งานวิจัยแนะควรลดการ กินเนื้อ ลง 75% เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ
งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยบอนน์ ประเทศเยอรมนี ได้สำรวจการบริโภคเนื้อทั่วโลกในแง่มุมต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ นอกจากนี้ยังมีผลด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ นักวิจัยได้ข้อสรุปว่าเพื่อบรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศ บรรดาประเทศที่ร่ำรวยต้องลดการ กินเนื้อ อย่างน้อยร้อยละ 75 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคเนื้อจะช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้กับโลกของเราได้
จากสถิติประชากรยุโรปแต่ละคนบริโภคเนื้อปีละ 80 กิโลกรัม ราคาของเนื้อไม่ได้วัดจากมูลค่าราคาของเนื้อเท่านั้น แต่การฟาร์มปศุสัตว์ยังมีราคาที่ต้องจ่ายจากการสร้างความเสียหายต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยผลผลิตจากกระบวนการเหล่านี้ผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเร่งภาวะโลกร้อน
สัตว์แปลงแคลอรี่จำนวนหนึ่งที่ได้รับเป็นเนื้อ แต่การผลิตอาหารป้อนคนในจำนวนที่เท่ากันกับสัตว์เหล่านี้ต้องใช้พื้นที่มากกว่าซึ่งเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ เนื่องจากมีพื้นที่สำหรับชนิดพันธุ์ธรรมชาติลดลง ดังนั้นการลดปริมาณเนื้อที่บริโภคโดยเฉลี่ย 20 กิโลกรัมต่อปี จะช่วยชะลอปัญหาในแง่ต่างๆ
นอกจากนี้ ปัจจัยที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน อย่างเช่น สงครามในยูเครนและการขาดแคลนธัญพืชในตลาดสากลยังส่งผลต่อความปลอดภัยด้านอาหาร เนื่องจากธัญพืชประมาณครึ่งหนึ่งที่ผลิตขึ้นทั่วโลกถูกใช้เป็นอาหารสัตว์
แนวทางการแก้ไขปัญหานี้อย่างหนึ่งคือการปรับภาษีเนื้อซึ่งสอดคล้องกับราคาทางสิ่งแวดล้อมที่สูงกว่าราคาปัจจุบันและสร้างแนวโน้มให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหามากขึ้น อีกหนึ่งวิธีคือการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืนตั้งแต่ระดับการศึกษาในโรงเรียน
ทั้งนี้พฤติกรรมบริโภคเนื้อสัตว์ควรเน้นไปที่ประเทศร่ำรวยที่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารทดแทนและปรับการกินอย่างยั่งยืนได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื้อสัตว์จากพืชและโปรตีนทดแทนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้ดี
สืบค้นและเรียบเรียง กานต์ ศุภนภาโสตถิ์
Photograph by José Ignacio Pompé via unsplash
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.sciencedaily.com/releases/2022/04/220425135937.htm
https://vegnews.com/2022/4/meat-consumption-must-drop-for-planet
ภาพถ่ายจาก – https://unsplash.com/photos/s-Z-h0fEiBM