10 เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

10 เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

10 เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ ไอน์สไตน์

1.เขาละทิ้งสัญชาติเยอรมันเมื่ออายุ 16

ในช่วงวัยรุ่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รังเกียจความเป็นชาตินิยมทุกรูปแบบ และสนใจที่จะเป็นพลเมืองของโลกเสียมากกว่า  เมื่อเขาอายุ 16 เขาละทิ้งสัญชาติ และเป็นคนไร้สัญชาติจนกระทั่งเขาได้รับสัญชาติสวิสในปีค.ศ. 1901

ไอน์สไตน์ กับ มิเลวา มาริค ภรรยาคนแรก

2.ไอน์สไตน์แต่งงานกับนักเรียนหญิงคนเดียวในคลาสวิชาฟิสิกส์ของเขา

มิเลวา มาริค เป็นเพียงนักเรียนหญิงคนเดียวในคลาสของไอน์สไตน์ ที่ซูริคโพลิเทคนิค เธอหลงใหลในคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ ปรารถนาเจะป็นนักฟิสิกส์ด้วยตัวเอง แต่เธอก็ล้มเลิกความตั้งใจนั้นไปเมื่อเธอแต่งงาน และกลายเป็นแม่ของลูกๆไอน์สไตน์

3.แฟ้มประวัติไอน์สไตน์ของเอฟบีไอมีจำนวนถึง 1,427 หน้า

ในปี 1933 เอฟบีไอเริ่มเก็บแฟ้มประวัติของไอน์สไตน์ ไม่นานก่อนที่เขาจะเดินทางมาสหรัฐฯครั้งที่สาม แฟ้มประวัตินี้มีมากถึง 1,427 หน้า มุ่งเน้นไปยังชีวิตของไอน์สไตน์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสันติภาพและองค์กรสังคมนิยม แม้แต่ เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ (ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งเอฟบีไอ) ยังแนะนำว่า ไอน์สไตน์ควรจะถูกห้ามเข้าอเมริกาตามพระราชบัญญัติกีดกันชาวต่างชาติ แต่เขาได้รับการปฏิเสธข้อหาเหล่านี้

4.ไอน์สไตน์มีลูกนอกสมรส

มิเลวาให้กำเนิดบุตรสาวนอกสมรสในปี 1902 ขณะที่อาศัยอยู่กับครอบครัวของเธอในเซอร์เบีย เด็กน้อยมีชื่อว่า ไลเซิล และนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเธอตายตั้งแต่ยังเป็นทารกด้วยโรคไข้อีดำอีแดง (โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย) หรืออาจจะถูกรับไปเลี้ยง มีความเป็นไปได้ว่าไอน์สไตน์ไม่เคยเจอลูกสาวเลย การมีอยู่ของไลเซิลไม่เป็นที่รู้กันมากนักจนกระทั่งในปี 1987 เมื่อจดหมายของไอน์สไตน์ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ

5.เขาจ่ายเงินจากรางวัลโนเบลเป็นค่าหย่าร้างให้แก่มิเลวา

จากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าเขาจะได้รางวัลโนเบล ไอน์สไตน์เสนอเงินที่เขาจะได้ทั้งหมดจากรางวัลให้แก่ภรรยาคนแรกของเขา มิเลวา มาริค เพื่อให้เธอตกลงหย่าขาดจากเขา เงินรางวัลนั้นมีจำนวนถึง 32,150 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,108,822 บาท) ซึ่งมากกว่าสิบเท่าของเงินรายปีที่ศาสตราจารย์จะได้รับในช่วงเวลานั้น

เอลซ่าและไอน์สไตน์

6.ไอน์สไตน์แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องคนแรกของเขา

เอลซ่า ภรรยาคนที่สองของไอน์สไตน์ เธอเป็นลูกสาวของพี่สาวของแม่อัลเบิร์ต ทำให้เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน และเนื่องจากพ่อของเอลซ่าและพ่อของอัลเบิร์ตก็เป็นญาติกัน ทำให้พวกเขามีความเกี่ยวดองกันทั้งสองฝั่ง นามสกุลเดิมของเอลซ่า ก็ยังคงเป็น ไอน์สไตน์

7.ไอน์สไตน์เคยเป็นนักกิจกรรมเพื่อสิทธิพลเมืองก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหวทางสิทธิพลเมือง

ไอน์สไตน์เป็นผู้สนับสนุนสิทธิพลเมืองและฟรีสปีช เมื่อ ดับเบิลยู.อี.บี. ดู บอยส์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียม ถูกฟ้องในปี 1951 หลังจากทนายของดู บอยส์ยืนยันว่า ไอน์สไตน์จะเป็นพยานให้ ศาลก็ยกฟ้องดู บอยส์

  1. ลูกชายของไอน์สไตน์อยู่ในสถานพักฟื้นตลอดช่วงชีวิตผู้ใหญ่ของเขา

ลูกชายคนที่สองของไอน์สไตน์ เอดูอาร์ด หรือชื่อที่ถูกเรียกอย่างเอ็นดูว่า เตเต้ ป่วยเป็นโรคจิตและถูกกักในสถานพักฟื้นตลอดช่วงชีวิตผู้ใหญ่ของเขา เอ็ดดูอาด ลุ่มหลงในจิตวิเคราะห์และเป็นแฟนคลับของฟรอยด์ แม้ว่าพวกเขาจะติดต่อกันทางจดหมาย แต่ไอน์สไตน์ไม่เคยได้เห็นลูกชายของเขาอีกเลยหลังจากที่เขาอพยพไปสหรัฐฯในปี 1933 เอดูอาร์ดเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 55 ปี ที่คลินิกจิตเวช

ฟริตซ์ ฮาเบอร์ หรือ “บิดาแห่งอาวุธเคมี”

9.ไอน์สไตน์มีความสัมพันธ์ที่ลุ่มๆดอนๆกับบิดาแห่งอาวุธเคมี

ฟริตซ์ ฮาเบอร์ เป็นนักเคมีชาวเยอรมันผู้ช่วยเหลือไอน์สไตน์ไปยังเบอร์ลินและกลายเป็นหนึ่งในเพื่อนสนิทของเขา ฮาเบอร์เป็นยิวแต่เปลี่ยนเป็นคริสเตียนและแนะนำให้ไอน์สไตน์ทำตัวให้กลมกลืนก่อนที่นาซีจะเข้ามามีอำนาจ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาผลิตก๊าซคอรีนที่ทำให้ถึงแก่ความตายซึ่งก๊าซชนิดนี้มีความหนักกว่าอากาศ ทำให้ไหลลงไปในสนามเพลาะและทำให้ทหารเกิดอาการหายใจไม่ออกโดยการเผาคอและปอดอย่างทรมาน ในบางครั้งฮาเบอร์ถูกกล่าววถึงในฐานะบิดาแห่งอาวุธเคมี

10.ไอน์สไตน์เคยมีความสัมพันธ์กับหญิงสาวผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับรัสเซีย

ในปี 1935 มาร์กอท ลูกเลี้ยงของไอน์สไตน์แนะนำ มาการิต้า โคเนนโควา ให้เขาได้รู้จัก และพวกเขากลายเป็นคู่รักกัน ในปี 1988 บริษัทประมูลของ ของอังกฤษ ซัทเทบีส์ ได้เปิดประมูลจดหมายรักเก้าฉบับซึ่งถูกเขียนขึ้นในระหว่างปี 1945 ถึง 1946 จากไอน์สไตน์ถึงโคเนนโควา รวมทั้งหนังสือซึ่งเขียนโดยหัวหน้าสายลับรัสเซีย ซึ่งบอกว่าโคเนนโควาเป็นสายลับของรัสเซียมาก่อน แต่ยังไม่มีนักประวัติศาสตร์คนไหนยืนยันถึงเรื่องนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Recommend