ห้องสมุดÖSTERREICHISCHES STAATSARCHIV กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
หอสมุดแห่งชาติของออสเตรียแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง Hofburg ปัจจุบันเป็นห้องสมุดแบบศิลปะบาโรกที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เปิดทุกวันในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
ห้องสมุดBIBLIOTHÈQUE SAINTE-GENEVIÈVE กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ออกแบบโดยสถาปนิก Henri Labrouste ห้องสมุดแห่งนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการปรากฏขึ้นของห้องสมุดยุคใหม่ โดยห้องสมุดแห่งนี้เปิดทำการตั้งแต่ 10.00 – 22.00 น. วันจันทร์ถึงวันเสาร์
ห้องสมุดBIBLIOTECA MUNICIPAL เมือง MAFRA ประเทศโปรตุเกส
ครั้งหนึ่ง พระราชวังแห่งชาติ Mafra เคยเป็นสำนักนางชีหลวงมาก่อน โดยในส่วนของห้องสมุดสร้างเสร็จในปี 1730 ประกอบไปด้วยหนังสือที่ทำจากหนังสัตว์กว่า 35,000 เล่ม ที่รวบรวมโดยคณะกรรมการหลวง ในปี 1745 พระสันตะปาปาได้อนุญาตให้ห้องสมุดแห่งนี้เป็นที่เก็บหนังสือต้องห้าม ปัจจุบันห้องสมุดแห่งนี้เปิดทำการเฉพาะนักวิจัยและนักวิชาการที่ได้รับหนังสืออนุญาตและมีการนัดล่วงหน้าไว้เท่านั้น
ห้องสมุดBIBLIOTECA TERESIANA เมือง MANTUA ประเทศอิตาลี
ห้องสมุด BIBLIOTECA TERESIANA เริ่มเปิดให้บริการกับบุคคลทั่วไปในปี 1780 มาจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่มาเยี่ยมชมสามารถเข้าชมห้องสมุดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ภายในอาคารได้ เพียงแค่ขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น
ห้องสมุดSTIFTSBIBLIOTHEK KREMSMÜNSTER เมือง KREMSMÜNSTER ประเทศออสเตรีย
ห้องสมุดที่อยู่ในมหาวิหาร Kremsmünster ที่ยังเปิดทำการอยู่แห่งนี้ ได้เก็บสะสม Incunabula หรือหนังสือโบราณที่พิมพ์ก่อนศตวรรษที่ 15 และ the Codex Millenarius หนังสือในศตวรรษที่ 8 ที่บรรจุคำสอนของพระเยซูไว้ การนำชมเป็นภาษาอังกฤษจะจัดขึ้นที่ห้องโถงในมหาวิหาร ห้องเก็บสมบัติ และห้องสมุดแห่งนี้ โดยผู้ที่ต้องการเข้าชมต้องจองล่วงหน้า
ห้องสมุดCODRINGTON LIBRARY เมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
ในจำนวนหนังสือกว่า 180,000 เล่มในห้องสมุดแห่งนี้ บางส่วนเป็นต้นฉบับที่เขียนขึ้นตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 รวมไปถึงบันทึกความทรงจำของ “ลอเรนซ์แห่งอาระเบีย” (Lawrence of Arabia) ด้วยเช่นกัน ห้องสมุดแห่งนี้ไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปรับชม แต่จะเปิดให้เฉพาะนักวิชาการและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเท่านั้น
เรื่องและภาพโดย MASSIMO LISTRI