบบนิทรรศการออนไลน์แบบเสมือนจริง (Virtual Expo) ยังมีความน่าสนใจในส่วนอื่นๆ อีกมากมาย ที่รอให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจในเรื่องความยั่งยืน เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจและการดำเนินชีวิต แล้วมาสร้างความ “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ไปพร้อมกันที่ www.tsx2021.thailandsustainabilityexpo.com ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 10 ตุลาคม 2021

เรื่อง ณภัทรดนัย
ภาพถ่าย Thailand Sustainability Expo


 

Recommend