มองความหวังฉากสุดท้ายในเมืองย่างกุ้ง ในห้วงรัฐประหารเมียนมา

มองความหวังฉากสุดท้ายในเมืองย่างกุ้ง ในห้วงรัฐประหารเมียนมา

ไม่มีประสบการณ์การฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์ครั้งใดที่ผมได้บังเอิญเจอแล้วอาจเทียบได้กับการรัฐประหารเลย – พอล ซาโลเพ็ก นักสำรวจของเนชั่นเนล จีโอกราฟฟิก

(พอล ซาโลเพ็ก – นักสำรวจเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก กำลังดำเนินโปรเจกต์ Out of Eden Walk เดินเท้ารอบโลกตามเส้นทางการอพยพของบรรพบุรุษมนุษยชาติ ราว 38,000 กิโลเมตรมาตั้งแต่ปี 2013 นี่เป็นบทความสุดท้ายก่อนที่เขาจะออกจากเมียนมา

อ่านบทความก่อนหน้านี้ในเรื่องของประเทศเมียนมาได้ที่  เดินเท้าในเมืองย่างกุ้ง ที่กลายเป็นสนามรบจากการต้านรัฐประหารของชาวเมือง  และ สถานการณ์อันยากลำบากในมัณฑะเลย์, เมียนมา ช่วงไวรัสโคโรนา และการช่วยเหลือกันของชาวเมือง)

นครย่างกุ้ง, เมียนมา – ในบ่ายวันหนึ่งก่อนที่ผมจะออกจากเมียนมา ผมไปร่ำลาครอบครัวของเพื่อนคนหนึ่งซึ่งซ่อนตัวอยู่ในย่านชนชั้นกลางในเมืองย่างกุ้ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ พวกเขามีอาชีพทางด้านการศึกษา ศิลปินหนุ่มสาว นักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ พวกเขาต่างต่อต้านคณะเผด็จการทหารทำลายประชาธิปไตยในเมียนมา ผมพบกับพวกเขาในวงกาแฟแห่งนี้ กำลังฝึกวิธีการใช้ลูกศรและคันธนูอย่างเงียบๆ

“นี่เป็นขั้นต่อไป คือการป้องกันตัวเองครับ” นักกิจกรรมประชาธิปไตยร่างเล็กคนหนึ่งกล่าว เขามีมือในแบบคนเมืองและมีหมุดเจาะจมูก และเสริมว่า“ทุกคนกำลังมีอารมณ์ร้อนแรงในเรื่องนี้ ไม่มีใคร ไม่มีใครออกมาอย่างไม่ได้รับบาดเจ็บเลยครับ”

ผมออกเดินเท้าไปทั่วโลกเป็นระยะทางราว 38,000 กิโลเมตร ตามเส้นทางเดินเท้าอพยพของบรรพบุรุษ ผมเดินผ่านแหล่งสงครามระหว่างชนเผ่าในเอธิโอเปีย ถูกยิงโดยกองกำลังอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ การถูกซุ่มโจมตีในตุรกีตะวันออก การเดินทางที่ถูกขัดจังหวะโดยกลุ่มตาลีบานในอัฟกานิสถาน แต่ไม่มีประสบการณ์การฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์ครั้งใดที่ผมได้บังเอิญเจอแล้วเทียบเคียงได้กับการรัฐประหารในย่างกุ้งเลย

คณะรัฐประการได้ยึดอำนาจที่ทำให้ชาวเมือง 5.4 ล้านคน ต้องตกตะลึง

รัฐประหารเมียนมา
ผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2021 เพื่อแสดงการต่อต้านการรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ PHOTOGRAPH BY YE AUNG THU, AFP/GETTY

เมียนมาเคยเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาเป็นเวลากว่าครึ่งทศวรรษจากการปกครองของรัฐบาลทหารอันโหดร้าย มีการประนีประนอมกับรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี เธออดทนกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา แต่ผู้คนกลับตื่นตกใจเมื่อ ตัดมาดอว์ (Tatmadaw) หรือกองทัพเมียนมาได้จับกุมตัวเธอในช่วงเช้าของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ อุดมคติกลายเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญไปเสียแล้ว

กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยทุกคุกคามโดยบรรดานายพลที่ยังคงยึดติดกับอภิสิทธิ์เก่าๆ การแบ่งปันความรำรวยจากโรงงานเบียร์ คาราวานอภิสิทธิ์ชน การแทรกซึมเข้าไปในรัฐสภา สืบเนื่องมาจากการแช่แข็งระบบอำนาจนิยมในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ส่งทหารออกไปตัดสายเคเบิลคอมพิวเตอร์ในศูนย์ข้อมูล ซึ่งพวกเขามองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนที่สำคัญ

ผมอยู่ที่นั่นเพราะไปต่อวีซ่า

(เชิญชมวิดีโอ คนขายดอกไม้: ชีวิตที่ดำเนินไปท่ามกลางการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเมืองย่างกุ้ง)

แต่ละวันผ่านไป ผมเฝ้ามองกระแสการต่อต้านจากคนเมียนมาที่หลั่งไหลออกมาตามท้องถนน เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่พวกเขาดูหมิ่นกองทัพผ่านการเดินขบวนประท้วง เด็กๆ แห่ไปกันที่เขตจราจรอันคับคั่งในเขตเมืองเพื่อเทกระสอบหัวหอมตามสี่แยกต่างๆ พยาบาล นักผจญเพลิง และแม้กระทั่งคนขับรถส่งอาหารต่างหยุดงานเพื่อออกมาเดินขบวนประท้วง บ่อยครั้งที่ผู้หญิงเป็นแนวหน้าในการเดินขบวนประท้วง บรรดานางงามที่อยู่ในห้องจัดเลี้ยงก็ตะโกนร้องต่อต้านกองทัพ พนักงานออฟฟิศคนหนึ่งซึ่งผมรู้จัก ซึ่งเป็นคุณแม่วัยกลางคน ได้เต้นรำบนภาพถ่ายของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำคณะรัฐประหาร ซึ่งแปะอยู่บนทางเดิน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เหยื่อรายแรกที่ถูกยิงคือผู้หญิงอายุเพียง 19 ปี

จนทุกวันนี้ กองกำลังรักษาความปลอดภัยในเมียนมาได้สังหารประชาชนของตัวเองไปแล้ว 800 ราย ซึ่งรวมไปถึงเด็กๆ มีการซ้อมผู้ต้องหาทางการเมืองจนตาย และกักขังนักข่าวมากมาย

“หากชาวโลกไม่ยื่นเข้าช่วย เราอาจจะตาย” โปรดิวเซอร์วิดีโอคนหนึ่งผู้ที่เข้าต่อต้านตำรวจโดยมีเพียงจานดาวเทียมเก่าๆ คนหนึ่งกล่าวและเสริมว่า “หากองค์การสหประชาชาติไม่ช่วยพวกเรา มันอาจกลายเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้”

ตำรวจทาสีทับข้อความเรียกร้องประชาธิปไตยบนกำแพงในเมืองย่างกุ้ง PHOTOGRAPH BY PAUL SALOPEK

เขาภูมิใจที่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในย่างกุ้งมีการจัดการขยะของตัวเอง วิธีที่ชาวเมืองแจกจ่ายน้ำดื่มกับอาหารให้กับผู้ประท้วง การที่ผู้ประท้วงหนุ่มสาวไม่สยบยอมต่อความรุนแรง เขาไม่เชื่อผม เมื่อผมบอกเขาว่าจะไม่มีใครมาช่วยเหลือพวกเขา

ผมตัดสินใจออกมาจากเมียนมา

ระยะทางราว 320 กิโลเมตรในป่าลึกบนเขาที่แบ่งแยกเมืองมัณฑะเลย์ เมืองหลวงเก่าของพม่า ที่ผมหยุดพักจากการเดิน ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ผมจะเดินเท้าไปยังชายแดนประเทศจีน การเดินเท้าในขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป บรรยากาศในเมียนมาขณะนี้อาจปะทุกลายเป็นสงครามกลางเมืองอันโหดเหี้ยม เป็นสิ่งที่ย่ำแย่ที่จำต้องละทิ้งมิตรสหายในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ผมต้องทำ เป็นครั้งแรกในระยะทางเกือบ 18,000 กิโลเมตรที่ผมต้องเดินทางแบบก้าวกระโดดทางอากาศเพื่อสานต่อการเดินทางของผมที่ประเทศจีน

คุณสามารถเดินออกมาจากหลายสิ่งในชีวิตได้ แต่ไม่ใช่ความเศร้าและความละลายใจในตัวเอง

รัฐประหารเมียนมา
ผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2021 เพื่อแสดงการต่อต้านการรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ PHOTOGRAPH BY YE AUNG THU, AFP/GETTY

ในขณะเดียวกัน บรรดาสื่อก็ได้ขยับสปอตไลท์ความสนใจออกมาแล้ว ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นเสมอ
แต่ผมก็ยังสงสัยว่าไรจะเกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมทางผู้ชาญฉลาดจากชนเผ่าชิน (ชนกลุ่มน้อยชนกลุ่มหนึ่งในเมียนมา) คุณครูผู้ซึ่งเดินเท้าร่วมกับผมไปยังทุ่งข้าวในรัฐสะกาย ซึ่งในขณะนี้พวกเขากำลังจับปืนไรเฟิลที่ทำขึ้นเองในการต่อสู้กับเผด็จการทหาร ซึ่งกองทหารก็ได้ทุ่มสรรพกำลังไปที่พวกเขาเช่นกัน

หรืออะไรจะเกิดขึ้นกับพนักงานเสิร์ฟในโรงแรมที่ผมรู้จักซึ่งเข้าไปช่วยคัดแยกผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บหลังเลิกงาน (“ผมภูมิใจในตัวเขามาก” ผู้จัดการโรงแรมกล่าว) หรือเพื่อนชาวมุสลิมที่ขับรถมาส่งผมที่สนามบินในตอนเช้า

ฝูงนกออกบินขึ้นในท้องฟ้าสีเหลือง ร้านรวงต่างๆ ในย่างกุ้งต่างปิดประตู ขบวนรถบรรทุกของทหารซึ่งเต็มไปด้วยกองทหารต่างกระจายไปรอบเมือง ผมมองไปที่ทหารในช่วงที่เราขับรถผ่าน และในขณะเดียวกัน เพื่อนของผมก็พูดขึ้นในเรื่องของการย้ายออกจากเมียนมา หรืออาจหนีออกไปจากเมียนมา เขาพูดด้วยเสียงแผ่วเบาราวพูดกับตัวเอง

เรื่อง พอล ซาโลเพ็ก


อ่านเพิ่มเติม “ฉันทำสิ่งนี้เพื่อประชาธิปไตย” – เสียงจากผู้ประท้วงในเมียนมา

ผู้ประท้วงในเมียนมา

Recommend