ประสิทธิภาพของวัคซีน ประเมินจากอะไร

ประสิทธิภาพของวัคซีน ประเมินจากอะไร

เมื่อการระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยระลอกที่สามทวีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา การจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้กับประชาชนจึงกลายมาเป็นมาตรการเร่งด่วนที่จะสามารถกอบกู้สถานการณ์ครั้งนี้ไว้ได้

ความเชื่อมั่นในรัฐบาลเรื่องการจัดหาวัคซีนถูกนำเสนอออกมาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ หนึ่งในนั้นคือเรื่องความไม่มั่นใจใน ประสิทธิภาพของวัคซีน ยี่ห้อ “ซิโนแวค” ที่รัฐบาลกำลังเร่งกระจายฉีดให้ประชาชนทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ และในอนาคต รัฐบาลกำลังจะแจกจ่ายวัคซีนยี่ห้อ “แอสตราเซเนกา” ที่ผลิตโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งคาดว่าจะประชาชนจะได้รับในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม นี้

อย่างไรก็ตาม กระแสความกังวลต่อผลข้างเคียงของวัคซีนทั้งสองยี่ห้อ ยังคงพบเห็นได้ตามสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีทั้งข่าวจริงและเท็จ ในจุดนี้ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่องประสิทธิภาพวัคซีน อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพื่อหวังจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนชาวไทยได้

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (CDC) หน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อธิบายถึงประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด – 19 ในปัจจุบัน เนื่องจาก ไม่เฉพาะประชาชนชาวไทยเท่านั้นที่กำลังวิตกกังวลเรื่องการฉีดวัคซีน แต่ประชาชนในประเทศอื่นๆ แสดงความกังวลต่อประเด็นนี้เช่นกัน โดยทาง CDC รายงาน ประโยชน์ของการได้รับวัคซีนโควิด-19 สรุปได้ดังนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติม Benefits of Getting a COVID-19 Vaccine)

วัคซีน, วัคซีนโควิด-19, การผลิตวัคซีน, วัคซีนในประเทศไทย, วัคซีนต้านโควิด, การผลิตวัคซีนในไทย

การฉีดวัคซีนจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อโควิด-19 วัคซีนทั้งหมดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำลังได้รับการประเมินอย่างรอบคอบในการทดลองทางคลินิก และจะได้รับอนุญาตหรือได้รับการอนุมัติ ก็ต่อเมื่อมีความปลอดภัยต่อมนุษย์ในระดับที่กำหนดไว้ จากข้อมูลที่เราทราบเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับโรคอื่น ๆ และข้อมูลเบื้องต้นจากการทดลองทางคลินิก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การได้รับวัคซีนโควิด-19 ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง หากติดเชื้อโควิด-19 และการฉีดวัคซีนตัวเองอาจป้องกันคนรอบข้างได้เช่นกัน

เมื่อคุณได้รับวัคซีนครบแล้วคุณสามารถเริ่มทำอะไรได้มากขึ้น หลังจากที่คุณได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบทั้งสองโดสแล้ว คุณอาจเริ่มทำกิจกรรมบางอย่างที่หยุดทำไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค เช่น สามารถรวมตัวกับคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกอยู่ระหว่างการศึกษาว่า วัคซีนจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร จนกว่าเราจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 อย่างครบถ้วนควรระมัดระวังการออกไปในที่สาธารณะเช่น สวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงฝูงชนและพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และล้างมือบ่อยๆ

ในเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า การติดเชื้อโควิด-19 อาจสร้างภูมิคุ้มกันได้ตามธรรมชาติ แต่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต การฉีดวัคซีนจะช่วยสร้างแอนติบอดี (ระบบภูมิคุ้มกัน) โดยร่างกายไม่แสดงอาการเจ็บป่วยรุนแรง

การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหยุดยั้งการแพร่ระบาดใหญ่ โดยวัคซีนจะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงร้อมที่จะต่อสู่กับไวรัส หากเราเผลอไปสัมผัสเชื้อโรคอย่างไม่ตั้งใจ หลักฐานที่เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนมีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ (เรียกว่า การติดเชื้อที่ไม่มีอาการ) และมีโอกาสน้อยที่จะแพร่เชื้อไวรัสที่ไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม เรื่องอัตราการแพร่เชื้อของผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม

วัคซีนโควิด-19 ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เราเข้าใจว่า บางคนอาจกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในขณะนี้ เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และมีกระแสข่าวถึงผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน แต่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ายังคงมีกระบวนการและขั้นตอนการผลิตวัคซีนตามมตราฐานสากลที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของวัคซีน ที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรอง และความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

วัคซีนโควิด-19, วัคซีน, ซิโนแวค, แอสตราเซเนกา, ประสิทธิภาพของวัคซีน, ประสิทธิภาพวัคซีน, ผลข้างเคียงของวัคซีน

การประเมิน ประสิทธิภาพของวัคซีน

ในส่วนแรกอาจจะต้องย้อนกลับไปถึงขั้นตอนกระบวนการผลิตวัคซีน ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ การพัฒนาวัคซีนในระยะก่อนการศึกษาในคน (Pre-clinical phase) และการพัฒนาวัคซีนในระยะการศึกษาในคน (Clinical phase) “กระบวนการต่างๆ ในการผลิตวัคซีนนั้น ย่อมใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่านั้น” ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา และผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าว

ความน่าสนใจของวัคซีนโควิด-19 คือใช้เวลาผลิตน้อยมาก เนื่องจาก ทั่วโลกมีฐานข้อมูลเรื่องไวรัสโคโรนาเดิมอยู่แล้ว (ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรค SARS) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคชนิดนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้การผลิตวัคซีนโควิด-19 สามารถย่นระยะเวลาได้เร็วขึ้น

ในระดับสากล การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวัคซีนจะรายงานระยะการศึกษาในมนุษย์ (Clinical phase) โดยการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนในมนุษย์จำเป็นต้องทดสอบในพื้นที่ที่กำลังมีการระบาด และประเมินจากอัตราส่วนร้อยละของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมดต่อผู้ที่ติดโรคหลังได้รับวัคซีน เช่น วัคซีนยี่ห้อ A ทำการทดสอบกับกลุ่มประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีประสิทธิภาพร้อยละ 80 หมายความว่า จากกลุ่มตัวอย่างได้รับวัคซีนใน 100 คน มีจำนวน 20 คน ที่ติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนแล้ว

แต่วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ผลิตมาสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงส่งผลให้การทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในมนุษย์ยังเสร็จสิ้น และไม่มีตัวเลขที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของวัคซีนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากยังต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตตัวเลขประสิทธิภาพวัคซีนอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางใดก็ได้ ดร.อนันต์ กล่าว

วัคซีนโควิด-19, วัคซีน, ซิโนแวค, แอสตราเซเนกา, ประสิทธิภาพของวัคซีน, ประสิทธิภาพวัคซีน, ผลข้างเคียงของวัคซีน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ประสิทธิภาพของวัคซีน ว่า “ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย” เช่น

1. ความชุกของโรคในขณะทำการศึกษา

ความชุกของโรคหมายถึง จำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ ถ้าความชุกของโรคสูง ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนจะต่ำ เช่นกรณีของวัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์ (Pfizer) ขณะทำการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนเกิดอุบัติการณ์ของโรคในประชากรต่ำกว่าช่วงเวลาที่วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson and Johnson) ทำการทดสอบในสหรัฐฯ ดังนั้น ผลการทดสอบจึงบ่งชี้ว่า วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เพราะเป็นการนับจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

2. ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

ถ้าทดสอบวัคซีนในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง ตัวเลขประสิทธิภาพจะมีค่าต่ำ เพราะวัคซีนส่วนใหญ่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ป้องกันความรุนแรงของโรค เช่น วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ที่ศึกษาในบราซิล โดยกลุ่มเสี่ยงสูงคือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนยี่ห้อเดียวกัน ซึ่งศึกษาในประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าในตุรกี ได้ตัวเลขประสิทธิภาพที่สูงกว่าการศึกษาในบราซิล

วัคซีนโควิด-19, วัคซีน, ซิโนแวค, แอสตราเซเนกา, ประสิทธิภาพของวัคซีน, ประสิทธิภาพวัคซีน, ผลข้างเคียงของวัคซีน

3. ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่รับการทดสอบวัคซีน

การนับความรุนแรงของโรคก็เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพวัคซีน วัคซีนซิโนแวคของจีน ที่ทำการศึกษาในบราซิล ได้นับรวมตัวเลขประสิทธิภาพวัคซีน โดยรวมจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการน้อยมากเข้าไปด้วย หรือระดับความรุนแรงที่เรียกว่า WHO grade 2 คือ ติดเชื้อ มีอาการ แต่ไม่ต้องการการดูแลรักษา (no need medical attention) ซึ่งตรงข้ามกับวัคซีนอีกหลายตัวที่ไม่มีการกล่าวถึงความรุนแรงของโรคที่ชัดเจน ส่วนใหญ่มักจะเป็นความรุนแรงระดับ WHO grade 3 คือป่วย เป็นแบบผู้ป่วยนอกไม่ต้องการนอนโรงพยาบาล แต่ต้องพบแพทย์ (need medical attention) ถ้ายิ่งนับความรุนแรงที่น้อยมาก ๆ จะมีตัวเลขประสิทธิภาพต่ำ และถ้านับความรุนแรงตั้งแต่เกรด 4 คือป่วยต้องเข้านอนโรงพยาบาล ประสิทธิภาพจะยิ่งสูงมาก และถ้ายิ่งความรุนแรงที่สูงไปอีก ถึงเกรด 7 Grade 7 คือเสียชีวิต ประสิทธิภาพจะใกล้ร้อยละ 100

4. สายพันธุ์ของไวรัส

การศึกษาของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ได้ศึกษาในมนุษย์ก่อนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ดังนั้น การทดสอบทีหลังมักจะพบกับไวรัสที่กลายพันธุ์ ซึ่งมีความสามารถหลบหลีกวัคซีนได้ ทำให้ภาพรวมของวัคซีนที่ศึกษาก่อนมีประสิทธิภาพดี แต่ไม่ทราบข้อมูลประสิทธิภาพต่อไวรัสที่กลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ของไวรัสมีส่วนที่ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง การศึกษาวัคซีนในช่วงเวลาที่แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องยากที่จะนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน แม้ว่าจะศึกษาและประเมินในประเทศเดียวกัน เพราะไวรัสได้เปลี่ยนแปลงพันธุกรรม เพื่อหลบหลีกประสิทธิภาพวัคซีนอยู่แล้ว เช่น วัคซีนของอินเดียทำการศึกษาล่าสุด ที่เน้นศึกษาการป้องกันเฉพาะไวรัสสายพันธุ์อินเดีย ก็ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับวัคซีนที่ศึกษาในสหรัฐฯ ได้

กรณีศึกษาเรื่องของวัคซีนต่อสายพันธุ์ไวรัส ข้อมูลล่าสุด พบว่า วัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์มีประสิทธิภาพลดลงประมาณร้อยละ 20 เมื่อฉีดให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ และมีรายงานว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อินเดีย เสียชีวิต หลังจากได่รับวัคซีนไฟเซอร์ครบทั้งสองโดสแล้ว

ดังนั้นจึงนำมาสู่แนวทางปฏิบัติเพื่อประเมินประสิทธิภาพวัคซีนว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมด แต่บางครั้งก็ไม่สามารถนำข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนมาเปรียบเทียบกันได้โดยตรง เนื่องจากทำการศึกษาวัคซีนในช่วงเวลาที่แตกต่างต่างกัน กลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน และสายพันธุ์ไวรัสที่แตกต่างกัน

ในส่วนความพยายามสร้างความเชื่อมั่น ฝ่ายรัฐบาลต่างออกมาประกาศตามสื่อต่างๆ โดยมีใจความสรุปว่า “ขอให้มีความมั่นใจว่าวัคซีนที่ไทยใช้ทั้งซิโนแวคและแอสตราเซเนกานั้นปลอดภัย ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องศึกษากันต่อว่า มาจากวัคซีนหรือไม่ แต่มีในอัตราส่วนที่น้อยมากๆ ประมาณหนึ่งในล้าน น้อยกว่าโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ จมน้ำ หรือแม้แต่การติดโควิดเยอะมาก และก็เกิดกับทุกยี่ห้อ

อย่างไรก็ตามล่าสุด เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผย เอกสารเปรียบเทียบผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด -19 ที่มีขายในปัจจุบัน (เอกสารเปรียบเทียบผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีขายในปัจจุบัน) ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาเพื่อซื้อวัคซีนของบริษัทอื่น ๆ นอกเหนือจากซิโนแวค และแอสตราเซเนกา ซึ่งจะทำให้เรามีทางเลือกในการฉีดวัคซีนหลากหลายมากขึ้นในอนาคต

เรื่อง ณภัทรดนัย


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ทำไมการฉีดกระตุ้นวัคซีนโควิด-19 ประจำปี อาจกลายเป็นเรื่องปกติ

Recommend