ภาพบรรยากาศแห่งกรีนแลนด์ที่ชนะการประกวดของ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก สหรัฐอเมริกา พบกับช่างภาพที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการ ประกวดภาพถ่าย เชิงท่องเที่ยวของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และเรียนรู้แนวคิดเบื้องหลังการถ่ายภาพนี้ วันนั้นเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ลมแรงพัดเหนือยอดเขาที่มีหิมะปกคลุมในเมือง Upernavik ประเทศกรีนแลนด์ คนท้องถิ่นมองว่าอุณหภูมิ – 30 องศาก็ถือว่ายังเป็นอากาศที่อบอุ่นในยามเย็นของเดือนมีนาคม ดังนั้นพวกเขาจึงออกไปจัดการกับกิจธุระของตัวเองในช่วงที่อาทิตย์กำลังตกดิน และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ช่างภาพ เว่ยหมิน ชู (Weimin Chu) ประจำการอยู่ตรงเนินใกล้สนามบิน ที่ทำให้มองเห็นภาพของบรรดาบ้านเรือนสีสันสดใสที่อยู่เบื้องล่าง “ผมมองเห็นโครงสร้าง สี อารมณ์ของภาพที่ดีจากมุมนี้” เขาเล่าย้อนไป “โดยเฉพาะในช่วงที่แสงของดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า” ชูหวังว่าเขาจะได้ถ่ายภาพผู้คนกำลังเดินเล่นหรือภาพบรรยากาศที่เด็กๆ กำลังเล่นสนุก แต่เขากลับตื่นเต้นที่ได้เห็นครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งกำลังเดินอยู่ภายใต้ไฟริมถนนแทน แม้จะเป็นช่วงเวลาที่แสงน้อย เขาก็บันทึกภาพที่แลเห็นไว้ด้วยความแม่นยำ และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดภาพถ่ายเชิงท่องเที่ยว โดย เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก สหรัฐอเมริกา ประจำปี 2019 ความเป็นพื้นที่ห่างไกลของเมือง Upernavik นั้นทำให้ชูประทับใจเป็นอย่างยิ่ง “ผมสามารถมองเห็นพื้นดินสีขาวโพลนที่ปกคลุมได้ด้วยน้ำแข็งและหิมะระหว่างที่กำลังนั่งเครื่องบิน แต่ทันใดนั้นผมก็เห็นจุดแสงอบอุ่นขนาดใหญ่ตรงส่วนที่ไกลออกไป มันคือเมือง Upernavik หมู่บ้านอันสวยงามในบรรยากาศที่เงียบสงบแห่งนี้มันเหนือจินตนาการของผม มันเป็นช่วงเวลาที่ ‘ว้าว’ สำหรับผม” เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ชูมายังเกาะแห่งนี้เพื่อคอยจับภาพทิวทัศน์อันเรียบง่าย และในปี 2019 เขาเริ่มบันทึกเรื่องราวของผู้คนและชุมชนในเกาะกรีนแลนด์ เริ่มจากการไปที่เมือง […] Photography
ผลงานยอดเยี่ยมจากเวที ประกวดภาพถ่าย National Geographic Photo Contest 2018 ชมภาพถ่ายยอดเยี่ยมจากเวที ประกวดภาพถ่ายแห่งปี National Geographic Photo Contest 2018 Photography
ค่ายมวยศิษย์ครูจงอาง เรื่องและภาพ นิสากร ปิตุยะ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) ค่ายมวยศิษย์ครูจงอางเป็นค่ายมวยสำหรับเด็กๆ ที่เกิดจากความตั้งใจของ นายประเสริฐ จิระพรรักษ หรือ จงอางน้อย สิงห์คงคา อดีตนักมวยเก่า แห่งสำนักวัดเทพธิดาราม ผู้ต้องการสร้างผลผลิตที่ดีให้กับสังคม เขานำความรู้ความสามารถที่ตนมี นั่นก็คือศิลปะการต่อสู้มวยไทย มาถ่ายทอดให้กับเยาวชนที่สนใจ โดยไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายใดๆ บนพื้นที่เล็กๆ ราว 4×6 เมตร หน้าบ้านของครูจงอางถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นสนามฝึกแข้งของลูกศิษย์ตัวน้อย นอกจากที่นี่จะมีครูแล้ว ยังมี “แม่” ที่คอยหาข้าวหาปลา ดูแลความเรียบร้อยและความสะอาดให้เด็กๆ อย่างเต็มใจ ซึ่งก็คือภรรยาของครูจงอางนั่นเอง ที่นี่จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงค่ายสอนมวย แต่ยังเป็นบ้านที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ความปรารถนาดีที่มีต่อเด็กๆ และสังคมรอบข้าง Cultures
นาฏยโนรา จิตวิญญาณแห่งแดนใต้ เรื่องและภาพ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) “ให้รักษาไว้ อย่าให้สูญหาย” เป็นพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ตรัสกับนายเฉลิม แก้วพิมพ์ หนึ่งในโนราสามคนที่มีโอกาสรำถวายหน้าพระพักตร์เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว เป็นสิ่งยืนยันว่าโนราไม่ใช่เป็นเพียงการร่ายรำ หากเป็น “ราก-วิถี-จิตวิญญาณ” ของนาฏยศาสตร์และศิลปะโบราณแห่งแผ่นดินขวานทอง เชื่อว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 1820 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น แพร่ขยายจากหัวเมืองพัทลุงสู่เมืองอื่นๆ จนกลายเป็นละครชาตรี ในอดีตคนนิยมรำโนรากันมาก ลูกหลานจึงเรียกบรรพบุรุษที่นับถือว่า “ครูหมอโนรา” หรือ “ครูหมอตายาย” เมื่อทำดีจะได้รับการปกป้อง หากทำสิ่งไม่ควรจะถูกลงโทษ ความเชื่อดังกล่าวหยั่งลึกดังเห็นจากพิธีกรรม “โนราโรงครู” อันเชื่อมโยงความสมัครสมานสามัคคี การนับถือครูบาอาจารย์ บรรพบุรุษ และการทำความดีไว้ด้วยกัน แม้ปัจจุบันทุกฝ่ายจะให้ความสำคัญกับศิลปะแขนงนี้จนเกิดคณะโนราเยาวชนมากมาย แต่คุณค่าแบบเดิมของโนรากำลังเปลี่ยนไป เมื่อเด็กรุ่นใหม่ที่ร่ายรำได้งดงามกลับขับกลอนโนราสุดไม่เป็น การแสดงถูกตัดทอนให้สั้นลงเพื่อเน้นความสนุกสนาน ตลอดจนการปรับรูปทรงและสีสันของชุดโนราให้เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดคำถามปลายเปิดต่อการอนุรักษ์และการพัฒนานาฏยศาสตร์โนราในอนาคตข้างหน้า Cultures
จากกรงสู่ป่าจำลอง เรื่องและภาพ กฤตนันท์ ตันตราภรณ์ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) เมื่อ “แก้ว” หมีควายที่สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเลี้ยงไว้เกิดทำร้ายชาวบ้าน จนเกิดกระแสการตั้งคำถามเกี่ยวกับการกักขังและการปล่อยหมีคืนสู่ป่า จนเป็นที่มาของการเดินทางสู่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง ซึ่งเป็นสถานอนุบาลหมีแห่งใหญ่ที่สุดของประเทศที่รับหมีของกลางที่ถูกช่วยเหลือจากกลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่า หมีที่ถูกเลี้ยงหรือถูกทำร้าย ก่อนจะฟื้นฟูเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แต่การปล่อยหมีที่ถูกเลี้ยงไว้จนมีนิสัยพึ่งพามนุษย์จนเคยชินเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย เนื่องจากหมีหลายตัวจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแห่งนี้ไปจนตลอดชีวิต สถานีฯ จึงทำกรงป่าจำลองขนาดใหญ่เพื่อให้พวกมันได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ในขณะเดียวกัน สำหรับหมีที่มีอายุเหมาะสม ก็มีโครงการฝึกฝนและเตรียมตัวให้พวกมันได้กลับไปใช้ชีวิตในป่าต่อไป Animals
Gloomy Rainbow เรื่องและภาพ นิธิรุจน์ สุทธิเมธีโรจน์ (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) ในประเทศที่ให้เกียรติกับเสรีภาพของมนุษย์ กลุ่มคนรักเพศเดียวกันได้รับการยอมรับมานานแล้ว แต่ในประเทศที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานอย่างเมียนมา ชาวรักเพศเดียวกันยังมีชีวิตที่มืดมนทั้งในแง่ของสังคมและกฎหมาย ไม่ได้รับการยอมรับตั้งแต่ระดับครอบครัว ไม่ได้รับความเท่าเทียมกันทางสังคม ถูกซุบซิบ นินทา ถูกย่ำยีทางวาจา และถูกจ้องมองในที่สาธารณะ ในแง่อาชีพการงานก็ถูกจำกัดอยู่ไม่กี่อาชีพ เช่น ช่างทำผม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า หมอนวด ไปจนกระทั่งให้บริการทางเพศ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำงานในออฟฟิศ เป็นเจ้าของกิจการส่วนตัว มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ พวกเขายังต้องไขว่คว้าการเป็นที่ยอมรับและสิทธิเสรีภาพเฉกเช่นคนทั่วไป “ริกกี้” เป็นชายรักเพศเดียวกันและเป็นตัวแทนที่สะท้อนถึงความรู้สึก ความขมขื่น ความสุข และความใฝ่ฝันของชาวรักเพศเดียวกันในประเทศอย่างเมียนมา Cultures
รักลิง เรื่องและภาพ สันติภาพ อุโคตร (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) เมืองลพบุรีเป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีลิงเป็นสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองมาเป็นเวลายาวนานและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนประชากรลิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขาดการจัดการที่ดีอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันลพบุรีต้องประสบปัญหาการคุกคามของลิงอย่างรุนแรงในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกับคน เช่น ถูกลิงเข้ารื้อค้นหาอาหาร ทำลายทรัพย์สินของบ้านเรือนและร้านค้า ตลอดจนปริมาณอาหารเลี้ยงลิงที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากร ยิ่งเมื่อลิงแบ่งฝูงแยกกลุ่ม มีอาณาเขตเป็นของตนเอง หากไม่ได้รับอาหารเพียงพอ ลิงเหล่านั้นก็ต้องดิ้นรนหาอาหาร ซึ่งมักใช้วิธีขโมยหรือแย่งอาหารจากคน บ่อยครั้งที่ลิงบาดเจ็บเนื่องจากการแย่งอาหารกันเอง ถูกคนทำร้าย หรือด้วยความซุกซนจากการตกที่สูง ถูกไฟฟ้าช้อต หรือบาดเจ็บจากรถยนต์ ท่ามกลางปัญหาที่ยังไม่คลี่คลายนี้ ก็ยังมีคนรักสัตว์ผู้อุทิศนตนช่วยเหลือลิงอย่างน่ายกย่อง ในขณะเดียวกันแผนแม่บทการบริหารจัดการปัญหาลิงในจังหวัดลพบุรีอย่างยั่งยืนก็เป็นความหวังในการก้าวข้ามปัญหาที่ยืดเยื้อมาหลายทศวรรษด้วย Animals
รอยต่อชีวิตบางตะบูน จากกิจกรรมเวิร์คชอปถ่ายภาพ One-Day Photography Workshop & Trip ในรายการ Every Picture Tells a Story Season 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นจุดเริ่มต้นสู่ชุมชนบางตะบูน อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี อันเป็นชุมชนเก่าแก่ริมทะเลที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ และยังเป็นชุมชนที่ต้องอยู่ร่วมกับลิงแสม ต่างฝ่ายต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน การใช้เวลาลงพื้นที่ 4 ครั้งในเวลา 1 เดือน เพื่อทำความรู้จักและผูกมิตรกับลิงแสมอย่างนอบน้อมและใจเย็น ทำให้เกิดพื้นที่ของการสื่อสารในเชิงบวกจนสามารถเก็บภาพถ่ายเสน่ห์ของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับลิงที่บางตะบูน เรื่องและภาพ ปัณณรัตน์ รัตนากุลสวัสดิ์ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) Animals
The Jumper : เด็กโดดแห่งสังขละบุรี เรื่องและภาพ วีรวัฒน์ เวียงไชย (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) หนึ่งในจุดหมายปลายทางในฝันของนักท่องเที่ยวมักจะมี อ. สังขละบุรี จ. กาญจนบุรี อยู่ในรายการด้วยเสมอ นอกจากวัฒนธรรมอันหลากหลายของชาวไทยหลากเชื้อชาติในท้องถิ่นแล้ว นักท่องเที่ยวยังเดินทางมาเพื่อสัมผัสกับอากาศที่เย็นสบาย วิวของเขื่อนวชิราลงกรณ์ และการกระโดดสะพานมอญของเด็กโดดแห่งสังขละบุรี ในขณะที่เด็กไทยเชื้อสายมอญบางส่วนแต่งชุดประจำถิ่น อาสาเป็นไกด์บรรยายประวัติความเป็นมาของสะพานมอญหรือสะพานอุตตมานุสรณ์และเมืองสังขละบุรี แต่ยังมีเด็กชายล้วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยความกล้าเพื่อกระโดดจากสะพานมอญซึ่งสูงหลายสิบเมตรเพื่อเรียกเสียงฮือฮาจากนักท่องเที่ยว ทั้งหมดสวมเฉพาะกางเกงและปราศจากอุปกรณ์ป้องกันตัวเมื่อกระโดดจากที่สูงลงสู่พื้นน้ำข้างล่างที่มีเรือแล่นผ่านไปมาไม่ขาดสาย นอกจากคำถามต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กๆ ที่แลกกับการท่องเที่ยวแล้ว วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเพราะรายได้พวกเขา เช่น การขาดเรียน การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การทะเลาะวิวาท ใช้ยาเสพติด ฯลฯ ยังทำให้เกิดข้อสงสัยต่ออนาคตของพวกเขาเองด้วย Cultures
ความรัก ความตาย และชีวิตใหม่ เรื่องและภาพ มนูญ พงศ์พันธุ์พัฒน์ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) เทศกาลของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก นอกจากวันคริสต์มาสที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมีอีกเทศกาลที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ “สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์” ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี เทศกาลดังกล่าวเป็นการระลึกถึงการรับทรมาน สิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพของพระเยซู เพื่อระลึกถึงความรักขั้นสูงสุดของพระองค์ในการเสียสละชีวิตตนเองเพื่อผู้อื่น รักและอภัยให้ศัตรูที่จับพระองค์ไปตรึงกางเขน คริสตชนจะเตรียมตัวก่อนถึงสัปดาห์นี้ด้วยการถือศีล อดออม และอดอาหารเป็นเวลา 40 วัน เงินที่ได้จากการอดออมและอดอาหารจะนำไปบริจาค สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เริ่มต้นจาก “วันอาทิตย์แห่ใบลาน” พิธีกรรมซึ่งจำลองเหตุการณ์สมัยคริสตกาลที่ชาวยิวนำใบลาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับกษัตริย์ มาแห่ต้อนรับเมื่อพระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม สามวันถัดมาเป็น “วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์” มีพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ของบาทหลวง พิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์เพื่อไว้ใช้ในพิธีต่าง ๆ พิธีระลึกถึงความรักของพระเยซูในคืนที่พระองค์ถูกจับไปทรมาน และ“วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์” อันเป็นวันถือศีล อดออม และอดอาหารวันสุดท้าย ส่วนวันสำคัญที่สุดคือ “วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์” เพราะเป็นวันที่พระเยซูกลับคืนชีพจากความตาย จะเริ่มด้วยพิธีเสกไฟและเทียนปัสกา สัญลักษณ์ของการกลับคืนชีพและหมายถึงพระเยซูผู้เป็นแสงสว่างในชีวิต หลังจากนั้นจะเป็นพิธีเสกน้ำล้างบาป เพื่อใช้ในพิธีล้างบาปให้กับคริสตชนใหม่ และวันสุดท้าย “วันอาทิตย์ปัสกา” (Easter) เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง มีการนำไข่ต้ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงการฟื้นคืนชีพของพระเยซูและการเกิดใหม่ในพระเจ้าของมนุษย์ทุกคน มาตกแต่งทาสีและมอบให้กัน […] Cultures
ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายที่ชุมชนเมงตาสุและโมงติสุ เมืองมัณฑะเลย์ : ร่องรอยเชลย ไทยสมัยอยุธยา เรื่องและภาพ นภัทร อุทัยฉาย (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) ชุมนเมงตาสุและโมงติสุตั้งอยู่เลียบคลองชะเวตะชอง ทางทิศใต้ของตัวเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมียนมาระบุว่า บริเวณนี้เคยเป็นหนึ่งในถิ่นฐานของเชลยสงครามจากกรุงศรีอยุธยาและเชียงใหม่ซึ่งถูกกวาดต้อนมาเมื่อครั้งเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 เชลยศึกที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นชนชั้นสูงฝ่ายชายและข้าราชบริพาร ได้จัดงานประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายตามแบบวัฒนธรรมของตนเองมาตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า และสืบทอดต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน ทุกปีประเพณีก่อเจดีย์ทรายจะจัดขึ้นในช่วงวันขึ้นปีใหม่ (13 เมษายน) ในวันแรกของเทศกาล ชาวบ้านจะรื้อพระเจดีย์ทรายองค์เดิมที่สร้างเมื่อปีก่อน วันที่สองจะช่วยกันนำทรายมาสร้างเจดีย์ที่สูงราวสามเมตรขึ้นใหม่ให้เสร็จภายในหนึ่งวัน แล้วพักหนึ่งวัน ก่อนนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี สวดมนต์ ถวายภัตตาหาร และจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างครื้นเครงในวันรุ่งขึ้น ต่อมาเดือนพฤษภาคม ในช่วงวันวิสาขบูชา จะมีงานก่อพระเจดีย์ทรายขึ้นอีกครั้งที่ชุมชนโมงติสุ ซึ่งห่างจากชุมชนเมงตาสุไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร งานทั้งสองแม้จะคล้ายคลึง แต่ก็มีความแตกต่าง แม้ทุกวันนี้แทบไม่มีชาวชุมชนคนใดที่มีเทือกเถาเหล่ากอชาวโยเดียอย่างชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขารู้และเข้าใจดี คือ “เตโปงเซตี” และประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย อันไม่ใช่ธรรมเนียมของชาวเมียนมาทั่วไป และเป็นวิถีของบรรพชนที่ต้องดำรงรักษาให้คงอยู่สืบไป Cultures
The Expatriate Workers Of Dubai เรื่องและภาพ อธิวัฒน์ ศิลปะเมธานนท์ (รางวัลชนะเลิศโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7) “คาบายัน” เสียงเรียกภาษาตากาล็อกที่แปลว่า “คนชาติเดียวกัน” ดังลั่นจากห้องพักกลุ่มแรงงานชาวฟิลิปปินส์เมื่อผมเดินเข้าไปในเขตห้องพักย่านอัลคารามา ดูไบ เมื่อโลกเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด การอพยพย้ายถิ่นฐานหรือเพื่อไปทำงานยังประเทศอื่นจึงง่ายขึ้นมาก ประเทศที่กำลังพัฒนาและด้อยทรัพยากรกว่าจึงส่งออกพลเมืองชนชั้นแรงงานของตนไปยังประเทศพัฒนากว่า ธนาคารโลกประเมินว่าดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่แรงงานข้ามชาติส่งเงินกลับบ้านมากที่สุด สำหรับพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำจากศรีลังกา พนักงานขายของตามร้านสะดวกซื้อจากไนจีเรีย หรือหนุ่มบริกรฟิลิปปินส์ในร้านอาหาร ดูไบเป็นเมืองแห่งโลกาภิวัฒน์ที่มีทั้งด้านสว่าและมืด ในแง่หนึ่งดูไบเป็นเมืองที่เปิดกว้างทางศาสนาและวัฒนธรรม แต่อีกด้านหนึ่ง เมืองสวรรค์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติแห่งนี้ก็เป็นนรกของแรงงานข้ามชาติเมื่อนายจ้างค้างชำระค่าแรง สภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่ ต้องเผชิญกับอันตรายภายในสถานที่ทำงาน และถูกยึดหนังสือเดินทางไว้อย่างผิดกฎหมาย และอาจหนักกว่านั้นสำหรับแรงงานสตรีในครัวเรือนที่ต้องทำงานไม่มีวันหยุด ใช้ชีวิตตัดขาดจากโลกภายนอก ถูกนายผู้หญิงล่วงเกินทางวาจา และนายผู้ชายล่วงเกินทางเพศ แต่เพราะมาตรการที่ใช้ควบคุมแรงงานอย่างเข้มงวดเช่นการระงับวีซ่าการทำงานหรือส่งกลับประเทศ ทำให้แรงงานต่างชาติต้องตกอยู่ในสภาพจำยอม และย้ำเตือนตนเสมอว่า พวกเขาตัดสินใจมาทำงานที่นี่โดยไม่มีใครบังคับ ก็เพื่อเงินทองที่จะส่งกลับบ้านไปให้ครอบครัวและคนข้างหลังในประเทศกำลังพัฒนาที่จากมา Cultures
ประมวลภาพบรรยากาศการตัดสิน โครงการ Every Picture Tells a Story Season 2 วันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการได้ร่วมกันตัดสินภาพถ่ายทั้งหมดจำนวน 30 ภาพ เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะประจำโครงการประกวดภาพถ่าย Every Picture Tells a Story Season 2 โดยผลการตัดสินในปีนี้จะประกาศผล ภายในงานบ้านและสวนแฟร์ “เราจะไม่ลืม” ในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ ณ ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับบรรยากาศจะเป็นอย่างไรลองไปชมกัน News & Activity