รวมปก เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก 2018 คุณชอบปกไหนที่สุด?
ปี 2018 กำลังจะผ่านพ้น ในปีนี้ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก นำเสนอสารคดีหลากหลายเรื่องราว ตั้งแต่มหากาพย์การอพยพของสัตว์, เทคโนโลยีล้ำสมัยที่กำลังจับตาเรา, วิกฤตขยะพลาสติก, ชีวประวัติศิลปินระดับโลก ไปจนถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่าให้ออกมาจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
เหล่านี้คือปกนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ตลอดปี 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเราจะยังคงสรรหาสารคดีใหม่ๆ มามอบให้คุณผู้อ่าน เพื่อรับทราบความเป็นไปของโลก ตลอดจนเติมเต็มความสงสัยใคร่รู้ต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ดังสโลแกนของเราที่ว่า “เพราะชีวิตคือความอยากรู้”
มกราคม – ทำไมเหล่าวิหคจึงสำคัญนัก
เปิดปี 2018 ซึ่งสำหรับเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกแล้ว นี่คือปีแห่งนก เราเฉลิมฉลองด้วยการสำรวจความมหัศจรรย์แห่งบรรดาหมู่มวลปักษา ไม่เพียงแค่บทบาทสำคัญในสิ่งแวดล้อม หากการมีอยู่ของนกยังสอนบทเรียนสำคัญในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้แก่มนุษย์อีกด้วย
อ่านสารคดี “ทำไมเหล่าวิหคจึงสำคัญนัก” ได้ ที่นี่
กุมภาพันธ์ – โลกไซเบอร์ : เมื่อเราถูกจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้ความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันเราทุกคนก็ถูกสอดส่องความเป็นส่วนตัวเช่นกัน เรากำลังถูกจับตามองด้วยดาวเทียมกว่า 1,700 ดวงเฝ้าติดตามดูโลกอยู่ สารคดีเรื่องนี้จะพาคุณผู้อ่านไปสำรวจยังโลกใบใหม่อันแสนชาญฉลาดที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
อ่านสารคดี “โลกไซเบอร์ : เมื่อเราถูกจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ” ได้ ที่นี่
มีนาคม – เมื่อชีวิตสะพรั่งบาน
ฟอสซิลเก่าแก่อายุ 570 ล้านปี ช่วยไขปริศนาว่า สรรพชีวิตบนโลกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จากจุลชีพแสนเรียบง่ายกลายเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่และสลับซับซ้อนได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเบาะแสเล็กๆ ในฟอสซิลอายุเก่าแก่ สารคดีเรื่องนี้จะฉายภาพความยิ่งใหญ่ตลอดการเดินทางบนเส้นทางการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าทุกชีวิตล้วนเกี่ยวข้องกัน
อ่านสารคดี “เมื่อชีวิตสะพรั่งบาน” ได้ ที่นี่
เมษายน – ฤๅจะมีชีวิตนอกโลก
ติดตามภารกิจของยานแคสซินี-ไฮเกนส์ หลังเผยแพร่ภาพถ่ายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของดาวเสาร์ ข้อมูลใหม่ๆ นี้กำลังบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกใช่หรือไม่? โดยเฉพาะบนดวงจันทร์มากมายที่เป็นดาวบริวาร
อ่านสารคดี “ฤๅจะมีชีวิตนอกโลก” ได้ ที่นี่
พฤษภาคม – อัจฉริยะปีกัสโซ
ขอเชิญพบกับอัจฉริยะรวยเสน่ห์ผู้มีอารมณ์แปรปรวนกวนโทสะ ในขณะเดียวกันก็เป็นคนเอาจริงเอาจัง เหล่านี้คือตัวตนของ “ปีกัสโซ” ศิลปินระดับโลกผู้มากพรสวรรค์ จากทารกเฉื่อยชาที่น่ากลัวจะเสียชีวิตตั้งแต่คลอด เขากลายมาเป็นอัจฉริยะชื่อก้องโลกได้อย่างไรกัน
อ่านสารคดี “อัจฉริยะปีกัสโซ” ได้ ที่นี่
มิถุนายน – เห็นแก่โลกหรือพลาสติก
เรากำลังอยู่ในโลกที่ขยะพลาสติกจะมีมากกว่าจำนวนปลา และขยะเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนานจวบจบลูกหลานของเราแก่เฒ่า สารคดีเรื่องนี้จะฉายภาพปัยหาให้คุณผู้อ่านเห็นว่าสถานการณ์ขยะพลาสติกในปัจจุบันที่ว่าวิกฤตนั้น มันวิกฤตร้ายแรงมากแค่ไหน
อ่านสารคดี “เห็นแก่โลกหรือพลาสติก” ได้ ที่นี่
กรกฎาคม – เทคโนโลยีช่วยผลักดันขีดจำกัดของมนุษย์อย่างไร?
เร็วขึ้น สูงขึ้น ฉลาดขึ้น แข็งแรงขึ้น เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์กำลังช่วยให้นักกีฬาทุบสถิติ และพัฒนาศักยภาพไปไกลกว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แต่คำถามสำคัญคือ วิทยาศาสตร์จะผลักดันขีดจำกัดของมนุษย์ไปได้ไกลแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
อ่านสารคดี “เทคโนโลยีช่วยผลักดันขีดจำกัดของมนุษย์อย่างไร?” ได้ ที่นี่
สิงหาคม – วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการนอนหลับ
ในโลกแห่งแสงสีและจอสมาร์ตโฟน การนอนหลับเต็มอิ่มดูเป็นเรื่องหายาก และมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าในคืนที่หลับสนิท เราจะโคจรผ่านรอบการหลับระยะต่างๆ สี่ถึงห้ารอบ สารคดีเรื่องนี้จะพาคุณผู้อ่านไปชมว่าการนอนหลับที่ดีสำคัญอย่างไร และทำไมเราจึงควรหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า
อ่านสารคดี “วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการนอนหลับ” ได้ ที่นี่
กันยายน – ปฏิบัติการช่วย “13 หมูป่า” สามสัปดาห์ในโลกที่เคยเป็นไปไม่ได้
ในพื้นที่ที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคย ภูมิประเทศยากแก่การเข้าถึง สงครามที่ทำกับธรรมชาติชนิดเอาเป็นเอาตายตลอดสามอาทิตย์นั้น มนุษย์เป็นฝ่ายเอาตัวรอดได้…ถ้าไม่เรียกว่าชนะ และยังปรากฏเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนในจินตนาการที่ก้าวข้ามความแตกต่างทั้งมวล ด้วยเป้าหมายเดียวกัน ย้อนชมภารกิจที่เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของผู้คนทั่วโลก เพื่อช่วยชีวิต 13 หมูป่าออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
อ่านสารคดี “ปฏิบัติการช่วย “13 หมูป่า” สามสัปดาห์ในโลกที่เคยเป็นไปไม่ได้” ได้ ที่นี่
ตุลาคม – สวย ใส ไร้สมอง
ทั้งที่ไร้กระดูกห่อหุ้มร่างกายและไม่มีอวัยวะสำคัญอย่างสมอง แต่แมงกะพรุนกลับอยู่รอดมาได้หลายล้านปี อีกทั้งยังสร้างสำเนาตัวเองได้ หรือหากแก่ชราลงก็หวนคืนสู่วัยเด็กอีกครั้ง แมงกะพรุนทำสิ่งที่น่าทึ่งเหล่านี้ได้อย่างไร อะไรคือความลับของพวกมัน?
อ่านสารคดี “สวย ใส ไร้สมอง” ได้ ที่นี่
พฤศจิกายน – รายการอาหารแห่งอนาคต
จินตนาการถึงรยการอาหารในอนาคตที่เราจะต้องกิน คุณคิดว่าพวกมันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? แมลง วัชพืช และเบอเกอร์มังสวิรัติน้ำเนื้อฉ่ำเยิ้ม เหล่านี้คือโฉมใหม่ของอาหารแห่งอนาคตที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตขาดแคลนอาหารจากประชากรโลกที่สูงเกินเก้าพันล้านคนได้
อ่านสารคดี “รายการอาหารแห่งอนาคต” ได้ ที่นี่
ธันวาคม – ย้อนตำนาน 80 ปี เขาดิน
“สวนสัตว์ดุสิต” หรือ “เขาดินวนา” ปิดตัวลงแล้ว และคงเหลือเพียงความทรงจำ แต่ภารกิจในการก้าวสู่สวนสัตว์ยุคใหม่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้ตั้งต้นกระบวนการสร้างสวนสัตว์อย่างที่เป็นสวนสัตว์สมัยใหม่อีกครั้ง ด้วยประสบการณ์ 80 ปีของเขาดิน ประกอบกับความก้าวหน้าของงานวิจัยในปัจจุบัน
อ่านสารคดี “ย้อนตำนาน 80 ปี เขาดิน” ได้ ที่นี่