ConIFA ฟุตบอลของคนไร้รัฐ

ConIFA ฟุตบอลของคนไร้รัฐ

ConIFA ฟุตบอลของ คนไร้รัฐ

ไม่ต้องแปลกใจหากคุณไม่เคยได้ยินชื่อของบาราวา (Barawa) หรือตูวาลู (Tuvalu) คุณอาจรู้จักทิเบตหรือไซปรัส ในฐานะประเทศอิสระที่แยกตัวออกมา คุณคงพอเดาออกว่ามันอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก แต่กับสองประเทศข้างต้นรวมไปถึงทมิฬอีแลม (Tamil Eelam) และคาร์ปาตาเลีย (Kárpátalja) มันยากที่จะจินตนาการว่าพวกเขาอยู่ที่ใด? นั่นเป็นเพราะดินแดนของ คนไร้รัฐ เหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และมีพื้นที่ไม่มากนักในการนำเสนอตนเองบนเวทีโลก

นี่คือที่มาของการแข่งขันฟุตบอล ConIFA World Cup ที่จัดขึ้นโดยสหพันธ์แห่งสมาคมฟุตบอลอิสระ (Confederation of Independent Football Associations หรือ ConIFA) ชื่อเดิมคือ VIVA World Cup โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้กลุ่มคนไร้รัฐเหล่านี้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนยังคงประกาศการมีตัวตนของพวกเขาต่อไป ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 47 สมาชิกด้วยกัน (ในการแข่งขันจะไม่เรียกชนชาติเหล่านี้ว่าชาติ)

ดูรายละเอียดของแต่ละสมาชิกได้ ที่นี่

คนไร้รัฐ
นัดชิงระหว่างอับคาเซียและทิเบต
ภาพถ่ายโดย conifa.org

กติกาในการเข้าร่วมนั้นเรียบง่าย ทีมฟุตบอลนั้นๆ ต้องไม่มีคุณสมบัติ หรือไม่มีโอกาสที่จะเข้าร่วมกับ FIFA World Cup ได้อย่างเป็นทางการ ด้วยเงื่อนไขที่มาจากการเป็นรัฐไร้เอกราชหรือชนกลุ่มน้อย เช่น สมาชิกปัญจาบ (Panjab) ตัวแทนของผู้พูดภาษาปัญจาบราว 100 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งมาจากหลากหลายภูมิศาสตร์และไม่อาจรวมอยู่ในธงสัญลักษณ์ผืนเดียวได้, สมาชิกบาราวา เมืองท่าเล็กๆ ในโซมาเลีย ที่เผชิญกับความไม่สงบทางการเมือง จากกลุ่มก่อการร้ายอัล-ชาบับ และทีมบาราวายังเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในปีนี้ (CONIFA World Cup 2018 สิ้นสุดไปเมื่อ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา)

หรือสมาชิก United Koreans in Japan ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น และยังรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อย่างชาวโรฮิงญา ในเมียนมา ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวเคิร์ด ในอิรัก หรือแม้แต่กลุ่มทมิฬอีแลม อดีตกองกำลังติดอาวุธในศรีลังกา ก็เป็นสมาชิกของการแข่งขันนี้ด้วยเช่นกัน

(วิทยาศาสตร์เบื้องหลังสัตว์ทำนายผลบอลโลก)

คนไร้รัฐ
นักฟุตบอลสมาชิกทีมทิเบตชูมือให้กล้อง
ภาพถ่ายโดย conifa.org

“ConIFA แตกต่างจาก FIFA เพราะ ConIFA มองเห็นชาติที่ถูกหลงลืมเหล่านี้” Omar Sufi กัปตันทีมสมาชิกบาราวากล่าว “ทัวร์นาเมนต์นี่สำคัญในระดับโลก เราแข่งกับทีมที่มีภูมิหลังต่างกันในทุกด้าน แต่ทุกคนพร้อมใจมาเพื่อสิ่งเดียวกัน”

และแน่นอนว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ชัยชนะจากการยิงประตู…แต่คือการทำให้ชนชาติเหล่านี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รายงานจากโจเอล โกลบี้ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว Vice ที่ไปติดตามทำสารคดี ConIFA World Cup เล่าว่าทุกทีมที่เขาเข้าไปพูดคุยด้วยล้วนดีใจและขอบคุณที่สนใจฟังเรื่องราวของพวกเขา การแข่งขันครั้งนี้เป็นตัวแทนของผู้คนที่ถูกนิยามว่าเป็น “ชนกลุ่มน้อย” อีกราว 334 ล้านคนทั่วโลก และสำหรับบางทีมนี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมระดับโลก ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถติดตามชมการแข่งขันฟุตบอลทางเลือกที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักนี้ได้จากแชนแนลของ Vice

ในการแข่งขัน ConFIA 2018 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่จัดการแข่งขันใหญ่ และได้รับความสนใจจากสื่อกระแสหลัก ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทดังอย่าง Paddy Power ตลอดจนถ่ายทอดสดแต่ละแมทต์ผ่านเฟซบุ๊กอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสัญญาณอันดีที่จะช่วยให้ ConFIA World Cup เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยไปกับการแข่งขันฟุตบอลของชนไร้ชาติ ไร้รัฐเหล่านี้ เพราะย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ก่อนที่ทัวร์นาเมนต์จะเริ่มต้นขึ้น ทาง ConIFA ได้รับจดหมายร้องเรียนจากชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก ในกรุงลอนดอน คัดค้านการเข้าร่วมแข่งขันของกลุ่มไซปรัสเหนือ ซึ่งมีเชื้อสายตุรกี

แต่ใครจะสนใจเหตุผลร้อยแปดทางการเมือง…ในเมื่อผู้คนเหล่านี้มาเพื่อเล่นฟุตบอล จริงไหม?

คนไร้รัฐ
แฟนบอลทีมไซปรัสเหนือ
ภาพถ่ายโดย conifa.org

 

แหล่งข้อมูล

Not FIFA: Karpatalja wins alternative football world cup

CONIFA: The alternative World Cup for stateless people and unrecognized nations

The CONIFA World Football Cup Was About More Than Just Goals

CONIFA: how the ‘other World Cup’ is helping unrecognised nations through footbal

มายาคติของฝรั่งเศส จดหมายของโอซิล และความล้าสมัยของทีมชาติ

มารู้จักกับ ConIFA world cup “ฟุตบอลโลก” ของชนไร้เอกราชกัน

สาระเรื่อยเปื่อย

 

อ่านเพิ่มเติม

ฟุตบอลมีถิ่นกำเนิดที่ใด? โบราณคดีมีคำตอบ

Recommend