ประกาศผลรางวัลกันไปแล้วนะคะ ขอแสดงความยินดีกับน้องๆทั้ง 5 คน ที่ได้ The Best Picture
เรื่องแนะนำ
บทเรียนจากต้นไม้
เรื่อง แคที นิวแมน ภาพถ่าย ไดแอน คุก และเลน เจนเชล ต้นไม้ทุกต้นบอกเล่าเรื่องราว แต่บางเรื่องอาจสะเทือนอารมณ์เกินพรรณนา ไม่ว่าจะเก็บรักษาความทรงจำ โอบอุ้ม ความเชื่อ หรือเป็นอนุสรณ์ความเศร้า ต้นไม้ยังสร้างแรงบันดาลใจ เรื่องราวโด่งดังที่สุดเห็นจะไม่พ้นต้นแอ๊ปเปิ้ลในสวนผลไม้ที่มณฑลลิงคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเล่าขานกันว่า เมื่อปี 1666 แอ๊ปเปิ้ลผลหนึ่งร่วงหล่นจากต้น และกระตุ้นให้ชายหนุ่มนามไอแซก นิวตัน นึกสงสัยว่า ทำไมแอ๊ปเปิ้ลถึงร่วงในแนวดิ่งลงสู่พื้นดินเสมอ ต้นฉบับลายมือสมัยศตวรรษที่สิบแปดบอกเล่าว่า นิวตันซึ่งเดินทางกลับบ้านจากเคมบริดจ์ (หลังกาฬโรคระบาดทำให้ต้องปิดมหาวิทยาลัย) เดินเข้าไปในสวนและครุ่นคิดใคร่ครวญ วิลเลียม สตูกลีย์ เพื่อนและนักเขียนชีวประวัติของเขา บรรยายไว้ว่า “ความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงผ่านเข้ามาในหัว…จากการร่วงสู่พื้นของผลแอ๊ปเปิ้ล ขณะที่เขานั่งนึกตรึกตรองอยู่” นี่ไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งการหยั่งรู้ครั้งแรกที่เกี่ยวพันกับต้นไม้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขณะประทับใต้ต้นโพธิ์มิใช่หรือ ต้นไม้ชวนให้เราเคลิบเคลิ้ม วัฒนธรรมหลากหลายเล่าขานนิทานว่าด้วยนักบวชที่สดับตรับฟังเสียงสกุณาในพงไพรแล้วพบว่า เวลาเพียงชั่วอึดใจกลับกลายเป็นหลายร้อยปีที่ผันผ่าน ต้นไม้เป็นที่เก็บความทรงจำของธรรมชาติ กระทั่งในระดับโมเลกุล เบนจามิน สเวตต์ ผู้เขียนหนังสือ นิวยอร์ก นครแห่งแมกไม้ (New York City of Trees) กล่าวในการสัมภาษณ์ทางวิทยุว่า “เนื้อไม้ในแต่ละชั้นของวงปีประกอบด้วยอากาศบางส่วนของปีนั้นๆ […]
ภาษาภาพ : ประจำเดือนมกราคม
คอสตาริกา ปาดตาแดงบนกิ่งไม้ใกล้ป่าฝนกวายากันเดซีกีร์เรสมองผ่านหนังตาที่เป็นแถบสีทองกึ่งโปร่งใส ดวงตาสีแดงสดของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีพิษ ความยาว 7.5 เซนติเมตรตัวนี้ อาจเป็นตัวอย่างของการใช้สีอันน่าทึ่ง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สัตว์บางชนิดใช้ป้องกันตัวเองจากสัตว์นักล่า ภาพโดย อิงโง อาร์นท์ บัลแกเรีย ฟัตมา อีนุส ระบายสีบนใบหน้า สวมเครื่องประดับ และติดเลื่อมหลากสีบนชุดแต่งงานของเธอในหมู่บ้านริบโนโว ประเพณีเปี่ยมสีสันอันเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนสถานะนี้เรียกว่า เจลีนา และปฏิบัติกันในหมู่ชาวมุสลิมที่พูดภาษาบัลแกเรีย หรือที่รู้จักกันในชื่อชาวโพมัก ภาพโดย ชอน แกลลัป, GETTY IMAGES จีน นาขั้นบันไดหงเหอฮาหนีที่เห็นในภาพนี้งดงามราวกับกระเบื้องโมเสกหลากสีสัน ทั้งไม้พุ่มสีเขียว แหนสีแดง และท้องฟ้า สีคราม ชาวฮาหนีเพาะปลูกในพื้นที่ 165 ตารางกิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลก บนพื้นที่ลาดชันของเทือกเขาอายเหลามานานถึง 1,300 ปี ภาพโดย IMAGINECHINA/CORBIS
ภาพนี้ต้องขยาย : จับตามอง การปฏิวัติ
ภาพโดย พอล ทอมป์สัน, MUTUAL FILM COMPANY/NATIONAL GEOGRAPHIC CREATIVE ป้ายหน้าร้านวัดสายตาที่มองเห็นผ่านแว่นขยายภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1914 เป็นภาพชีวิตบนท้องถนนในเมืองซากาเตกัส ประเทศเม็กซิโก กองกำลังของปันโช บียา ผู้นำกบฏ เพิ่งเข้ายึดเมืองซึ่งเป็นชุมทางรถไฟสำคัญจากกองทัพของประธานาธิบดีบิกโตเรียโน อวยร์ตา ยุทธการที่ซากาเตกัสเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งของการปฏิวัติเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตราว 7,000 คน และบาดเจ็บอีกหลายพันคน กองบรรณาธิการน่าจะจัดหาภาพถ่ายภาพนี้สำหรับใช้ประกอบสารคดีเกี่ยวกับประเทศเม็กซิโกซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 1916 แต่ไม่ได้นำมาตีพิมพ์ ผู้ชายในภาพที่กำลังแบกโลงศพ (ตรงกลาง) อาจเป็นเบาะแสเพียงอย่างเดียวที่บอกเป็นนัยถึงข้อความซึ่งเขียนกำกับไว้ด้านหลังภาพ นั่นคือภาพนี้เป็น หนึ่งใน “ภาพถ่ายล่าสุดจากสงคราม” — มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์
ภาพนี้ต้องขยาย : เจริญหูเจริญตา
ภาพโดย SMITH COMPANY/NATIONAL GEOGRAPHIC CREATIVE แม้กระทั่งในปี 1909 ผู้มาเที่ยวเมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ก็มีสิ่งสร้างความบันเทิงมากกว่าแค่หาดทรายและน้ำทะเล การมองผ่านแว่นขยายเผยให้เห็นว่า ศูนย์บันเทิงสตีเพิลเชสเพียร์ (Steeplechase Pier) มีบริการจัดทำของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว ป้ายที่นั่นมีข้อความว่า “ถ่ายภาพคุณในชุดอาบน้ำ” สมัยนั้นยังไม่ใช้คำว่า “ชุดว่ายน้ำ” (swimsuit) มีผู้หญิงไม่มากนักที่ว่ายน้ำเป็น ผู้หญิงที่ไปเที่ยวชายหาด (ในชุดผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้ายตัวยาว) มักแค่เดินโต้คลื่นลงไป “อาบน้ำ” หรือเล่นน้ำ โดยมักจูงมือกันเพื่อช่วยให้ทรงตัวได้มั่นคง — มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์