NGT x SaySci Ep.16 “หลักการของเข็มทิศ”

NGT x SaySci Ep.16 “หลักการของเข็มทิศ”

NGT x SaySci Ep.16 หลักการของ เข็มทิศ

ปัจจุบัน เทคโนโลยีการนำทางมีความก้าวล้ำไปมากจนเราสามารถใช้แอปพลิเคชันนำทางได้จากสมาร์ทโฟน แต่หากเราย้อนกลับไปในยุคที่ผู้คนยังคงสำรวจโลกด้วยการเดินเรือ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการนำทางคือ เข็มทิศ

เหตุผลที่ว่าทำไมเข็มทิศจึงชี้ไปทางขั้วเหนืออยู่เสมอ ก็เพราะว่า โลกของเราเปรียบได้กับแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่ โดยเราตั้งมาตรฐานร่วมกันว่า แม่เหล็กที่อยู่ในโลกขั้วเหนือของโลกให้เป็น “ขั้วใต้ของแท่งแม่เหล็กโลก” จากปรากฎการณ์ทางแม่เหล็กที่ว่า ถ้าขั้วแม่เหล็กเหมือนกันวางไว้ใกล้กันจะผลักกัน และถ้าขั้วต่างกันจะดูดกัน ดังนั้น ถ้าเราวางเข็มทิศและให้เข็มชี้ไปทางเหนือ แสดงว่าแท่งแม่เหล็กโลกต้องเป็นขั้วใต้อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ

เข็มทิศเป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กโลก มีทฤษฎีมากมายอธิบายถูกบ้างผิดบ้างเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กของโลก อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีที่พอจะยอมรับได้ระบุว่า แกนภายในของโลกยังอยู่ในสภาวะหลอมเหลว และเป็นโลหะที่หลอมละลาย เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ของเหลวนี้หมุนวน เกิดการขัดสีกันเองจนเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น

โดยหลักการแล้ว เข็มทิศจะมีเข็มที่มีมีน้ำหนักเบาวางอยู่บนฐานที่ไร้แรงเสียดทาน หรือมีแรงเสียดทานน้อยมาก เนื่องจาก สนามแม่เหล็กโลกมีขนาดน้อยมากเมื่อวัดบนผิวโลก เป็นเพราะเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกมีขนาดถึง 12,000 กิโลเมตร ดังนั้นเข็มทิศจึงต้องทำจากแท่งแม่เหล็กที่มีขนาดเบา และวางอยู่บนผิวลื่นที่ไม่มีแรงเสียดทาน ซึ่งจะทำให้หมุนได้ง่ายและคล่องตัว

 

อ่านเพิ่มเติม

NGT x SaySci Ep.15 “เชื้อราบนขนมปัง”

 

Recommend