ไทยใหม่ ผู้บุกรุกบนแผ่นดินเกิด

ไทยใหม่ ผู้บุกรุกบนแผ่นดินเกิด

ไทยใหม่ ผู้บุกรุกบนแผ่นดินเกิด

วิถีชีวิตที่เร่ร่อนและอิสระในมหาสมุทรมาแต่ครั้งอดีต อาจเป็นที่มาของคติในการใช้ชีวิตที่ว่า “ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของธรรมชาติ ทุกคนล้วนมีสิทธิทำกินในผืนน้ำและแผ่นดิน” ทำให้ชาวอูรักลาโว้ยไม่ยึดติดในทรัพย์สิน และไม่เคยคิดยึดครองจับจองอาณาเขต

แม้เวลาจะผ่านมานับร้อยปีแล้วที่ชาวอูรักลาโว้ยรอนแรมฝ่าคลื่นลมมาจากดินแดนชื่อว่า ซาตั๊ก หรือเกาะลันตาในปัจจุบัน จนมาถึงหาดสีขาวทอดยาวทางตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต กลับไม่ได้ทำให้ชาวทะเลกลุ่มนี้มีที่ยืนที่มั่นคง เมื่อแผ่นดินบนหาดราไวย์ถูก “คลื่นยักษ์” ที่มาในรูปของธุรกิจท่องเที่ยวถาโถมเข้าใส่จนที่ดินมีราคาค่างวดยิ่งกว่าทองคำ

การจับจองด้วยกระดาษตีตรา ทำให้ผู้บุกเบิกกลายเป็นผู้บุกรุกในทันที ซ้ำร้ายผืนทะเลที่เคยหากินอย่างอิสระก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล จากที่เคยออกหาปลาได้อย่างเสรี มาวันนี้ “พรานทะเล” กลับถูกจำกัดพื้นที่จนเหลือเพียงน้อยนิด ไม่เพียงพื้นที่ในเชิงภูมิศาสตร์เท่านั้น หากยังรวมถึงพื้นที่เชิงวัฒนธรรมซึ่งบ่งบอกอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่ค่อยๆ เลือนรางราวร่องรอย บนผืนทรายที่คลื่นซัดกลบ

วันที่กระแสโลกวิ่งลิ่วไปข้างหน้าอย่างไม่มีทีท่าจะหยุดรอใคร ชื่อ “ไทยใหม่” อาจเป็นสัญญาณแห่งความหวังที่สังคมจะยอมรับการมีตัวตน หรือหมายถึงการเลือนหายไปของวิถีชาติพันธุ์คนแห่งทะเล

เรื่องและภาพ อำนาจ เกตุชื่น

รางวัลชมเชย จากโครงการประกวดสารคดีภาพ “10 ภาพเล่าเรื่อง” ปี 2012

โดยนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่, ภูเก็ต, หาดราไวย์

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่, ชาวประมง

 

ชาวประมง, ทะเล, ภูเก็ต

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่

 

อูรักลาโว้ย, ไทยใหม่, ภูเก็ต

 

ชาวเล


อ่านเพิ่มเติม ปากบารา : มรดกแบบไหนที่เราจะส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป

ปากบารา

Recommend