โครงการบริหารจัดการนํ้าชะลอออกไปหลังรัฐประหาร รัฐบาลทหารเข้ามาพร้อมความพยายามในการปฏิรูป แต่การเมืองเรื่องนํ้ายังดำเนินต่อไป และยังไม่ได้บทสรุปความพรั่นพรึง (ตลอดกาล) ของคนกรุงเทพฯ คือนํ้าท่วม (รวมทั้งนํ้าขัง) พวกเขาห่วงบ้านและรถที่ยังผ่อนไม่หมดมากกว่ากังวลกับภัยแล้งเยี่ยงเกษตรกรในชนบท
สาเหตุคือสภาพพื้นที่ของกรุงเทพฯตํ่ากว่าระดับทะเล ซํ้าพื้นดินยังทรุดตัวอีกอย่างน้อยสองเซนติเมตรทุกปี อันเป็นผลจากการกระหนํ่าสูบนํ้าบาดาลและนํ้าหนักสิ่งปลูกสร้างกดทับยาวนาน คันกั้นนํ้าเป็นเครื่องมือเดียวสำหรับป้องกันนํ้าเหนือหลากในฤดูมรสุม แม้ว่าระดับนํ้าในแม่นํ้าเจ้าพระยาจะสูงกว่าระดับพื้นดินในบางแห่งด้วยซํ้า
ทุกวันนี้ สองฟากแม่นํ้าเจ้าพระยาขนาบด้วยคันกั้นนํ้าสูง 2.7 เมตร ยาวกว่า 70 กิโลเมตร และต้องเสริมให้สูงขึ้นทุกปี นักวิชาการเชื่อว่า อีกราว 30 ปีข้างหน้า คันกั้นนํ้าจะต้องสูงถึงห้าเมตรจึงจะพอปกป้องเมืองจากนํ้าท่วมได้
แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่กรุงเทพฯจะเลี่ยงนํ้าท่วมคูคลองเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับบริหารจัดการนํ้าในเมืองหลวง เครือข่ายคูคลองโบราณแสดงถึงภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับสายนํ้าของบรรพบุรุษ ทว่าเมื่อถนนหนทางพัฒนา คูคลองเหล่านี้ก็หมดค่า แต่เมื่อปีพ.ศ. 2554 คูคลองเหล่านี้ก็พลิกโฉมกลับมาเป็นพระเอก เมื่อได้รับบทระบายนํ้าท่วมครั้งใหญ่
กรุงเทพฯ มีคูคลองรวมกัน ทั้งหมด 1,682 สาย และหากนำมาต่อกันจะยาวถึง 2,604 กิโลเมตร คูคลองเหล่านี้ยังเชื่อมโยงไปถึงอุโมงค์ระบายนํ้าขนาดยักษ์อีกสี่แห่งของกรุงเทพฯ แม้ว่านานๆ ทีจะมีนํ้าให้ระบายสักครั้งหนึ่ง ถ้ามองเรื่องการระบายนํ้าปัญหาคือคูคลองเหล่านี้ไม่สามารถใช้ระบายนํ้าได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะถ้าไม่ถูกรุกถมเป็นถนน ก็มักตื้นเขิน มีสิ่งปลูกสร้างขวางทางไหลของนํ้า หรือไม่ก็อุดมไปด้วยสวะและขยะมูลฝอย
ชินรัตน์ ถนัดพจนามาตย์ หัวหน้ากลุ่มงานบำรุงรักษาคลอง 2 กองระบบคลอง สำนักการระบายนํ้า กรุงเทพมหานครบอกว่า การบุกรุกสองฝั่งคลองในกรุงเทพฯ ทำให้คลองแคบลง บ้านเรือนที่รุกลํ้าเป็นต้นเหตุของขยะปริมาณมหาศาล นํ้าตื้นเขิน และอุปสรรคสำคัญต่อการไหลของนํ้า “ลองคิดดูสิครับ ไหนจะติดสะพานของชาวบ้าน ไหนจะเอารถเข้าไปขนดิน ไหนจะกองสวะ แถมแค่เอาเครื่องจักรเข้าไปก็มีปัญหาแล้ว ชาวบ้านต่อต้าน นึกว่าเราจะมารื้อบ้าน”
แต่จริงหรือที่ชาวบ้านเป็นอุปสรรคต่อการ “เปิดทางนํ้าไหล” ที่ชุมชนร่วมใจพัฒนาเหนือริมคลองลาดพร้าว
“ป้าศรีไพร” แม่ค้าข้าวแกงวัยกลางคนชาวลพบุรี ผู้ย้ายตามสามีทหารมาตั้งรกรากริมคลองสายนี้กว่า 40 ปี บอกว่า “ถึงจะอยู่ริมนํ้า แต่ก็ไม่ใช่พวกเราทั้งหมดหรอกค่ะที่ทำให้นํ้าเสีย เพราะหน้าบ้านใคร ใครก็รัก” แกพูดขณะเด็ดใบกะเพรา และบอกว่าประตูนํ้าทางเหนือที่กักนํ้าสำหรับให้ชาวนามีนํ้าใช้ ทำให้คลองลาดพร้าวไม่เคยได้รับการระบายนํ้า แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ หมู่บ้านจัดสรรใหม่ๆ ที่เกิดหลังชุมชนแห่งนี้ ลักลอบต่อท่อระบายนํ้าเสียปล่อยลงคลองนํ้าเสียที่เต็มไปด้วยตะกอนทำ ให้คลองตื้นเขินและนํ้าเน่า ”เมื่อก่อนนี้นํ้าใสขนาดเห็นตัวปลาเลยนะคุณ”
ปริมาณนํ้ามหาศาลฉับพลันเกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ปริมาณนํ้าระเหยและความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้น เมื่อปะทะกับความเย็นบนชั้นบรรยากาศจึงกลั่นตัวเป็นฝน ฝนที่ตกลงมาจะมีลักษณะเป็นหย่อมเล็กๆในหลายพื้นที่ แต่จะรุนแรง และมีปริมาณนํ้ามาก ดร.เสรีบอกว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ความรู้ทางอุทกวิทยาที่เราเคยใช้มาแต่เดิม เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเลยครับ”
การรุกป่าต้นนํ้าเพื่อแผ้วถางเป็นพื้นที่ทำกิน คืออีกสาเหตุสำคัญของอุทกภัยฉับพลัน เพียงห้าปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-2555) ผืนป่าธรรมชาติที่เคยรับหน้าที่ดูดซับนํ้าฝนลดลงกว่าห้าล้านไร่ ราคาพืชผลและการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ให้ผลตอบแทนดี รุกกลืนภูเขาที่เคยเขียวขจีกลายเป็นเขาหัวโล้น เมื่อไม่มีผืนป่าคลุมดิน ทุกฤดูมรสุมนํ้าเหนือที่เอ่อท้นจึงมีปริมาณมหาศาลและชะหน้าดินลงมาจากที่สูงจนมีสภาพเป็นสีชานม
นํ้าป่ายังเป็นเหตุของภัยดินโคลนถล่มบริเวณชุมชนที่ราบเชิงเขาแทบทุกปี ทางการมักแก้ปัญหาด้วยการเสริมงบโครงการปลูกป่า นั่นเป็นภาพที่สวยหรูสำหรับลงหน้าข่าวฝาก แต่ทุกวันนี้ ยังไม่มีข้อมูลวิชาการใดรับรองว่า ป่าที่ปลูกไปนั้นดูดซับนํ้าได้กี่ล้านลูกบาศก์เมตร จะเติบโตมีชีวิตรอดได้จริงหรือไม่ หรือจะไม่เป็นการตำนํ้าพริกละลายแม่นํ้า
(อ่านต่อหน้า 4)